Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Web Analytics
Cookie Policy Terms and Conditions เสม พริ้งพวงแก้ว - วิกิพีเดีย

เสม พริ้งพวงแก้ว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สถานีย่อย:ประเทศไทย
นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว
นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว

นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว (31 พฤษภาคม พ.ศ. 2454 - ) นายแพทย์ผู้บุกเบิกการแพทย์ชนบท และการแพทย์สมัยใหม่ นักการสาธารณสุข ผู้ร่วมจัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข นักคิดเพื่อสังคม ผู้มีส่วนร่วมในกิจกรรมของบ้านเมืองทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุขและด้านการศึกษามานานกว่ากึ่งศตวรรษ

สารบัญ

[แก้] ชีวิตในวัยเยาว์และการศึกษา

นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วเป็นชาวกรุงเทพฯ โดยกำเนิด เกิดที่บ้านเลขที่ 2245 ถนนรองเมืองซอย 4 (ปัจจุบันเรียกซอย 1) อำเภอปทุมวัน จังหวัดพระนคร ในขั้นปฐมศึกษาเรียนที่โรงเรียนวัดบรมนิวาสใกล้บ้านเป็นเวลา 4 ปี และเข้าเรียนต่อระดับมัธยมที่โรงเรียนวัดเทพศิรินทร์อีก 8 ปี จนจบชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 8 ในระหว่างเรียน นายเสมได้รับทุนการเรียนประเภทหมั่นเรียนมาโดยตลอด

เมื่อจบชั้นมัธยมปีที่ 8 แล้ว โดยความช่วยเหลือของมูลนิธิร็อกกีเฟลเลอร์ นายเสมได้เข้าศึกษาในคณะแพทยศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ปัจจุบัน คือ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล) เป็นเวลา 6 ปี ได้รับปริญญาแพทยศาสตรบัณฑิต เมื่อ ปี พ.ศ. 2478 หลังจบการศึกษาแพทย์ปริญญาแล้ว นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วก็ได้มีโอกาสไปศึกษาต่อในประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษและประเทศเยอรมันนี นอกจากนี้ยังได้ไปร่วมประชุมและดูงานในประเทศต่างๆ ทั้งในสหรัฐฯ บราซิล สวิตเซอร์แลนด์ รัสเซีย ญี่ปุ่น อินโดนีเซีย ออสเตรีย นิวซีแลนด์รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน

นอกจากด้านการแพทย์แล้ว นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ยังได้ศึกษาด้านทันตกรรมเพิ่มเติมจากศาสตราจารย์สี สิริสิงห์อีกด้วยเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานในชนบทได้ด้วย

[แก้] การทำงานในระยะแรกแห่งชีวิต

หลังจบการศึกษาด้านการแพทย์ ในปี พ.ศ. 2478 นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วก็ได้ออกไปปฏิบัติงานในต่างจังหวัดทันที่โดยไปจัดตั้งโรงพยาบาลเอกเทศขึ้นที่อำเภออัมพวา สมุทรสงครามเพื่อต่อสู่กับการระบาดของโรคอหิวาตกโรคจนโรคสงบลง ในปีต่อมาก็ได้ย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลเทศบาลนครสวรรค์เป็นเวลา 2 ปี และที่นี่เองที่ท่านได้เริ่มงานศัลยกรรมและงานทันตกรรมเป็นครั้งแรกในชนบท

[แก้] ชีวิตการทำงานในเชียงราย

อาจกล่าวได้ว่า ช่วงชีวิตที่สมบุกสมบันและลำบากที่สุดในการทำงานของท่านคือที่จังหวัดเชียงราย เมื่อย้ายมาประจำที่จังหวัดเชียงรายเมื่อ พ.ศ. 2480 ก็ต้องมารณรงค์ร่วมกับข้าหลวงประจำจังหวัดคือพระพนมนครานุรักษ์และกรรมการจังหวัด รวมทั้งธรรมการจังหวัดคือ บ. บุญค้ำ เพื่อนร่วมงานบุกเบิกซึ่งต่อมาท่านได้ช่วยชีวิตไว้ระหว่างสงคราม ร่วมกับพ่อค้าประชาชนร่วมกันบริจาคเงินสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดจนเป็นผลสำเร็จ แม้จะใช้เวลามากกว่ 10 ปี โรงพยาบาลประจำจังหวัดเชียงรายจึงได้รับการตั้งชื่อว่า “โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์” ซึ่งสร้างโดยเงินบริจาคของประชาชน 100 %

[แก้] ผลงานโดยสังเขปที่จังหวัดเชียงราย

เชียงรายเมื่อ 70 ปีก่อนนั้นขาดแคลนนายแพทย์มาก บ้านเมืองและโครงสร้างพื้นฐานก็ยังไม่พร้อม ข้าราชการ โดยเฉพาะคณะกรรมการจังหวัดในสมัยนั้นจึงต้องร่วมมือกันทำงานอย่างไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะในช่วงสงครามอินโดจีนระหว่าง พ.ศ. 2484-พ.ศ. 2488 นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วต้องทำงานอย่างหนักเป็นพิเศษเนื่องจากเป็นนายแพทย์ที่ทุกคนต้องพึ่งพา แม้กระนั้น ท่านก็ยังสามารถวางรากฐานด้านการแพทย์และสาธารณสุขไว้มากพอสรุปได้ดังนี้

  • ทำหน้าที่เป็นแพทย์ผู้ปกครองโรงพยาบาลและผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
  • ร่วมมือกับสาธารณสุขจังหวัด สร้างนิคมโรคเรื้อน ตำบลแม่ลาว ด้วยที่ดิน 1,000 ไร่
  • เริ่มการรักษาโรคทางศัลยกรรมชนบทกับโรคนิ่วในทางเดินปัสสาวะ โรคคอพอกในประชาชน ซึ่งเป็นกันถึง 50% ของจำนวนประชากร
  • เริ่มการป้องกันโรคคอพอกในจังหวัดเชียงรายโดยการให้ไอโอดีนในหญิงตั้งครรภ์และในเด็ก ทำการสำรวจไอโอดีนในน้ำ ผัก และอาหารและสร้างอาสาสมัครสาธารณสุขในหมู่บ้านเพื่อการให้ไอโอดีน
  • สร้างเจ้าหน้าที่เสนารักษ์จากกองทัพให้เป็นผู้ช่วยในการผสมยาต่าง ๆ เพราะไม่มีเภสัชกร รวมทั้งสร้างให้เป็นเจ้าหน้าที่ช่วยในห้องผ่าตัด และในการเป็นผู้ให้ยาระงับความรู้สึกด้วยการดมทางจมูก
  • จัดสร้างตึกสูติกรรม นรีเวชกรรม ให้แม่มาคลอดบุตรในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
  • สร้างตึกพนม นครานุรักษ์สำหรับเป็นอาคารสงฆ์อาพาธแยกจากประชาชน
  • เริ่มการให้บริการทางทันตกรรมในชนบทแก่นักเรียนและประชาชนทั่วไป
  • ชักชวนคหบดีในตลาดบริจาคเงินสร้างตึกผ่าตัดโดยเฉพาะ รวมทั้งบริษัทยาสูบอังกฤษ-อเมริกันที่ให้ทุนสร้างอาคารผู้ป่วยพิเศษ และผู้ป่วยทั่วไป
  • สร้างอาคารสำหรับรังสีวิทยาด้วยเงินทุนของโรงพยาบาลและได้ขอให้เทศบาลเมืองเชียงรายสนับสนุนสร้างอาคารครัว โรงซักฟอก และสถานที่เก็บศพ

[แก้] ธนาคารเลือดแห่งแรกและการสาธารณสุขขั้นมูลฐานของเชียงราย

  • เมื่อ พ.ศ. 2493 นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วได้จัดตั้งธนาคารเลือดขึ้นเป็นแห่งแรกของประเทศไทยที่จังหวัดเชียงราย
  • จัดทำสถานีอนามัยที่มีบุคลากรที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วไปทำหน้าที่ให้บริการสาธารณสุขขั้นมูลฐานเป็นครั้งแรกที่กิ่งอำเภอแม่สาย อำเภอเทิง อำเภอเชียงของและอำเภอพะเยา
  • จัดให้เจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลออกเยี่ยมประชาชนในวันอาทิตย์และวันหยุดราชการ

[แก้] กิจกรรมทางการแพทย์ในระหว่างสงคราม

นอกจากการปฏิบัติราชการยามปกติแล้ว ในช่วงสงครามอินโดจีน นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วก็ได้ร่วมปฏิบัติการพอสรุปได้ดังนี้

  • สงครามเรียกร้องดินแดนคืน พ.ศ. 2483 มีการทดลองใช้น้ำมะพร้าวอ่อนช่วยชีวิตผู้ขาดน้ำในป่าลึกระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2
  • การศึกษาต้นกาสามปีก (Vitex Peduncularis) ในการรักษาโรคไข้จับสั่นในทหารและพลเรือน
  • การศึกษาต้นโมกหลวงในการรักษา Amaebic Dysentery ด้วย Holarrena Antidysenterica ในทหารและพลเรือน
  • การเตรียมควินินไฮโดรคลอไรด์รักษาไข้จับสั่นขึ้นสมอง
  • การเตรียม morphine ใช้ในโรงพยาบาล

[แก้] กิจกรรมอื่นในระหว่างสงคราม

  • สงครามเรียกร้องดินแดนคืน พ.ศ. 2483
  • สงครามโลกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2484 – 2488
  • กิจกรรมแพทย์พิเศษในประเทศลาว

[แก้] ช่วงกลางแห่งชีวิต - การย้ายเข้ากรุงเทพฯ

นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว เป็นที่รู้จักและเป็นที่เคารพนับถือของชาวเชียงรายอย่างหาที่เปรียบได้ยาก ความมุมานะและความคิดริเริ่มต่างๆทำให้เชียงรายมีความเจริญด้านการแพททย์มากขึ้น จึงนับเป็นข้าราชการที่มีความสามารถสูงผู้หนึ่ง ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2494 กระทรวงสาธารณสุขโดยกรมการแพทย์ออกคำสั่งย้ายนายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว จากโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์มาเป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลหญิง หน้าอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ พญาไท (ปัจจุบัน คือ โรงพยาบาลราชวิถี) และได้ดำรงตำแหน่งต่างๆ เป็นลำดับดังนี้

  • เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ กรมการแพทย์
  • เป็นผู้แทนรัฐบาลไทยร่วมมือกับรัฐบาลสหรัฐอเมริกาให้การช่วยเหลือทางการแพทย์และการสาธารณสุขทั่วประเทศ รวมทั้งมหาวิทยาลัยแพทย์
  • ติดต่อรัฐบาลสหรัฐอเมริกาขอผู้เชี่ยวชาญทางโลหิตวิทยาศึกษาโรค Thalassemia ในประเทศไทย
  • ร่วมสร้างผลงานจนได้เป็นศาสตราจารย์ไทยที่เป็นผู้ชำนาญการในโรคนี้จนปัจจุบันรู้จักกันทั่วโลก
  • จัดคณะแพทย์และพยาบาลมาช่วยพัฒนาการปฏิบัติการทางด้านศัลยกรรมที่โรงเรียนแพทย์
  • ร่วมมือกับศาสตราจารย์เบน ไอซแมนส์ แต่งตำราศัลยศาสตร์ทั่วไปด้วยเงินทุน M.S.A.
  • พ.ศ. 2494 เริ่มจัดตั้งธนาคารเลือดแห่งแรกในพระนครโดยได้รับการสนับสนุนจากองค์การ M.S.A. สหรัฐอเมริกา ทำให้ประเทศไทยมีเลือดให้ผู้ป่วยเป็นชนิดเลือดสดและน้ำเหลืองแห้งทั้งแข็งและเป็นผง ส่งให้โรงพยาบาลทั้งในพระนครและต่างจังหวัด ได้เปิดการอบรมเจ้าหน้าที่พยาบาลเป็นผู้ชำนาญในการถ่ายเลือด โดยศึกษา 1 ปี ในตำแหน่งชั้นตรี พร้อมกับผลิตตำราเพื่อตั้งและบริหารธนาคารเลือดในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในพระนครและชนบท
  • จัดตั้งโรงเรียนพยาบาลวิสัญญีทางการให้ยาระงับความรู้สึกทั่วประเทศไทย เริ่มตั้งแต่ปีนี้ ศึกษาเป็นเวลา 1 ปี ได้ตำแหน่งชั้นตรี
  • สร้างตำราวิสัญญีพยาบาลเป็นคู่มือในการศึกษาจนถึงปัจจุบันเป็นรุ่นที่ 44 มีผู้สำเร็จการศึกษาจำนวนพันกว่ารายทำงานในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในปัจจุบัน กิจการการสอนการอบรมทางประสบการณ์ได้เพิ่มความเข้มข้นขึ้นในปี พ.ศ. 2499 เป็นต้นมา
  • พ.ศ. 2494พ.ศ. 2543 ก่อตั้งโรงเรียนพยาบาลผดุงครรภ์ กรมการแพทย์ เริ่มต้นที่โรงพยาบาลกลาง โดยท่านอธิบดีกรมการแพทย์ เมื่อ พ.ศ. 2489 หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 โดย พ.ท.นายแพทย์ นิตย์ เวชวิศิษฎ์ (หลวงเวชวิศิษฎ์) ผู้เชิญ น.ส. มณี สหัสสานนท์ แห่งโรงพยาบาลศิริราช มาเป็นอาจารย์ผู้ปกครอง กิจการได้เจริญก้าวหน้าเมื่อย้ายโรงเรียนมาอยู่ในบริเวณโรงพยาบาลหญิง
  • ได้มีการส่งครูพยาบาลไปเรียนต่างประเทศ ได้ปริญญาโททางการพยาบาล จำนวน 12 คน ปริญญาเอกทางการพยาบาล 1 คน
  • หน่วยงานของ M.S.A. สหรัฐอเมริกา และ W.H.O. ให้การสนับสนุนให้อาจารย์พยาบาลจากต่างประเทศ 3 คนมาช่วยปรับปรุงโรงเรียนพยาบาลซึ่งต่อมาได้ผลิตครูพยาบาลให้โรงเรียนพยาบาลและผดุงครรภ์ที่จังหวัดพิษณุโลก นครราชสีมา และอุบลราชธานี และโรงพยาบาลในต่างจังหวัดอื่นๆ ได้ส่งนักเรียนพยาบาลมาเรียนเพื่อกลับไปเป็นพยาบาลทั้ง 72 จังหวัด นักศึกษาจากโรงเรียนต่อ ๆ มาเป็นคณบดีคณะพยาบาลหลายแห่งด้วยกัน
  • ปัจจุบันมีผู้สำเร็จจากโรงเรียนพยาบาลกว่า 20,000 คนแล้ว
  • พ.ศ. 2497 รัฐบาลออสเตรเลีย โดย ฯพณฯ Lord Casey ข้าหลวงใหญ่รัฐบาล ออสเตรเลียเชิญไปหารือด้านการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ แล้วจัดรถพยาบาลจำนวน 78 คัน ให้ทุกโรงพยาบาลในประเทศ ใน พ.ศ. 2504

[แก้] กำเนิดโรงพยาบาลหญิงและโรงพยาบาลเด็ก

  • พ.ศ. 2496 – 2500 อธิบดีกรมการแพทย์ พ.ท. นิตย์ เวชวิศิษฎ์ได้เสนอความเห็นถึงนายกรัฐมนตรีให้เร่งสร้างโรงพยาบาลหญิงและโรงพยาบาลเด็ก และวิทยาลัยพยาบาลผดุงครรภ์ ทำให้ประชาชนทั่วประเทศมีโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพื่อบำบัดทุกข์บำรุงสุข มีโอกาสได้รับบริการทั่วหน้าได้
  • เนื่องจากโรงพยาบาลหญิงมีเด็กคลอดวันละ 50 – 70 คน เด็กจำนว20,000 คน คลอดที่โรงพยาบาลแห่งนี้ทุกปี เด็กคลอดมีทั้งเด็กมีร่างกายปกติและมีร่างกายพิการ ทางราชการจึงเห็นความจำเป็นในการจัดตั้งโรงพยาบาลเด็กขึ้นในพื้นที่ 20 ไร่ ติดกับโรงพยาบาลหญิง เพื่อศึกษาและให้บริการแก่ประชาชนวัยเด็กที่มีความสำคัญต่อชาติเมื่อ พ.ศ. 2497
  • ในปี พ.ศ. 2500 ประชากรเด็กเพิ่มปีละ 3.3 ในร้อยคน รัฐบาลเห็นความสำคัญในการให้บริการแก่เด็กไทย โดยนอกจาการสร้างโรงพยาบาลเด็กแล้วก็สร้างสถานอนุเคราะห์เด็กที่บ้านราชวิถีขึ้นด้วย

[แก้] การฝึกแพทย์ประจำบ้าน

  • จำนวนแพทย์ที่มีความรู้เรื่องเด็กมีความจำเป็น โรงพยาบาลเด็กด้วยความร่วมมือของ W.H.O. ได้จัดการอบรมแพทย์โรคเด็กขึ้นใน พ.ศ. 2500 เป็นการฝึกแพทย์ประจำบ้าน (Residency Training) ขึ้นในประเทศไทย ใช้เวลาเรียนติดต่อกันอีก 3 ปี เป็นต้นมาจนปัจจุบัน

[แก้] การจดทะเบียนและเวชเบียน

  • พ.ศ. 2497 W.H.O. องค์การอนามัยโลกเห็นความสำคัญของระบบการจัดเก็บข้อมูลต่าง ๆ จึงส่ง ศาสตราจารย์ ดร. วู๊ดบิวรี (Prof. Woodbury Ph.D.) ผู้เชี่ยวชาญทางการสถิติที่ปฏิบัติงานติดตามผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต ณ เมืองฮิโรชิมา ประเทศญี่ปุ่น ภายหลังการทิ้งระเบิดปรมาณู ที่ทำและติดตามทะเบียนผู้ป่วยที่ถูกแสงและมีชีวิตอยู่จนเป็นผลดีต่อทางราชการ ให้มาเป็นผู้ริเริ่มจัดการเวชเบียนผู้ป่วยขึ้นเป็นแห่งแรกที่โรงพยาบาลเด็ก โดยใช้เครื่อง IBM เป็นครั้งแรกในประเทศไทย จนเป็นแบบอย่างจนถึงปัจจุบัน โรงพยาบาลเด็กได้จัดส่งนายแพทย์ไทยไปเรียนในประเทศสหรัฐอเมริกาจนได้ปริญญาเอกทางนี้มาทำงานในประเทศ โดยเริ่มที่โรงพยาบาลรามาธิบดี


[แก้] การสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดและการตั้งวิทยาลัยศัลยแพทย์นานาชาติ

  • ภายใน 4 ปีรัฐบาลสามารถสร้างโรงพยาบาลประจำจังหวัดได้ครบทุกจังหวัด
  • พ.ศ. 2497 ได้จัดตั้งสมาคมศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย (International College of Surgeons – Thai) ทำให้ศัลยแพทย์ทั่วโลกได้รู้จักการเรียนและปฏิบัติงานทางศัลยกรรมในประเทศดีพอที่จะส่งศัลยแพทย์ไปศึกษาวิชาศัลยกรรมในต่างประเทศได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • ประเทศไทยเป็นสมาชิกอยู่ในสมาคม International Society of Surgery ซึ่งเป็นสมาคมศัลยกรรมที่เก่าแก่ที่สุดของโลก ทำให้ศัลยแพทย์ทั่วไปในโลกเข้าใจขีดการปฏิบัติงานและการฝึกอบรมศัลยแพทย์ไทยดียิ่งขึ้น
  • เปิดการประชุมและสัมมนาทางวิชาการระหว่างประเทศ เริ่มขึ้นต่อเนื่องมาจนปัจจุบัน

[แก้] เวชสารการแพทย์และผลงานอื่นๆ

  • จัดทำหนังสือทางวิชาการเป็นนิตยสาร “เวชสารการแพทย์”
  • พ.ศ. 2505 ได้ทำการผ่าตัดเด็กฝาแฝดไทยในเวลา 10 ปี ได้เป็นผลสำเร็จที่เป็นแฝดสยาม (Siamese Twin) จำนวน 5 คู่
  • ได้ทำการศึกษาฝาแฝดไทยคู่แรก นายอิน-นายจันทร ผู้ใช้นามว่า Buncker อยู่ในประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อ 100 กว่าปีมาแล้ว

[แก้] ปัจฉิมวัย-การเป็นแพทย์เวชปฏิบัติส่วนตัว

การปฏิบัติวิชาชีพแพทย์ทั้งในภูมิภาคและในกรุงเทพฯ ที่ได้ปฏิบัติอย่างต่อเนื่องมานานทำให้นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ตัดสินใจออกจากราชการมา เป็นแพทย์เวชปฏิบัติทั่วไปเป็นเวลา 10 ปี (พ.ศ. 2506พ.ศ. 2516) โดยมีสำนักงานอยู่ที่ เลขที่ 103 ถนนสุขุมวิท ระหว่างซอย 5 และซอย 7 โดยแบ่งพื้นที่ชั้นบนให้บุตรชายที่เป็นสถาปนิกใช้เป็นสำนักงานออกแบบ ซึ่งต่อมาได้เจริญรุ่งเรืองในชื่อของ “บริษัทดีไซน์ 103” ที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน และในช่วงนี้เอง ท่านก็ยังได้ใช้ชีวิตในปัจฉิมวัยทำคุณประโยชน์แก่สังคมอย่างมากมาย ทั้งด้านการแพทย์ การสาธารณสุข การศึกษาและการเมือง อาทิ

[แก้] งานในศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย

  • เป็นประธานกรรมการทางวิชาการ
  • จัดพิมพ์เอกสารการประชุมทางวิชาการ
  • เป็นกรรมการส่งเสริมผู้บริจาคโลหิต
  • เป็นที่ปรึกษาคณะกรรมการส่งเสริมผู้บริจาคโลหิต
  • แนะนำให้แพทย์ทางโลหิตวิทยาใช้ factor จากผลิตภัณฑ์น้ำเหลืองในประเทศไทยในการรักษาโรคโลหิตออกง่ายแบบฮีโมฟิเลีย ให้พ้นจากเชื้อโรคเอดส์ที่พบในผลิตภัณฑ์จากต่างประเทศ

[แก้] ประวัติด้านการเมือง

  • เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย สมัยรัฐบาล ฯพณฯ นายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • จัดโครงสร้างใหม่ในกระทรวงสาธารณสุขและการกระจายอำนาจโดยความเห็นชอบของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
  • จัดทำแผนสาธารณสุขแห่งชาติด้วยความร่วมมือของ W.H.O. และสภาพัฒนาการเศรษฐกิจ
  • พ.ศ. 2517เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข สมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • เป็นที่ปรึกษาคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
  • เป็นสมาชิกวุฒิสภา
  • เป็นประธานกรรมการสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
  • เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข 2 สมัย สมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
  • สร้างโรงพยาบาลประจำอำเภอ จำนวน 660 แห่ง
  • สนับสนุนหลักการ “สุขภาพดีทั่วหน้าในปี 2543” (Health for all by the year 2000)
  • สนับสนุนหลัก 10 ประการของการสาธารณสุขมูลฐานให้สุขภาพดีทั่วหน้าในปี 2543
  • จัดทำ จ.ป.ฐ. ความจำเป็นพื้นฐาน 8 ตัว ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมใช้เป็นหลัก

[แก้] งานในสำนักงานการศึกษาแห่งชาติ

  • เป็นกรรมการสำนักงานการศึกษาแห่งชาติ
  • ช่วยโอนการประถมศึกษา จากกระทรวงมหาดไทย กลับมาอยู่กระทรวงศึกษาธิการ ในสมัยรัฐบาล ฯพณฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ เป็นนายกรัฐมนตรี สมัยศาสตราจารย์ ดร. สิปปนนท์ เกตุทัต เป็นเลขาธิการ

[แก้] สำนักงานคณะกรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

  • เป็นกรรมการ
  • เป็นประธานอนุกรรมการทางสังคม
  • วางหลักการคุณภาพชีวิตของคนไทย จปฐ. ความจำเป็นพื้นฐาน 8 ประการ


[แก้] กิจกรรมเกี่ยวกับมหาวิทยาลัย

[แก้] เกียรติคุณ

[แก้] ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์

[แก้] เครื่องราชอิสริยาภรณ์

  • มหาปรมาภรณ์ช้างเผือก
  • มหาวชิรมงกุฎ
  • ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ
  • เหรียญชัยสมรภูมิ
  • เหรียญอาษากาชาดชั้น 1
  • เหรียญราชวัลลภ

[แก้] งานสังคมในอดีต – ปัจจุบัน

ประธานมูลนิธิต่าง ๆ สหทัยมูลนิธิ / มูลนิธิเด็ก (ประธานที่ปรึกษา) /มูลนิธิพัฒนาเด็ก / มูลนิธิพัฒนาการแพทย์แผนไทย /มูลนิธิสุขภาพไทย /มูลนิธิหมอชาวบ้าน /มูลนิธิมณี สหัสสานนท์ /มูลนิธิหม่อมเจ้าหญิงบุญจิราธร จุฑาธุช (รองประธาน) /มูลนิธิแพทย์ชนบท /มูลนิธิแสงสว่าง /มูลนิธิ ดร. โอกุระ (อยู่กับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย) มูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว พ.ศ. 2538 /ประธานกรรมการคัดเลือกทุนอานันทมหิดล ด้านการแพทย์ (พ้นตำแหน่งแล้ว) /โครงการรางวัลปรีดี พนมยงค์ สำหรับบุคคลผู้มีผลงานดีเด่นทางด้านประชาธิปไตยและสันติภาพ เป็นประธานอนุกรรมการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 361/2540 และ ที่ 145/2541 /เสมสิกขาลัย (Sem Spirit in Education Movement) เป็นองค์กรที่คุณสุลักษณ์ ศิวรักษ์ ตั้งขึ้นด้วยเงินจากการได้รับรางวัลเคียงข้างโนเบลเพื่อการศึกษาเลือกอีกแบบหนึ่ง ซึ่งมีเนื้อหาและรูปแบบเพื่อความสุขทางใจและความมั่นคงในชีวิต เพื่อนเสม คือ ผู้มีอุดมการณ์ร่วมกันเพื่อประโยชน์ต่อสังคมทั้งในเมืองและชนบท / ความร่วมมือระหว่างมูลนิธิหมอเสม พริ้งพวงแก้ว และ Project HOPE Thailand โดยมี Ms. Akiko Otani จากประเทศสหรัฐอเมริกา ให้ความช่วยเหลือ

  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ ด้านโรคหัวใจ
  • โรงพยาบาลสันทราย จังหวัดเชียงใหม่ ด้านโรคเด็ก เอช.ไอ.วี. โรคทางหลอดลมเรื้อรัง และการให้คำปรึกษา
  • โรงพยาบาลหางดง จังหวัดเชียงใหม่ ด้านโรคหลอดลมเรื้อรัง /
  • การช่วยเหลือประเทศใหม่ ติมอร์ตะวันออก มีกรรมการช่วยเหลือเพื่อมนุษยธรรมโดยมี ฯพณฯ นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นประธาน ตามคำขอของคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ขอบริจาคยา เวชภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างที่พักอาศัย วันที่ 7 ตุลาคม 2542 / เป็นประธานก่อสร้างอนุสรณ์วีรชน 14 ตุลาคม 2516 บริเวณสี่แยกคอกวัว ถนนราชดำเนิน

[แก้] เกียรติพิเศษ

[แก้] นายกสมาคมวิชาชีพ

  • นายกสมาคมศัลยแพทย์นานาชาติแห่งประเทศไทย
  • นายกสมาคมแพทย์เวชปฏิบัติ
  • นายกสมาคมแพทย์แห่งประเทศไทย
  • นายกพิเศษแห่งแพทยสภา
  • ประธานราชวิทยาลัยศัลยแพทย์แห่งประเทศไทย

[แก้] หนังสือที่รำลึก

  • มูลนิธิสาธารณสุขแห่งชาติและองค์การอนามัยโลก จัดพิมพ์หนังสือ “เกียรติประวัติแพทย์ไทย ฝากไว้ให้ชนรุ่นหลัง ชีวิตและงานของนายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว” (สิงหาคม 2537)
  • โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ จัดพิมพ์หนังสือเสม พริ้งพวงแก้ว ในโอกาสครบ 60 ปี ของโรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์ เพื่อประโยชน์ของประชาชนจังหวัดเชียงรายและจังหวัดใกล้เคียง
  • หนังสือที่ระลึกพิธีเปิดอาคารอัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม 27 สิงหาคม 2540 นายประกอบ ดำริชอบ นายอำเภออัมพวา กล่าวถึงผลงานของนายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว ที่สร้างโรงพยาบาลเอกเทศ พ.ศ. 2478

[แก้] บุคคลดี

  • พ.ศ. 2526 พ่อตัวอย่าง
  • พ.ศ. 2532 เหรียญ Health for All จาก W.H.O.
  • พ.ศ. 2534 โล่ Asia Pacific Consortium as Physician Teacher Innovator
  • พ.ศ. 2534 บุคคลดีเด่นแห่งชาติด้านพัฒนาสังคม
  • พ.ศ. 2535 บุคคลดีเด่นด้านสาธารณสุข

สมาชิกกิตติมศักดิ์สโมสรโรตารี่แห่งประเทศไทย

  • พ.ศ. 2540 รางวัลประกาศเกียรติคุณ “คนดีศรีสยาม” จาก สมาคมอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์คอนกรีตไทย

[แก้] กิจกรรมทางการแพทย์พิเศษในอดีต

[แก้] การบรรยายในการประชุมและการสัมมนา

[แก้] บั้นปลายแห่งชีวิตและชีวิตครอบครัว

นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว นับเป็นผู้มีสุขภาพทั้งร่างกายและจิตใจที่ดีเยี่ยม ด้วยวัย 96 ปี ท่านยังเดินเหินเป็นปกติและยังสามารถเข้าร่วมการแสดงความคิดเห็นต่างๆ อยู่มิได้ขาด ท่านเป็นผู้มองโลกในแง่ดีอยู่เสมอ

นายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้วสมรสกับคุณแฉล้ม พริ้งพวงแก้วพยาบาลคู่ชีวิตที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมามากกว่า 70 ปี มีบุตรชายด้วยกัน 3 คน และบุตรหญิง 2 คน หนึ่งในนั้นคือคุณชัชวาลย์ พริ้งพวงแก้ว สถาปนิกดีเด่นของสมาคมสถาปนิกสยามฯเจ้าของผู้ก่อตั้งบริษัทดีไซน์ 103 ที่มีชื่อเสียงดังกล่าว คุณแฉล้ม พริ้งพวงแก้วเพิ่งถึงจากไปด้วยโรคชราเมื่อปีที่ผ่านมา

[แก้] อ้างอิง

  • เรียบเรียงและสรุปจากประวัติและผลงานของนายแพทย์เสม พริ้งพวงแก้ว พ.ศ. 2550
  • การสัมภาษณ์กับทายาท เมื่อเดือนมีนาคม พ.ศ. 2550 โดย... (รอเพิ่มเติม)
Static Wikipedia 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu