เขตธนบุรี
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานคร | |
---|---|
สถิติ | |
พื้นที่: | 8.551 ตร.กม. |
ประชากร: | 136,283 (พ.ศ. 2549 เมษายน) |
ความหนาแน่น: | 15,937 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 1015 |
แผนที่ | |
เขตธนบุรี เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี
สารบัญ |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีอาณาเขตติดต่อกับเขตอื่น เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่และเขตพระนคร มีคลองบางกอกใหญ่และแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตคลองสาน มีสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า ถนนประชาธิปก ถนนลาดหญ้า (บริเวณรอบวงเวียนอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช) ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน และคลองบางไส้ไก่ เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางคอแหลมและเขตราษฎร์บูรณะ มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาและคลองดาวคะนองเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตจอมทองและเขตภาษีเจริญ มีคลองบางสะแก คลองวัดใหม่ยายนุ้ย และคลองบางหลวงน้อย เป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ประวัติศาสตร์
เขตธนบุรี เดิมมีฐานะเป็นอำเภอชั้นในขึ้นกับกรมนครบาล ตั้งที่ว่าการอำเภอในพื้นที่ของวัดราชคฤห์ จึงเรียกอำเภอนี้ว่า อำเภอราชคฤห์ (ปัจจุบันสำนักงานเขตย้ายมาตั้งอยู่บริเวณวัดเวฬุราชิณ)
ต่อมาเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2459 ได้มีพระบรมราชโองการเปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็น อำเภอบางยี่เรือ จังหวัดธนบุรี เนื่องจากมีที่ตั้งอำเภออยู่ในเขตตำบลบางยี่เรือ
หลังจากนั้น ในวันที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2482 สมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีพระราชกฤษฎีกาเปลี่ยนนามอำเภอบางยี่เรือ เป็น อำเภอธนบุรี เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2482 เพื่อรักษาคำว่า "ธนบุรี" ซึ่งเคยเป็นเมืองหลวงและเพื่อเฉลิมพระเกียรติของสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี (สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช)
อำเภอธนบุรีนี้ยังถือเป็นศูนย์กลางการปกครองของจังหวัดธนบุรีด้วย ตราบจนกระทั่งวันที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2514 รัฐบาลได้รวมจังหวัดพระนครและธนบุรีเป็น นครหลวงกรุงเทพธนบุรีและภายหลังการปรับปรุงการปกครองใหม่เป็นกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2515 อำเภอธนบุรีจึงเปลี่ยนแปลงฐานะเป็นมาเป็น เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร
ในวันที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 ได้มีประกาศกรุงเทพมหานครเปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงและตั้งแขวงใหม่ในเขตธนบุรี เนื่องจากผู้บริหารกรุงเทพมหานครมีนโยบายให้แบ่งแขวงขนาดใหญ่ให้ย่อยลง เพื่อความชัดเจนในการให้บริการของสำนักงานเขต โดยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่แขวงบุคคโล แขวงบางยี่เรือ และแขวงตลาดพลู นำมาจัดตั้งเป็นแขวงสำเหร่และแขวงดาวคะนอง
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เขตธนบุรีแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 7 แขวง (khwaeng) ได้แก่
1. | วัดกัลยาณ์ | (Wat Kanlaya) |
2. | หิรัญรูจี | (Hiran Ruchi) |
3. | บางยี่เรือ | (Bang Yi Ruea) |
4. | บุคคโล | (Bukkhalo) |
5. | ตลาดพลู | (Talat Phlu) |
6. | ดาวคะนอง | (Dao Khanong) |
7. | สำเหร่ | (Samre) |
[แก้] สถานที่สำคัญ
- พระราชานุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ที่ วงเวียนใหญ่
- โบสถ์ซานตาครูซ(Santa Cruz Church)
- วัดกัลยาณมิตร (Wat Kanlaya)
- วัดอินทาราม (Wat Intharam)
- วัดบางยี่เรือ (Wat Bang Yi Ruea)
- มัสยิดต้นสน
- วงเวียนใหญ่ (Wong Wian Yai Circle)
- มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี
- มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ
[แก้] ห้างสรรพสินค้า
- เดอะมอลล์ท่าพระ
- โรบินสัน ลาดหญ้า
- โลตัส ธนบุรี
[แก้] การคมนาคม
ถนนสายหลักในพื้นที่เขตธนบุรี ได้แก่
- ถนนอิสรภาพ เชื่อมถนนประชาธิปก (สี่แยกบ้านแขก) กับสะพานเจริญพาศน์
- ถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับสะพานข้ามคลองดาวคะนอง
- ถนนอรุณอมรินทร์ เชื่อมระหว่างถนนประชาธิปกกับสะพานอนุทินสวัสดิ์
- ถนนมไหสวรรย์ เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สี่แยกมไหสวรรย์) กับสะพานกรุงเทพ
- ถนนรัชดาภิเษก เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสิน (สี่แยกมไหสวรรย์) กับสะพานตลาดพลู
- ถนนเจริญนคร เชื่อมระหว่างสะพานเจริญนคร 5 ถึงสะพานเจริญนคร 8
- ถนนประชาธิปก เชื่อมระหว่างวงเวียนใหญ่กับเชิงสะพานสมเด็จพระพุทธยอดฟ้า
- ถนนวุฒากาศ เชื่อมถนนเทอดไท (สามแยกมะลิทอง) กับสะพานข้ามคลองวัดใหม่ยายนุ้ย
- ถนนเทอดไท เชื่อมถนนอินทรพิทักษ์ (สามแยกบางยี่เรือ) กับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
- ถนนกรุงธนบุรี เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางไส้ไก่
- ถนนราชพฤกษ์ (ทางหลวงชนบท) เชื่อมถนนสมเด็จพระเจ้าตากสินกับสะพานข้ามคลองบางหลวงน้อย
วงเวียนใหญ่เป็นสถานที่ที่มีการเดินทางคับคั่งมาก และในปีหน้าจะมีรถไฟฟ้าบีทีเอส สถานีตากสินมาลง
เขตธนบุรีมีสะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยา 4 แห่ง ได้แก่
- สะพานพระพุทธยอดฟ้า เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร
- สะพานพระปกเกล้า เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตพระนคร
- สะพานพระราม 3 เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
- สะพานกรุงเทพ เชื่อมระหว่างเขตธนบุรีกับเขตบางคอแหลม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ฝั่งธนบุรี | คลองสาน · จอมทอง · ตลิ่งชัน · ทวีวัฒนา · ทุ่งครุ · ธนบุรี · บางกอกน้อย · บางกอกใหญ่ · บางขุนเทียน · บางแค · บางบอน · บางพลัด · ภาษีเจริญ · ราษฎร์บูรณะ · หนองแขม |
ฝั่งพระนคร | คลองเตย · คลองสามวา · คันนายาว · จตุจักร · ดอนเมือง · ดินแดง · ดุสิต · บางกะปิ · บางเขน · บางคอแหลม · บางซื่อ · บางนา · บางรัก · บึงกุ่ม · ปทุมวัน · ประเวศ · ป้อมปราบศัตรูพ่าย · พญาไท · พระโขนง · พระนคร · มีนบุรี · ยานนาวา · ราชเทวี · ลาดกระบัง · ลาดพร้าว · วังทองหลาง · วัฒนา · สวนหลวง · สะพานสูง · สัมพันธวงศ์ · สาทร · สายไหม · หนองจอก · หลักสี่ · ห้วยขวาง |
เขตธนบุรี เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตธนบุรี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |