เขตบางกอกน้อย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานคร | |
---|---|
สถิติ | |
พื้นที่: | 11.944 ตร.กม. |
ประชากร: | 133,561 (พ.ศ. 2549 เมษายน) |
ความหนาแน่น: | 11,182 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 1020 |
แผนที่ | |
![]() |
เขตบางกอกน้อย เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตกรุงธนบุรี ซึ่งถือเป็นเขตอนุรักษ์เมืองเก่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์และศิลปวัฒนธรรมทางฝั่งธนบุรี โดยมีคำขวัญประจำเขตว่า "สมเด็จโตวัดระฆัง วังหลังตั้งอยู่ อู่เรือพระราชพิธี สถานีรถไฟ คลองใหญ่มีชื่อ เลื่องลือเครื่องลงหิน นามระบิลช่างหล่อ งามละออวัดวา"
สารบัญ |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกค่อนไปทางเหนือของฝั่งธนบุรี มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตบางพลัด มีถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้าเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตพระนคร มีแนวกึ่งกลางแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกอกใหญ่ มีคลองมอญเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตตลิ่งชัน มีคลองชักพระและคลองบางกอกน้อยเป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ประวัติศาสตร์
เขตบางกอกน้อยเดิมมีชื่อเรียกว่า อำเภออมรินทร์ เป็นอำเภอที่ 21 ใน 25 อำเภอชั้นในของพระนครตามประกาศกระทรวงนครบาลในปี พ.ศ. 2458
จากนั้นในปี พ.ศ. 2459 พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนชื่ออำเภออมรินทร์เป็น อำเภอบางกอกน้อย (พร้อมกับเปลี่ยนชื่ออำเภอหงสารามเป็นอำเภอบางกอกใหญ่ เปลี่ยนชื่ออำเภอราชคฤห์เป็นอำเภอบางยี่เรือ และเปลี่ยนชื่ออำเภอบุปผารามเป็นอำเภอคลองสาน) เนื่องจากชื่อเดิมยังไม่เหมาะสมกับตำบลที่ตั้งอันเป็นหลักฐานโบราณ ในขณะนั้นอำเภอบางกอกน้อยมีเขตปกครอง 8 ตำบล คือ ตำบลบางอ้อ ตำบลบางพลัด ตำบลบางบำหรุ ตำบลบางยี่ขัน ตำบลบางขุนนนท์ ตำบลบางขุนศรี ตำบลศิริราช และตำบลบ้านช่างหล่อ
ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2515 ได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ยกเลิกหน่วยการปกครองจังหวัด เทศบาล สุขาภิบาล ในเขตจังหวัดพระนครและจังหวัดธนบุรีเป็นหน่วยการปกครองเดียว คือ "กรุงเทพมหานคร" ซึ่งได้เปลี่ยนคำว่าอำเภอเป็น "เขต" และตำบลเป็น "แขวง" ดังนั้น อำเภอบางกอกน้อยจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น เขตบางกอกน้อย กรุงเทพมหานคร
ในปี พ.ศ. 2532 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตบางกอกน้อย โดยแบ่งพื้นที่แขวงบางพลัด แขวงบางอ้อ แขวงบางยี่ขัน และแขวงบางบำหรุ ไปจัดตั้งเป็นเขตบางพลัด เพื่อให้หน่วยงานราชการดูแลปกครองพื้นที่ได้สะดวกขึ้น
และได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยอีกครั้งในปี พ.ศ. 2534 ตัดพื้นที่เขตบางพลัด เฉพาะฝั่งใต้ถนนบรมราชชนนีและถนนสมเด็จพระปิ่นเกล้า กลับมาเป็นพื้นที่ของเขตบางกอกน้อย และได้รับการจัดตั้งเป็นแขวงอรุณอมรินทร์
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เขตบางกอกน้อยแบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น 5 แขวง (khwaeng) ได้แก่
- ศิริราช (Siri Rat)
- บ้านช่างหล่อ (Ban Chang Lo)
- บางขุนนนท์ (Bang Khun Non)
- บางขุนศรี (Bang Khun Si)
- อรุณอมรินทร์ (Arun Amarin)
[แก้] สถานที่สำคัญ
- โรงพยาบาลศิริราช
- ท่าน้ำศิริราช
- สามแยกไฟฉาย
- สี่แยกศิริราช
- วัดระฆังโฆสิตาราม
- วัดอรุณอัมรินทร์
- ภัทราวดีเธียเตอร์
- ตลาดสดพรานนก
- ตลาดศาลาน้ำร้อน
- ตลาดบางขุนศรี
- สถานีรถไฟธนบุรี
- โรงพยาบาลธนบุรี
- วัดชิโนรสารามวรวิหาร
- โรงเรียนชิโนรสวิทยาลัย
- โรงเรียนสวนอนันต์
- กรมอู่ทหารเรือ
- กองดุริยางค์ทหารเรือ
- สโมสรทหารเรือ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- เว็บไซต์สำนักงานเขตบางกอกน้อย (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
- เว็บไซต์กรุงเทพมหานคร: แหล่งท่องเที่ยวในเขตบางกอกน้อย
- แผนที่เขตบางกอกน้อย
ฝั่งธนบุรี | คลองสาน · จอมทอง · ตลิ่งชัน · ทวีวัฒนา · ทุ่งครุ · ธนบุรี · บางกอกน้อย · บางกอกใหญ่ · บางขุนเทียน · บางแค · บางบอน · บางพลัด · ภาษีเจริญ · ราษฎร์บูรณะ · หนองแขม |
ฝั่งพระนคร | คลองเตย · คลองสามวา · คันนายาว · จตุจักร · ดอนเมือง · ดินแดง · ดุสิต · บางกะปิ · บางเขน · บางคอแหลม · บางซื่อ · บางนา · บางรัก · บึงกุ่ม · ปทุมวัน · ประเวศ · ป้อมปราบศัตรูพ่าย · พญาไท · พระโขนง · พระนคร · มีนบุรี · ยานนาวา · ราชเทวี · ลาดกระบัง · ลาดพร้าว · วังทองหลาง · วัฒนา · สวนหลวง · สะพานสูง · สัมพันธวงศ์ · สาทร · สายไหม · หนองจอก · หลักสี่ · ห้วยขวาง |
![]() |
เขตบางกอกน้อย เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตบางกอกน้อย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |