เขตวังทองหลาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
กรุงเทพมหานคร | |
---|---|
สถิติ | |
พื้นที่: | 18.905 ตร.กม. |
ประชากร: | 114,535 (พ.ศ. 2549 เมษายน) |
ความหนาแน่น: | 6,058 คน/ตร.กม. |
รหัสทางภูมิศาสตร์: | 1045 |
แผนที่ | |
เขตวังทองหลาง เป็น 1 ใน 50 เขตการปกครอง ของกรุงเทพมหานคร อยู่ในกลุ่มเขตบูรพา ซึ่งถือเป็นเขตที่อยู่อาศัยรองรับการขยายตัวของเมือง ทางทิศตะวันออก (ตอนใต้) ของกรุงเทพมหานคร
สารบัญ |
[แก้] ที่ตั้งและอาณาเขต
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา (ฝั่งพระนคร) มีอาณาเขตติดต่อกับเขตต่าง ๆ เรียงตามเข็มนาฬิกา ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับเขตลาดพร้าวและเขตบางกะปิ มีคลองทรงกระเทียม ถนนโชคชัย 4 ซอยสังคมสงเคราะห์ ถนนประดิษฐ์มนูธรรม และคลองทรงกระเทียม เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองจั่น คลองลำพังพวย ลาดพร้าว 101 (ซอยวัดบึงทองหลาง) ถนนลาดพร้าว และคลองจั่น เป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศใต้ ติดต่อกับเขตบางกะปิ มีคลองแสนแสบเป็นเส้นแบ่งเขต
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับเขตห้วยขวาง มีคลองลาดพร้าวเป็นเส้นแบ่งเขต
[แก้] ที่มาของชื่อเขต
พื้นที่เขตวังทองหลางในอดีตเป็นส่วนหนึ่งของ ทุ่งบางกะปิ ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวพระนคร ห่างออกไปประมาณ 16 กิโลเมตร ในสมัยนั้น บริเวณนี้เป็นพื้นที่ชานเมือง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นทุ่งนาเวิ้งว้าง แต่มีความอุดมสมบูรณ์และมีต้นทองหลางขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเรียกทุ่งบางกะปิแถบนี้ว่า วังทองหลาง
[แก้] ประวัติศาสตร์
เดิมเขตวังทองหลางมีฐานะเป็น ตำบลวังทองหลาง ขึ้นอยู่กับอำเภอบางกะปิ จังหวัดพระนคร ต่อมาได้มีการยุบรวมจังหวัดธนบุรีและจังหวัดพระนคร เปลี่ยนฐานะเป็นนครหลวงกรุงเทพธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ซึ่งได้เปลี่ยนการเรียกเขตการปกครองใหม่ด้วย ตำบลวังทองหลางจึงได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะเป็น แขวงวังทองหลาง และอยู่ในเขตการปกครองของสำนักงานเขตบางกะปิ
จนกระทั่งในวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2540 กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศเปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตการปกครองใหม่ โดยรวมพื้นที่แขวงวังทองหลาง พื้นที่บางส่วนของแขวงคลองจั่น (เขตบางกะปิ) และพื้นที่บางส่วนของแขวงลาดพร้าว (เขตลาดพร้าว) มาจัดตั้งเป็น เขตวังทองหลาง เพื่อประโยชน์แก่การปกครอง การให้บริการของรัฐ และความสะดวกของประชาชน โดยสำนักงานเขตวังทองหลางเปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2540 พร้อมกับอีก 5 สำนักงานเขตแยกใหม่ทางฝั่งพระนคร ได้แก่ เขตหลักสี่ เขตสายไหม เขตคันนายาว เขตสะพานสูง และเขตคลองสามวา
ต่อมาในวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2545 กระทรวงมหาดไทยได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่เขตลาดพร้าวและเขตวังทองหลาง โดยแบ่งพื้นที่เขตวังทองหลางเฉพาะที่อยู่ฟากเหนือของซอยสังคมสงเคราะห์ (แยกถนนโชคชัย 4) ไปรวมอยู่กับเขตลาดพร้าวแทน
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
เขตวังทองหลางมีเขตการปกครองย่อยเพียง 1 แขวง (khwaeng) คือ แขวงวังทองหลาง (Wang Thonglang)
[แก้] สถานที่สำคัญ
- พิพิธภัณฑ์เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
- สวนสาธารณะวังทอง
- โกลเด้น เพลซ
- ห้างอิมพีเรียล เวิร์ลด ลาดพร้าว
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
เขตวังทองหลาง เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เขตวังทองหลาง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |
ฝั่งธนบุรี | คลองสาน · จอมทอง · ตลิ่งชัน · ทวีวัฒนา · ทุ่งครุ · ธนบุรี · บางกอกน้อย · บางกอกใหญ่ · บางขุนเทียน · บางแค · บางบอน · บางพลัด · ภาษีเจริญ · ราษฎร์บูรณะ · หนองแขม |
ฝั่งพระนคร | คลองเตย · คลองสามวา · คันนายาว · จตุจักร · ดอนเมือง · ดินแดง · ดุสิต · บางกะปิ · บางเขน · บางคอแหลม · บางซื่อ · บางนา · บางรัก · บึงกุ่ม · ปทุมวัน · ประเวศ · ป้อมปราบศัตรูพ่าย · พญาไท · พระโขนง · พระนคร · มีนบุรี · ยานนาวา · ราชเทวี · ลาดกระบัง · ลาดพร้าว · วังทองหลาง · วัฒนา · สวนหลวง · สะพานสูง · สัมพันธวงศ์ · สาทร · สายไหม · หนองจอก · หลักสี่ · ห้วยขวาง |