เครื่องพิมพ์ดีด
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เครื่องพิมพ์ดีด เป็นเครื่องกลที่มนุษย์ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อใช้แทนการเขียนด้วยมือ ทำให้เกิดความสะดวกในการอ่าน และการเผยแพร่ มีลักษณะเป็นแป้นพิมพ์ แล้วใช้คานกระแทกลงบนผ้าคาร์บอน ทับลงบนกระดาษอีกที่หนึ่ง ปัจจุบัน พัฒนาเป็นเครื่องพิมพ์ดีดไฟฟ้า สามารถพิมพ์ตัวหนังสือได้มากขึ้น และออกแรงกดน้อยลง
เครื่องพิมพ์ดีดเครื่องแรกเป็นแบบภาษาอังกฤษสร้างโดยวิศวกรชื่อเฮนรี่ มิล ณ ประเทศอังกฤษ จดทะเบียนสิทธิบัตรเมื่อ พ.ศ. 2237
[แก้] ในประเทศไทย
นายเอดวิน แมคฟาร์แลนด์ เลขานุการส่วนพระองค์ของสมเด็จพระยาดำรง ราชานุภาพ ดัดแปลงเครื่องพิมพ์ดีดภาษาอังกฤษเป็นเครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทย แต่เนื่องจากภาษาไทยมีสระและวรรณยุกต์มาก จึงต้องใช้เครื่องพิมพ์ดีดที่มีแป้นมากกว่าชนิดอื่น คือยี่ห้อ สมิทฟรีเมียร์ เมื่อ พ.ศ. 2438ต่อมา หมอยอร์ช บี แมคฟาร์แลนด์ (พระอาจวิทยาคม) ได้ปรึกษาและทำการค้นคว้ากับพนักงานบริษัท 2 คนคือ นายสวัสดิ์ มากประยูร และนายสุวรรณประเสริฐ เกษมณี (กิมเฮง) ใช้เวลา 7 ปีก็วางแป้นอักษรใหม่สำเร็จ ใน พ.ศ. 2474 สามารถพิมพ์ได้ถนัดที่สุดและรวดเร็วที่สุด ให้ชื่อว่าแบบ "เกษมณี" และใช้มาจนถึงปัจจุบันนี้ ต่อมามีการศึกษาพบว่า เครื่องพิมพ์ดีดแบบเกษมณียังมีข้อบกพร่อง และได้มีการคิดวางแป้นอักษรใหม่ ใช้ชื่อว่า "ปัตตะโชติ" ซึ่งสภาวิจัยแห่งชาติตรวจสอบแล้วว่าสามารถพิมพ์ได้เร็วกว่าแบบเดิมประมาณ 25.8%
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- The Classic Typewriter Page
- Barbara Blackburn, the World's Fastest Typist
- Museum of Typewriters and Calculators at the Finnish Business College
- The Boston Typewriter Orchestra
- เครื่องพิมพ์ดีดไทยรุ่นแรก
![]() |
เครื่องพิมพ์ดีด เป็นบทความเกี่ยวกับ เทคโนโลยี หรือ สิ่งประดิษฐ์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่องพิมพ์ดีด ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |