เบอร์ลินตะวันตก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เบอร์ลินตะวันตก เป็นชื่อเรียกของฝั่งตะวันตกของเมืองเบอร์ลิน ในช่วงปี ค.ศ. 1949 ถึง ปี ค.ศ. 1990. เมืองนี้ถูกปกครองโดยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และประเทศฝรั่งเศส ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1945. ส่วนฝั่งตะวันออกของเมืองหรือเบอร์ลินตะวันออก ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันออก ถูกปกครองโดยสหภาพโซเวียต. รอบ ๆ เบอร์ลินตะวันตกนั้นถูกโอบล้อมด้วยพื้นที่เยอรมนีตะวันออกทั้งหมด
แม้เบอร์ลินตะวันตกจะเป็นส่วนหนึ่งของเยอรมนีตะวันตกอย่างไม่เป็นทางการ แต่ก็ไม่ได้เป็นหรือเป็นส่วนหนึ่งของ Bundesland. เมืองนี้จึงปกครองตัวเอง โดยกองกำลังทหารที่ควบคุมเขตนี้ มอบอำนาจการปกครองให้กับ นายกเทศมนตรีเบอร์ลินตะวันตก และรัฐบาลเมือง ซึ่งมีที่ทำการอยู่ที่ ศาลากลางเชินเนอแบร์ก
ในวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 สหภาพโซเวียตได้สร้างกำแพงเบอร์ลินขึ้น เพื่อปิดกั้นการเดินทางระหว่างเบอร์ลินตะวันตกและเบอร์ลินตะวันออก
เบอร์ลินตะวันตกประกอบด้วยเขตต่าง ๆ ดังต่อไปนี้:
เขตควบคุมของฝรั่งเศส (ด้านเหนือของเมือง)
- ไรนิกเคนดอร์ฟ (Reinickendorf)
- เวดดิ้ง (Wedding)
เขตควบคุมของสหราชอาณาจักร (บริเวณกลางเมือง)
- ชาล็อตเทนบวร์ก (Charlottenburg)
- เทียร์การ์เทน (Tiergarten) – เทียร์การ์เทน สวนสาธารณะใหญ่ของเมือง อยู่ที่เขตนี้
- วิลเมอร์ดอร์ฟ (Wilmersdorf)
- ชปันเดา (Spandau)
เขตควบคุมของสหรัฐอเมริกา (ด้านใต้ของเมือง)
- นอยเคิล์น (Neukölln)
- ครอยซ์แบร์ก (Kreuzberg)
- เชินเนอแบร์ก (Schöneberg) – ศาลากลางเชินเนอแบร์กอยู่ที่เขตนี้
- ชเตกลิทซ์ (Steglitz)
- เทมเปิลโฮฟ (Tempelhof) – สนามบินเทมเปิลโฮฟอยู่ที่เขตนี้
- เซเลนดอร์ฟ (Zehlendorf)
[แก้] ดูเพิ่ม
- เบอร์ลิน
- เบอร์ลินตะวันออก
- เยอรมนีตะวันตก
- เยอรมนีตะวันออก
- ประเทศเยอรมนี