แกรไฟต์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
แกร์ไฟต์ (Graphite) | |
---|---|
ทั่วไป | |
ชนิด | แร่ธรรมชาติ |
ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข | คาร์บอน, C, 6 |
การแยกแยะ | |
สี | ดำเหมือนเหล็กกล้า - เทา |
โครงสร้างผลึก | สามเหลี่ยม |
การแตก | เป็นแผ่น |
ความแข็ง ตามมาตราส่วน | 1 - 2 |
ความแวววาว | ลักษณะโลหะ, หยาบ |
ดัชนีการหักเห | ไม่โปร่งใส |
คุณสมบัติของผลึกที่มีสีต่างกันเมื่อมองจากทิศต่างกัน | ไม่มี |
ริ้วลาย | ดำ |
ความหนาแน่น | 2.09–2.23 ก./ซม.³ |
ลักษณะที่หลอมเหลวได้ | ? |
ลักษณะการละลาย | Molten Ni |
ชนิดอื่นๆ | |
เพชร | รูปแบบที่ต่างกันของธาตุหนึ่งของคาร์บอน |
แกรไฟต์ (อังกฤษ: Graphite) เป็นอัญรูปหนึ่งของธาตุคาร์บอน ชื่อสามัญเรียกว่า พลัมเบโก (plumbago) หรือแร่ดินสอดำ มีลักษณะเป็นของแข็ง มีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง ๆ ทึบแสง อ่อนนุ่ม สีเทาเข้มถึงดำ เนื้ออ่อน เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี มักใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ น้ำมันหล่อลื่นบางชนิด ไส้ถ่านไฟฉาย ไส้ไฟอาร์ก ใช้เป็นตัวลดความเร็ว ช่วยควบคุมจำนวนอนุภาคนิวตรอนในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์
ชื่อ แกรไฟต์ หรือ Graphite ในภาษาอังกฤษนั้น ตั้งโดย Abraham Gottlob Werner ในปี ค.ศ. 1789 โดยมาจากภาษากรีกว่า γραφειν หมายถึง "เพื่อวาด/เขียน" ซึ่งตั้งตามการใช้แกรไฟต์ในดินสอ
แกรไฟต์ เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ แกรไฟต์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |