ชาวซาไก
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ซาไก เป็นมนุษย์โบราณอาจจะที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคหิน ประมาณ 1,500– 10,000 ปีมาแล้ว รูปร่างเตี้ยมีผิวดำ ฝีปากหนา ท้องป่อง น่องสั้นเรียว ผมหยิกเป็นก้นหอยติดศีรษะ ชาติพันธุ์นิกรอยด์ หรือเนกริโต ตระกูลออสโตร-เอเชียติก อยู่กระจายกันเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ราว 7-60 คน ในรัฐเกดะห์ มาเลเซีย ในส่วนลึกของนิวกินี ฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอันดามัน เรียกตนเองว่า “มันนิ” ส่วนผู้อื่นเรียกว่า เงาะ เงาะป่า ชาวป่า ซาแก หรือ โอรัง อัสลี (Orang Asli)
- สำหรับในภาคใต้ของประเทศไทยมีซาไกอยู่สี่กลุ่มรวมประมาณ 200 คน คือ
- ซาไกกันซิว อยู่ในอำเภอธารโต จังหวัดยะลา
- ซาไกยะฮาย อยู่ในอำเภอแว้ง จังหวัดนราธิวาส
- ซาไกแตะเดะหรือเยแด อยู่ บริเวณภูเขาสันกาลาคีรีแถบจังหวัดยะลาและอำเภอระแงะ จังหวัดนราธิวาส
- ซาไกแต็นเอ็น อยู่บริเวณเขาบรรทัดแถบคลองตง คลองหินแดง บ้านเจ้าพระและถ้ำเขาเขียด อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง(ประมาณ 100 คน) จังหวัดพัทลุงและจังหวัดสตูล
กลุ่มชนชาวซาไกกินเผือกมัน กล้วยป่า มะละกอ และสัตว์ป่า จับสัตว์น้ำด้วยมือเปล่าหรือเบ็ด พืชผักผลไม้ โดยมักไม่เพาะปลูกเลี้ยงสัตว์ อาศัยสมุนไพรจากป่าเป็นยารักษาโรค ใช้ไม้ซางลูกดอกอาบยาพิษเป็นอาวุธ
กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แยกตามตระกูลภาษา | ||
---|---|---|
ออสโตรเอเชียติก | กูย (ส่วย) · ขมุ · ข่าพร้าว · เขมร · ชาวบน · ชอง · ซาไก (เซนอย ชาวป่า) · เซมัง (เงาะ เงาะป่า) · ลัวะ (ถิ่น) · ปะหล่อง · มอญ · มลาบรี (ผีตองเหลือง) · ละว้า · โส้ | |
ไท-กะได | ไทใหญ่ (ฉาน เงี้ยว) · ไทลื้อ · ไทขึน (ไทเขิน) · ไทยอง · ไทยวน · ไทดำ (ลาวโซ่ง) · ไทย ·ผู้ไท (ญ้อ, โย้ย) · พวน · ลาว · ลาวแง้ว · แสก · ลาวครั่ง | |
จีน-ทิเบต | ไทยเชื้อสายจีน (จีนโพ้นทะเล) · จีนฮ่อ · กะเหรี่ยง · ลีซอ · มูเซอ · อาข่า (อีก้อ) | |
ออสโตรเนเชียน | มอเก็น (ชาวเล) · อุรักลาโว้ย · จาม · มลายู (มาเลย์) | |
ม้ง-เมี่ยน | ม้ง (แม้ว) · เมี่ยน (เย้า) | |
แก้ |