ชาวชอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ชาวชอง เป็นชนเผ่าโบราณอีกเผ่าหนึ่งในกลุ่มชาติพันธุ์ ออสโตร-เอเชียติก ตระกูล มอญ- เขมร มีภาษาพูดของตนเองแต่ไม่มีภาษาเขียน คือภาษาชอง นับถือศาสนาพุทธ มีวัฒนธรรมประเพณีเป็นเอกลักษณ์ของชนเผ่า ซึ่งอาจมีมาแต่ก่อนสมัยสุโขทัยสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน เช่นการใช้ต้นคลุ้ม มาจักสานสมุก ชนาง เสวียน มีประเพณีผีโรง ผีหิ้ง ทำมาหากินด้วยการหาของป่า ล่าสัตว์ ทำไร่ ทำนา และปลูกต้นกระวาน ซึ่งชาวอินเดียและอาหรับชอบมาก ชาวชองอยู่กันมากแถบเชิงเขารอยต่อกับกัมพูชา เช่นที่บริเวณเขาสอยดาวเหนือ บ้านคลองพลู บ้านกะทิง บ้านตะเคียนทอง บ้านคลองพลู บ้านคลองน้ำเย็นในใกล้น้ำตกกะทิง กิ่งอำเภอเขาคิชฌกูฎ บ้านวังแซม บ้านปิด อำเภอมะขาม จังหวัดจันทบุรี รวมไปถึงชาวชองที่บ้านคลองแสง บ้านด่านชุมพล และบ้านปะเดา อำเภอบ่อไร่ จังหวัดตราดด้วย มีจำนวนทั้งหมดประมาณ 6,000 คน ปัจจุบันชาวชองนี้ได้ปรับตัวเข้ากับวัฒนธรรมใหม่เหมือนกับคนทั่วไป
กลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย แยกตามตระกูลภาษา | ||
---|---|---|
ออสโตรเอเชียติก | กูย (ส่วย) · ขมุ · ข่าพร้าว · เขมร · ชาวบน · ชอง · ซาไก (เซนอย ชาวป่า) · เซมัง (เงาะ เงาะป่า) · ลัวะ (ถิ่น) · ปะหล่อง · มอญ · มลาบรี (ผีตองเหลือง) · ละว้า · โส้ | |
ไท-กะได | ไทใหญ่ (ฉาน เงี้ยว) · ไทลื้อ · ไทขึน (ไทเขิน) · ไทยอง · ไทยวน · ไทดำ (ลาวโซ่ง) · ไทย ·ผู้ไท (ญ้อ, โย้ย) · พวน · ลาว · ลาวแง้ว · แสก · ลาวครั่ง | |
จีน-ทิเบต | ไทยเชื้อสายจีน (จีนโพ้นทะเล) · จีนฮ่อ · กะเหรี่ยง · ลีซอ · มูเซอ · อาข่า (อีก้อ) | |
ออสโตรเนเชียน | มอเก็น (ชาวเล) · อุรักลาโว้ย · จาม · มลายู (มาเลย์) | |
ม้ง-เมี่ยน | ม้ง (แม้ว) · เมี่ยน (เย้า) | |
แก้ |