ชินแซทเทลไลท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน ) | |
![]() |
|
ประเภท | บริษัทมหาชนด้านโทรคมนาคม |
---|---|
ก่อตั้ง | 11 กันยายน 2534 |
สถานที่ตั้ง | กรุงเทพมหานคร, ประเทศไทย |
บุคลากรหลัก | ดำรงค์ เกษมเศรษฐ์(ร.ด.), ประธานกรรมการบริหาร และ กรรมการผู้จัดการ |
อุตสาหกรรม | โทรคมนาคม |
สินค้าหรือผลิตภัณฑ์ | ดาวเทียมโทรคมนาคม และบริการที่เกียวข้อง |
ยอดขาย | 856 ล้านบาท (โดยประมาณ; ในปี 2547) (โดยประมาณ; ในปี 2547) |
พนักงาน | {{{num_employees}}} |
เว็บไซต์ | http://www2.thaicom.net/index-thai.html |
ชินแซทเทลไลท์ (Shin Satellite Public Company Limited) คือหนึ่งในธุรกิจของ บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน), เครือบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย เป็นบริษัทแรกและบริษัทเดียวของประเทศไทยที่เป็นผู้ให้บริการดาวเทียม โดยได้รับสัมปทานจากกระทรวงคมนาคม (ปัจจุบันอำนาจการดูแลสัญญานี้ได้ถูกโอนไปอยู่ภายใต้ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร) ในปี 2534 เพื่อดำเนินการจัดส่งดาวเทียมขึ้นสู่วงโคจร ให้บริการช่องสัญญาณดาวเทียม และบริหารโครงการดาวเทียมไทยคม. ภายใต้ข้อตกลง BTO (Build-Transfer-Operate)
[แก้] เหตุการณ์สำคัญของ ชินแซทเทลไลท์
- 11กันยายน พ.ศ. 2534 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด. (SATTEL) ได้รับสัมปทานธุรกิจดาวเทียมจากกระทรวงคมนาคม (MOTC) เป็นระยะเวลา 30 ปี และเป็นบริษัทแรกของประเทศไทยที่ทำธุรกิจดาวเทียม.
- 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 - ไทยคม 1 ประสบความสำเร็จในการขึ้นสู่วงโคจร
- 18 มกราคม พ.ศ. 2537 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัดได้จดทะเบียนเข้าเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์
- 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 - ไทยคม 2 ประสบความสำเร็จในการขึ้นสู่วงโคจร
- 16 เมษายน พ.ศ. 2540 - ไทยคม 3 ประสบความสำเร็จในการขึ้นสู่วงโคจร
- 2 สิงหาคม พ.ศ. 2542 - บริษัท ชินวัตรแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน ) เปลี่ยนชือใหม่เป็น บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด ( มหาชน )
- 27 กันยายน พ.ศ. 2542 - บริษัทฯ ได้ขายหุ้นสามัญใน Shenington Investemts Pte Ltd. (Shenington) ที่ถือหุ้นอยู่ร้อยละ 100 ให้แก่บริษัท ชินแซทเทลไลท์ จำกัด (มหาชน) ทั้งนี้เพื่อปรับโครงสร้างของกลุ่มบริษัทฯ ให้ชัดเจนยิ่งขึ้น
- พฤศจิกายน 2545 - SATTEL ได้มีการลงนามในสัญญาเงินกู้สำหรับโครงการ iPSTAR จำนวนประมาณ 390 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ โดยลงนามในสัญญาเงินกู้กับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศสหรัฐอเมริกา (US Ex-Im Bank) และองค์การเพื่อการส่งออกแห่งฝรั่งเศส (COFACE) จำนวน 265 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ รวมทั้งได้มีการลงนามกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นำโดยธนาคารซิตี้แบงก์ (Citibank) และธนาคารบีเอ็นพี พาร์ริบาร์ (BNP Paribas) สำหรับวงเงินกู้จำนวน 125 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้โครงการ iPSTAR มีความพร้อมอย่างเต็มที่ในด้านการเงิน
- 11 สิงหาคม 2548 - ไทคม 4 หรือ ไอพีสตาร์ ประสบความสำเร็จในการขึ้นสู่วงโคจร หลังเกิดความล่าช้าถึง 2 ชั่วโมงไปจากเวลาที่กำหนดไว้ เพราะเกิดปัญหาทางด้านเทคนิคขี้นก่อน 15 วินาทีสุดท้าย
[แก้] ความหมายของคำว่า "ไทยคม" (Thaicom)
"ไทยคม" (Thaicom) เป็นชื่อที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานเป็นชื่อของดาวเทียมดวงนี้ ซึ่งมาจากคำว่า "Thai Communications" ในภาษาอังกฤษ
[แก้] รายละเอียดเกี่ยวกับดาวเทียมแต่ละดวง
[แก้] ไทยคม 1A
ไทยคม 1A เป็นดาวเทียมดวงแรกของประเทศไทย, ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2536 สร้างโดย Huges Space Aircraft โคจรบริเวณพิกัดที่ 120 องศาตะวันออก อายุในการทำงานประมาณ 15 ปี
[แก้] ไทยคม 2
ไทคม 2 เป็นดาวเทียมดวงที่ 2 ของประเทศไทย ถูกยิงขึ้นสู่วงโคจรในวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2537 โคจรบริเวณพิกัดที่ 78.5 องศาตะวันออก
[แก้] ไทยคม 3
ไทยคม 3 ประกอบด้วยช่องสัญญาณ C-Band จำนวน 25 ช่องสัญญาณ และ ช่องสัญญาณ Ku-Band จำนวน 14 ช่องสัญญาณ ช่องสัญญาณ Global beam ของไทยคม 3 มีกำลังในการส่งครอบคลุมพื้นที่มากกว่า 4 ทวีป และทำการให้บริการใน เอเชีย, ยุโรป, ออสเตรเลีย, และแอฟริกา ในความถี่ของช่องสัญาณ Ku-Band โดยความถี่ของช่องสัญญาณทั้ง 2 นั้นจะให้บริการทางด้าน สัญญาณรายการโทรทัศน์โดยตรงจากดาวเทียมสู่ผู้ชมตามบ้านเรือน หรือ DTH (Direct To Home) ในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน ไทยคม 3 โคจรบริเวณพิกัดเดียวกับ ไทยคม 2
[แก้] ไทยคม 4 หรือ ไอพีสตาร์
ไทยคม 4 เป็นดาวเทียมดาวแรกที่ออกแบบมาเพื่อการให้บริการทางอินเทอร์เน็ต สร้างโดย Space System/Loral มีอายุการใช้งานประมาณ 14 ปี
[แก้] ไทยคม 5
ไทยคม 5 เป็นดาวเทียมรุ่น Spacebus 3000A โดย Alcatel Alenia Space ประเทศฝรั่งเศส มีพิสัยครอบคลุมถึง 4 ทวีป เป็นดาวเทียมสำหรับการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ตรงถึงที่พักอาศัยหรือที่เรียกว่า Direct-to-Home (DTH) และการถ่ายทอดสัญญาณโทรทัศน์ดิจิตอลความละเอียดสูง (High Definition TV)
[แก้] บริษัทลูก
[แก้] บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) (SET:CSL)
ผู้ให้บริการด้านอินเทอร์เน็ตรายใหญ่ของประเทศไทย บริษัท ซีเอส ล็อกซอินโฟ จำกัด (มหาชน) มีบริษัทในเครือ ได้แก่:
[แก้] บริษัท ชิน บรอดแบนด์ อินเทอร์เน็ต (ประเทศไทย) จำกัด (SBI)
เป็นผู้ให้บริการที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจอินเทอร์เน็ต อาทิ บริการให้เช่าพื้นที่เว็บไซต์ บริการเช่าใช้ เช่าพื้นที่วางอุปกรณ์เซิร์ฟเวอร์ บริการพาณิชย์อิเลคทรอนิกส์ บริการจดชื่อโดเมนเนม และบริการพัฒนาเว็บไซต์
[แก้] บริษัท ซี.เอส. แซทเทลไลท์โฟน จำกัด (CSP)
เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ซี. เอส. คอมมิวนิเคชั่นส์ จำกัด บริษัท สหวิริยา โอเอ จำกัด และ บริษัท จักรวาล คอมมิวนิเคชั่นส์ ซีสเต็มส์ จำกัด ในสัดส่วนการร่วมลงทุนร้อยละ 80, 12 และ 8 ตามลำดับ CSP เป็นผู้ได้รับสิทธิในการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม (Global Mobile Personal Communication via Satellite Services : GMPCS) ของโครงการโทรศัพท์เคลื่อนที่ผ่านดาวเทียม ไอโค (ICO)
[แก้] Shenington Investments Pte. Ltd. (Shenington)
Shenington เป็นบริษัทเพื่อการลงทุนที่จดทะเบียนในประเทศสิงคโปร์ เพื่อลงทุนด้านการสื่อสารโทรคมนาคมในระดับนานาชาติ ซึ่ง SATTEL ได้เข้าซื้อกิจการของ Shenington เมื่อวันที่ 27 กันยายน 2542 ในราคา 50 ล้านบาท ซึ่งมีธุรกิจในเครือคือ บริษัท ลาวโทรคมนาคม จำกัด และ บริษัท กัมพูชา ชินวัตร จำกัด Shenington มีบริษัทในเครือ ได้แก่:
[แก้] บริษัท กัมพูชา ชินวัตร จำกัด (Cambodia Shinawatra Ltd. - CamShin)
CamShin เป็นผู้รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรคมนาคมในประเทศกัมพูชาเป็นเวลา 35 ปี มีกำหนดสิ้นสุดในปี 2571 โดยให้บริการโทรศัพท์มือถือ ภายใต้ระบบ Digital GSM 1800 MHz ทั้งแบบ Postpaid และแบบ Prepaid และบริการโทรศัพท์พื้นฐานภายใต้ระบบ Wireless Local Loop System (WLL)[1] ภายใต้ 2 คลื่นความถี่ คือ 450 MHz และ 1800 MHz ในประเทศกัมพูชา และภายหลัง ได้คลื่นเพิ่มบริการความถี่ 900 รวมถึงบริการโทรศัพท์ระหว่างประเทศ ผ่าน VoIP (Voice over IP)[2]
[แก้] บริษัท ลาว โทรคมนาคม จำกัด (Lao Telecommunications Co., Ltd. - LTC)
LTC เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Shenington กับรัฐบาลของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ในสัดส่วนการถือหุ้นร้อยละ 49 และ 51 ตามลำดับ เพื่อดำเนินกิจการให้บริการสื่อสารโทรคมนาคมแบบครบวงจรในประเทศลาว โดยมีบริการต่างๆประกอบด้วยบริการโทรศัพท์พื้นฐานระบบ Public Switched Telephone Network (PSTN), บริการโทรศพท์เคลื่อนที่ทั้ง Postpaid และ Prepaid ในระบบ GSM 900, International Direct Dialing (IDD), โทรศัพท์สาธารณะ วิทยุติดตามตัว และบริการอินเทอร์เน็ต
[แก้] การขายหุ้นให้เทมาเส็ก
พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร ได้มีการขายหุ้นบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ไปให้กองทุนเทมาเส็ก ซึ่งบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ถือหุ้นชินแซทเทลไลท์ อยู่ด้วย เนื่องจากกฎหมายสัมปทานดาวเทียมระบุว่าสัดส่วการถือหุ้นของชาวต่างชาติต้องไม่เกิน 49% ส่งผลให้ มีการตรวจสอบว่า บริษัท กุหลาบแก้ว จำกัด ถือหุ้นไว้บางส่วนเพื่อเป็นนอมินี หรือไม่ ซึ่งกรมพัฒนาการค้าได้ สรุปแล้วว่า เป็น นอมินีจริงรัฐบาลไทยได้ดำเนินการทวงไทยคมคืนอยู่[ต้องการแหล่งอ้างอิง]