พ.ศ. 2534
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2531 2532 2533 - พ.ศ. 2534 - 2535 2536 2537 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2534 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1991 เป็นปีปกติสุรทินที่วันแรกเป็นวันอังคารตามปฏิทินเกรกอเรียน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี
- พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531-2534)
- นายอานันท์ ปันยารชุน (พ.ศ. 2534-2535)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2534
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มิถุนายน
- 12 มกราคม – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: รัฐสภาแห่งสหรัฐอเมริกาออกรัฐบัญญัติ อนุญาตให้ใช้ปฏิบัติการทางทหารเพื่อขับไล่กองทัพอิรักออกจากประเทศคูเวต
- 17 มกราคม – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: ปฏิบัติการพายุทะเลทรายเริ่มต้นขึ้น
- 22 กุมภาพันธ์ – จอร์จ เอช. ดับเบิลยู. บุช ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ขู่ว่าจะทำสงครามเต็มรูปแบบกับอิรัก หากอิรักไม่ยอมถอนกำลังออกจากคูเวต
- 23 กุมภาพันธ์ – พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ประธานคณะรสช. นำการก่อรัฐประหารในประเทศไทย โค่นล้มรัฐบาลที่พลเอกชาติชาย ชุณหะวัน เป็นนายกรัฐมนตรี
- 28 กุมภาพันธ์ – สงครามอ่าวเปอร์เซีย: จอร์จ บุช ประกาศหยุดยิง หลังอิรักยอมรับข้อเรียกร้อง 12 ข้อขององค์การสหประชาชาติ เป็นการยุติสงครามปลดปล่อยคูเวต ซึ่งกินเวลา 6 สัปดาห์
- 9 มีนาคม – ประชาชนในกรุงเบลเกรดเดินขบวนครั้งใหญ่ เพื่อต่อต้านสโลโบดัน มิโลเชวิช ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 คน
- 9 เมษายน – จอร์เจียประกาศอิสรภาพหลังตกเป็นอาณานิคมของสหภาพโซเวียต
- 21 พฤษภาคม – ราจีฟ คานธี อดีตนายกรัฐมนตรีอินเดีย ถูกลอบสังหารด้วยการระเบิดพลีชีพโดยสตรี
- 13 มิถุนายน – ผู้ชมคนหนึ่งถูกฟ้าผ่าระหว่างชมการแข่งขันกอล์ฟรายการยูเอสโอเพน
- 20 มิถุนายน – รัฐสภาเยอรมนีตัดสินใจย้ายเมืองหลวงจากบอนน์ไปยังเบอร์ลินอีกครั้ง
- 25 มิถุนายน – โครเอเชีย และสโลวีเนีย แยกตัวเป็นเอกราชจากยูโกสลาเวีย
- 27 มิถุนายน – ประเทศสโลวีเนียซึ่งเพิ่งประกาศเอกราชได้เพียงสองวันถูกบุกจู่โจมโดยกองทัพยูโกสลาเวีย
[แก้] กรกฎาคม-ธันวาคม
- 1 กรกฎาคม – สนธิสัญญาวอร์ซอ ยุติลงอย่างเป็นทางการ
- 6 สิงหาคม – ทิม เบอร์เนอร์ส-ลี เผยแพร่แฟ้มที่อธิบายแนวคิดเกี่ยวกับ "เวิลด์ไวด์เว็บ"
- 19 สิงหาคม – ฝ่ายคอมมิวนิสต์พยายามโค่นล้ม มิคาอิล กอร์บาชอฟ ให้ลงจากอำนาจ ในการก่อรัฐประหารที่ประสบความล้มเหลว
- 20 สิงหาคม – เอสโตเนียได้รับเอกราชหลังการปฏิวัติ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเหตุการณ์การล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- 1-15 ตุลาคม – การประชุมของธนาคารโลกและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ ครั้งที่ 46 จัดขึ้น ณ ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
- 29 ตุลาคม – ยานกาลิเลโอผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อยแกสปรา เป็นยานอวกาศลำแรกที่ผ่านใกล้ดาวเคราะห์น้อย
- 12 พฤศจิกายน – ทหารอินโดนีเซียเปิดฉากยิงนักศึกษาผุ้ชุมนุมเรียกร้องแบ่งแยกติมอร์ตะวันออก ในเหตุการณ์การสังหารหมู่ที่ดิลี
- 4 ธันวาคม – สายการบินแพนแอม ยุติการให้บริการ
- 8 ธันวาคม – ผู้นำจากประเทศเบลารุส รัสเซีย และยูเครน หารือกันเพื่อยุบสหภาพโซเวียตและสถาปนาเครือรัฐอิสระ
- 25 ธันวาคม – มิคาอิล กอร์บาชอฟ ลาออกจากการเป็นประธานาธิบดีแห่งสหภาพโซเวียต
- 26 ธันวาคม – สมาชิกรัฐสภาโซเวียตร่วมประชุมกัน และล้มเลิกสหภาพโซเวียตอย่างเป็นทางการ
[แก้] ปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์
- 15 มกราคม – สุริยุปราคาวงแหวน (ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ตอนใต้ของมหาสมุทรแปซิฟิก และบางส่วนของทวีปแอนตาร์กติกา)
- 11 กรกฎาคม – สุริยุปราคาเต็มดวง (ฮาวาย ทวีปอเมริกาเหนือ ทวีปอเมริกาใต้ ตะวันออกของมหาสมุทรแปซิฟิก และตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก)
- 21 ธันวาคม – จันทรุปราคาบางส่วน มองเห็นได้ในประเทศไทย เฉพาะช่วงท้ายของปรากฏการณ์
[แก้] วันเกิด
- 11 มีนาคม - เฉียน หลิน นักร้องหญิงชาวจีน
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 20 เมษายน - ฮิโรยูกิ เอบิฮาร่า อดีตแชมป์โลกชาวญี่ปุ่น
- 21 พฤษภาคม – ราจีฟ คานธี นายกรัฐมนตรีอินเดีย (เกิด 20 สิงหาคม พ.ศ. 2487)
- 8 สิงหาคม – เจมส์ เออร์วิน นักบินอวกาศชาวอเมริกัน (เกิด 17 มีนาคม พ.ศ. 2473)