ธนบัตร 5 บาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ธนบัตร 5 บาท เป็นธนบัตรของสกุลเงินบาท เริ่มออกใช้ในประเทศไทยตั้งแต่ พ.ศ. 2445 ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว
สารบัญ |
[แก้] แบบธนบัตร
- ธนบัตรไทยแบบที่ 1 ราคา 5 บาท ออกใช้เมื่อวันที่ 7 กันยายน พ.ศ. 2445 เป็น ธนบัตรหน้าเดียว ชนิดราคา 5 บาท สีเขียวพื้นเขียวใบไม้ กรอบนอก กรอบเล็ก สีเทา ขนาด 10.5 คูณ 16.5 ซม. [1]
- ธนบัตรไทยแบบที่ 2 ราคา 5 บาท ออกใช้เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2449[2] มีรูปพิธีจรดพระนางคัลแรกนาขวัญอยู่ตรงกลางด้านหลัง
- ธนบัตรไทยแบบที่ 3 ราคา 5 บาท ออกใช้เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2477 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 7 และมีภาพวัดพระแก้วอยู่ตรงกลาง พื้นม่วงลายแสดและเหลือง ขนาด 8.5 คูณ 15.5 ซม.
- ธนบัตรไทยแบบที่ 4 ราคา 5 บาท ออกใช้เมื่อวันที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2482 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของรัชกาลที่ 8 เมื่อสมัยยังทรงพระเยาว์ และมีวัดพระปฐมเจดีย์อยู่ด้านหน้าธนบัตร
- ธนบัตรไทยแบบที่ 5 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมสาทิสลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล รัชกาลที่ 8 และด้านซ้ายเป็นรูปอุโบสถวัดเบญวัดเบญจมบพิตร[3]
- ธนบัตรไทยแบบที่ 7 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ด้านหลังเป็นภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ธนบัตรไทยแบบที่ 8 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 8 ด้านหลังเป็นภาพรัฐธรรมนูญประดิษฐ์เหนือพานแว่นฟ้า อยู่ภายในวงกลมลายเฟื่องและลายเถาวัลย์
- ธนบัตรไทยแบบที่ 9 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านหลังเป็นภาพพระที่นั่งอนันตสมาคม
- ธนบัตรไทยแบบที่ 11 ราคา 5 บาท ด้านหน้าเป็นพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 ด้านหลังเป็นภาพพระที่นั่งอาภรณ์พิโมกข์ปราสาทในพระบรมมหาราชวัง
[แก้] เกร็ด
วันที่ 24 มิถุนายน 2512 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโรงพิมพ์ ผู้ที่ไปร่วมงานจะได้รับธนบัตรชนิด 5 บาท และ 10 บาท เป็นที่ระลึก มีข้อความพิมพ์อยู่ที่หน้าธนบัตรว่า “ที่ระลึกการ เปิดโรงพิมพ์ธนบัตร ธนาคารแห่งประเทศไทย 24 มิถุนายน 2512” [4]
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- ↑ http://www.baanjomyut.com/library/money/02.html
- ↑ http://thaimint.com/banknote1_th.html
- ↑ http://archaeology.thai-archaeology.info/index.php?option=com_content&task=view&id=44&Itemid=0
- ↑ http://www.dailynews.co.th/dailynews/pages/front_th/popup_news/Default.aspx?ColumnId=26954&NewsType=2&Template=1
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
หน่วยเงินในประเทศไทย | |
---|---|
เหรียญ | 1 สตางค์ | 5 สตางค์ | 10 สตางค์ | 25 สตางค์ | 50 สตางค์ | 1 บาท | 2 บาท | 5 บาท | 10 บาท | 20 บาท |
ธนบัตร | 50 สตางค์ | 1 บาท | 5 บาท | 10 บาท | 20 บาท | 50 บาท | 60 บาท | 100 บาท | 500 บาท | 1000 บาท | 500000 บาท |
อื่นๆ | พดด้วง | เบี้ย | โสฬส | อัฐ | เสี้ยว (ไพ) | ซีก | เฟื้อง | สลึง | มายน (มะยง) | บาท | ตำลึง | ชั่ง | หาบ | บัตรธนาคาร 60 บาท |