เหรียญ 1 บาท
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
1 บาท (ประเทศไทย) | |
---|---|
มูลค่า: | 1.00 บาท |
น้ำหนัก: | 3.4 กรัม |
เส้นผ่านศูนย์กลาง: | 20 มม. |
ความหนา: | 1 มม. |
ขอบ: | เฟือง |
ส่วนประกอบ: | คิวโปรนิกเกิล 75% Cu, 25% Ni |
ปีที่ผลิต: | 2529 - ปัจจุบัน |
หมายเลข: | - |
ด้านหน้า | |
ภาพ: | พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช |
ผู้ออกแบบ: | ผู้ออกแบบ (หน้า) : นางสาว สุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ปั้นแบบ (หน้า) : นาง พุทธชาติ อรุณเวช์ |
วันที่ออกแบบ: | |
ด้านหลัง | |
ภาพ: | พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม |
ผู้ออกแบบ: | ผู้ออกแบบ (หลัง) : นางสาว สุภาพ อุ่นอารีย์ ผู้ปั้นแบบ (หลัง) : นาย วุฒิชัย แสงเงิน |
วันที่ออกแบบ: |
เหรียญ 1 บาท เป็นเหรียญของสกุลเงินบาท ที่ใช้ในประเทศไทย เหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาทในชุดปัจจุบันมีด้านหน้าเป็นภาพพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ด้านหลังเป็นภาพของ พระศรีรัตนเจดีย์ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ประกาศออกใช้เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2529
ปีที่ผลิต | จำนวนที่ผลิต (เหรียญ) |
---|---|
2529 | 4,200,000 |
2530 | 329,471,000 |
2531 | 391,442,000 |
2532 | 466,684,000 |
2533 | 409,924,000 |
2534 | 329,946,380 |
2535 | 426,230,000 |
2536 | 235,623,000 |
2537 | 475,200,000 |
2538 | 589,394,650 |
2539 | 98,487,000 |
2540 | 350,660,600 |
2541 | 176,932,000 |
2542 | 224,389,000 |
[แก้] เกร็ด
- ในปี พ.ศ. 2539 กรมธนารักษ์จัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกชนิดราคา 1 บาท เพื่อเฉลิมฉลองพระราชพิธีกาญจนาภิเษก โดยผลิตควบคู่ไปกับเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2539 เนื่องจากจำนวนเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกมีถึง 272,512,000 เหรียญ ซึ่งเป็นปริมาณที่มากกว่าจำนวนเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนในปีเดียวกันหลายเท่า อีกทั้งเหรียญกษาปณ์ที่ระลึกยังได้ถูกนำมาใช้จ่ายทั่วไปในท้องตลาด ทำให้ประชาชนไม่ค่อยพบเห็นเหรียญกษาปณ์หมุนเวียนชนิดราคา 1 บาท พ.ศ. 2539 มากนัก
[แก้] ดูเพิ่ม
หน่วยเงินในประเทศไทย | |
---|---|
เหรียญ | 1 สตางค์ | 5 สตางค์ | 10 สตางค์ | 25 สตางค์ | 50 สตางค์ | 1 บาท | 2 บาท | 5 บาท | 10 บาท | 20 บาท |
ธนบัตร | 50 สตางค์ | 1 บาท | 5 บาท | 10 บาท | 20 บาท | 50 บาท | 60 บาท | 100 บาท | 500 บาท | 1000 บาท | 500000 บาท |
อื่นๆ | พดด้วง | เบี้ย | โสฬส | อัฐ | เสี้ยว (ไพ) | ซีก | เฟื้อง | สลึง | มายน (มะยง) | บาท | ตำลึง | ชั่ง | หาบ | บัตรธนาคาร 60 บาท |