New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
นิกายโปรเตสแทนต์ - วิกิพีเดีย

นิกายโปรเตสแทนต์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้ต้องการเก็บกวาด ตรวจสอบ ปรับปรุง แก้ไขรูปแบบ เพิ่มแหล่งอ้างอิง ใส่หมวดหมู่ หรือภาษาที่ใช้
ส่วนใดส่วนหนึ่งหรือในหลายส่วนด้วยกัน
คุณสามารถช่วยตรวจสอบ และแก้ไขบทความนี้ได้ด้วยการกดที่ปุ่ม แก้ไข ด้านบน
กรุณาเปลี่ยนไปใช้ป้ายข้อความอื่น เพื่อระบุสิ่งที่ต้องการตรวจสอบ หรือแก้ไข
ดูรายละเอียดเพิ่มเติมที่ วิธีแก้ไขหน้าพื้นฐาน คู่มือการเขียน และ นโยบายวิกิพีเดีย ซึ่งสามารถดูตัวอย่างบทความได้ที่ บทความคุณภาพ และเมื่อแก้ไขตามนโยบายแล้ว สามารถนำป้ายนี้ออกได้

ส่วนหนึ่งของ
คริสต์ศาสนา


ประวัติคริสต์ศาสนา
ศาสดา
พระเยซู
ความเชื่อและการปฏิบัติ
เทวดาตามคติความเชื่อ
บุคคลสำคัญ
รอเพิ่มเติม
คัมภีร์และหนังสือ
ไบเบิล
พันธสัญญาเดิม · พันธสัญญาใหม่
นิกาย
โรมันคาทอลิก · ออโธดอกซ์
โปรเตสแทนต์
สังคมคริสต์ศาสนา
เมือง · คริสตกาล · คริสต์ศักราช
สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา
หมวดหมู่คริสต์ศาสนา

นิกายโปรเตสแทนต์ (Protestant) เป็นนิกายหนึ่งในคริสต์ศาสนา

สารบัญ

[แก้] นิกายโปรเตสแตนด์

มีกำเนิดมาจากความคิดเห็นที่แตกแยกกันในเรื่องความเชื่อและชีวิต คริสตชน โดยเรียกพวกที่ไม่ใช่คาทอลิค หรือออร์ธอด็อกซ์ว่า "โปรเตสแตนด์" (Protestant) ซึ่งแปลว่า "ประท้วง", "ผู้คัดค้าน" แยกตัวในปี ค.ศ. 1529 โดยมาร์ติน ลูเธอร์ ชาวเยอรมัน และผู้สนับสนุน ในยุคที่ฝ่ายคาทอลิกเกิดปัญหาขึ้นมากมาย

มาร์ติน ลูเธอร์ (1483-1546) เกิดที่แซกซอน ประเทศเยอรมัน เป็นบุตรคนยากจน แต่มีโอกาสได้ร่ำเรียนได้รับการศึกษาสูงจนจบปริญญาเอก และได้ศึกษาเทวศาสตร์ และได้เป็นครูในมหาวิทยาลัย มีผู้รักใคร่ เชื่อถือ จำนวนมาก ต่อมาลูเธอร์ มีโอกาส เข้าสู่ชีวิตนักบวชและแสวงบุญที่กรุงโรม และตะลึง ที่เห็นว่า สังฆราชมีชีวิตอย่างฟุ้งเฟ้อ เลิศเลอ จนเกินเหตุ จึงเห็นว่าควรมีการเปลี่ยนแปลงทางศาสนา ต่อมาได้ตีความพระคัมภีร์ ไบเบิล และวิพากษ์วิจารณ์ปรัชญาศาสนาของยุคกลาง พระศาสนจักร ซึ่งในขณะนั้นมีการขายใบบุญกันมาก

ความคิดของมาร์ติน ลูเธอร์ ได้รับการสนับสนุนจากมหาชนเยอรมันเป็นจำนวนมาก แล้วแพร่หลาย ออกไปทั่วยุโรป การเคลื่อนไหวดังกล่าว ทำให้พระสันตะปาปา และฝ่ายสังฆราช ไม่พอใจและประกาศบัพพาชนียกรรม (ขับไล่ - Excommunication) มาร์ติน ลูเธอร์ ในปี ค.ศ. 1521

ต่อมาทางฝ่ายสังฆราชบัญญัติกฎที่หาประโยชน์แต่กลุ่มของตนเอง เอาเปรียบหลอกเงินชาวบ้าน ลูเธอร์ จึงเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลาย มาหารือกันว่าจะเปลี่ยนแปลงปรับปรุงอย่างไรดี เรื่องกระทบไปถึงวงการการเมือง เพราะพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 5 แห่งเยอรมนี เกรงว่าความแตกแยกทางศาสนา จะทำให้กลุ่มแตกแยก ทางการเมือง ที่เกิดขึ้นอยู่แล้ว กระเทือนบัลลังก์ของพระองค์ จึงให้เปิดสภาไต่สวน เพื่อเอาผิด ลูเธอร์ ซึ่งปรากฏว่า สภาจับผิด อะไรไม่ได้ แต่ก็ลงเอยด้วยการประกาศให้ลูเธอร์ เป็นคนนอกศาสนาอยู่ดี สุดท้าย ลูเธอร์ แต่งหนังสือบรรยาย ความเห็น แสดงลัทธิใหม่ แปลคัมภีร์ไบเบิลออกมา เป็นถ้อยคำที่ชาวบ้านทั่วไป อ่านแล้วเข้าใจ จึงเป็นที่แพร่หลาย มาจนถึงปัจจุบัน


[แก้] เหตุการณ์ก่อนการปฏิรูป

มีเหตุการณ์หลายประการที่เป็นต้นเหตุเกิดการเปลี่ยนแปลง และปฏิรูปศาสนาคริสต์ครั้งใหญ่ในช่วง ศตวรรษที่ 16

1.สถาบันสันตะปาปาตกอยู่ใต้อำนาจของสถาบันกษัตริย์แห่งประเทศฝรั่งเศสระหว่าง ค.ศ. 1305-1375 ที่เรียกว่า”การคุมขังแห่งบาบิโลเนีย หรืออาวิญอง ทำให้สถาบันฯเสื่อมอำนาจและความศักดิ์สิทธิ์ และเป็นชนวนให้ผู้ใฝ่ในศาสนาดิ้นรนที่จะศึกษาถึงแก่นแท้ของคำสอน เกิดเป็นขบวนการการศึกษาภาษาฮีบรูและกรีกโดยมีศูนย์ที่เมืองฟลอเรนซ์ และมีการค้นคว้าศึกษาวิจัยพระคัมภีร์อย่างมากมายเพื่อให้ได้มาซึ่งสัจจะในคำสอน การได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตัวเองทำให้นักคิดชั้นนำสามารถวิจารณ์โจมตีสถาบันศาสนาได้อย่างเต็มที่

2.การพัฒนาของเทคโนโลยีการพิมพ์ แบบเรียงพิมพ์ทำให้มีการแปลพระคัมภีร์เป็นภาษาต่างๆ และตีพิมพ์อย่างแพร่หลาย ซึ่งทำให้ประชาชนทั่วไปได้มีโอกาสศึกษาพระคัมภีร์ได้ด้วยตัวเอง และไม่จำเป็นต้องเชื่อฟังพระ สังฆราช หรือที่ประชุมสงฆ์ที่จะวินิจฉัยวางหลักการอย่างไรก็ต้องยอม

a.อีราสมัส (Erasmus ค.ศ. 1466-1563) แปลพระคัมภีร์ฉบับกรีกเพื่อเผยแพร่ทั่วไป

b.สังฆราชซิเมเนส (Ximenes) เป็นผู้ควบคุมจัดทำพระคัมภีร์ฉบับสมรวม (The Polyglot Bible)

3.ในช่วงศตวรรษที่ 14 เรื่อยมา มีการดึงอำนาจที่กระจัดกระจายในหมู่ขุนนางศักดินา กลับคืนสู่ราชบัลลังก์ โดยได้รับความเชื่อเหลือของกลุ่มชนใหม่ที่มีภูมิกำเนิดนอกสังคมขุนนางศักดินา คือกลุ่มชนที่มีพลังเศรษฐกิจและมีความรู้ความสามารถอันเป็นผลจากความสำเร็จของครอบครัวทางการค้า หรืออุตสาหกรรม กลายเป็นสังคมรัฐประชาชาติ มีการต่อสู้ช่วงชิงอำนาจทางการเมืองภายในรัฐ ระหว่างรัฐในยุโรปกับสถาบันสันตะปาปา กลุ่มชนใหม่เหล่านี้ให้การสนับสนุนต่อประมุขการเมืองของรัฐปราบปรามบรรดาขุนนางศักดินาภายในรัฐ และต่อต้านสถาบันสันตะปาปาจากภายนอก กลุ่มชนใหม่นี้เรียกว่าชนชั้นกลางซึ่งประกอบด้วยกลุ่มพ่อค้า นักธุรกิจ นายธนาคาร และกลุ่มผู้มีการศึกษา

4.สันตะปาปาในระยะศตวรรษที่ 15-16 ให้ความสำคัญในการประกอบภารกิจทางศาสนาน้อยมาก มีการหมกมุ่นในทางโลกและละเลยหน้าที่รับผิดชอบทางธรรมและพระวินัย มีการขายใบฎีกาไถ่บาป (Sale of Indulgence) และการบูชาอัฐิของนักบุญอย่างงมงาย มีการซื้อขายตำแหน่งพระสมณศักดิ์ มีการอุดหนุนบุคคลในครอบครัวให้ได้รับตำแหน่งสำคัญในศาสนา เช่น พระสันตะปาปาอเลกซานเดอร์ที่ 6 (ค.ศ. 1492-1503) แห่งสกุลเบอร์เจีย พยายามจะสร้างฐานะมั่นคงทางโลก และทรัพย์สินแก่ลูกชายลูกสาวอย่างลับๆ โดยลูกชายคนสำคัญคือ ซีซาเร เบอร์เจีย (ค.ศ. 1476-1507) และให้เมียลับแต่งตัวเป็นชายร่วมขบวนแห่เฉลิมพระเกียรติของพระองค์

5.ในการประชุมคณะสงฆ์สากลแห่งกองสตองซ์(The Constance Council) ค.ศ. 1417 ภายในการนำของจักรพรรดิซิกิสมุนด์(Sigismund ค.ศ. 1410-1437) เปิดเผยหลักฐานที่เชื่อถือได้ว่าเอกสาร”บรรณาการของคอนสแตนติน เป็นเอกสารปลอมที่สถาบันสันตะปาปาจัดทำขึ้นในศตวรรษที่ 8 ทำให้อำนาจของสถาบันศาสนายิ่งเสื่อและสูญเสียความนิยม มีกลุ่มคนเช่น

จอห์น วิคลิฟฟ์(John Wyclyffe ค.ศ. 1320-1384) จอห์น ฮัส (John Huss ค.ศ. 1369-1415) และ เวสเซล (Wessl ค.ศ. 1420-1489)

โจมตีสถาบันศาสนาจากภายในเพื่อรื้อฟื้นให้สถาบันศาสนากลับเป็นผู้เผยแพร่คำสอนที่แท้จริง ซึ่งถึงแม้จะไม่ประสบความสำเร็จ แต่มีผลที่ทำให้คนในยุโรปในศตวรรษที่ 15 กล้าก้าวออกมาจากความงมงายของคำสอนที่แหลกเหลว และเคร่งครัดในยุคกลาง ตลอดจนการทำลายบทบาทของสถาบันทางศาสนา ในฐานะอุปสรรคสำคัญของความก้าวหน้าทางด้านศิลปะวิทยาการ และความคิดที่มีเหตุผล


[แก้] การปฏิรูปศาสนา (The Reformation)

เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 16 และเสร็จสิ้นลงด้วยสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย ค.ศ. 1648 ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กระแสใหญ่ๆคือ

1. การปฏิรูปภายนอกที่แบ่งศาสนาคริสต์ออกเป็น 2 นิกายคือ โรมันคาทอลิค และโปรแตสแตนท์

2. การปฏิรูปภายใน ที่แก้ไขความเสื่อมโทรมของศาสนา และสถาบันสันตะปาปา เพื่อต่อสู้ไม่ให้ชาวยุโรปหันไปนิยมนิกายโปแตสแตนท์ที่เกิดขึ้นใหม่ โดยการปฏิรูปนั้นเริ่มต้นจากหลายๆทาง

[แก้] จุดเริ่มต้นขบวนการปฏิรูปศาสนา

1. ผลงานวิทยานิพนธ์”เทวนคร”(City of God)ของออกัสตินแห่งเมืองฮิปโป ที่เป็นแรงบันดาลใจในหมู่นักปฏิรูป

2. ขบวนการฮัสไซท์ (The Hussites) กลุ่มผู้ติดตามจอห์น ฮัส (John Huss) ชื่อหลักการ Utraquism คือฆราวาสมีสิทธิเช่นเดียวกับสงฆ์ในพิธีรับศิลมหาสนิท ที่จะรับทั้งขนมปังและเหล้า โดยในสมัยนั้นฆราวาสจะรับได้เพียงขนมปังและน้ำเท่านั้น ซึ่งเบื้องหลังคือการกดดันให้สถาบันสันตะปาปา และคณะกรรมาธิการศาสนา(Council Authority)ยอมรับว่าทั้งบรรพชิตและฆราวาสนั้นเท่าเทียมกัน และพระคัมภีร์เท่านั้นที่มีอำนาจสูงสุดในศาสนกิจ โดยภายหลังการปฏิรูปศาสนากลุ่มฮัสไซท์ได้เข้ารวมกับพวกติดตามลูเธอร์

3. ขบวนการลอล์ลาร์ด (The Lollard Movement) ของจอห์น วิคลิฟฟ์(John Wycliffe)ที่เน้นการปรับปรุงศาสนาให้เข้ากับความต้องการของสามัญชน เน้นการเทศนาสั่งสอนมากกว่าการรับศีล ต่อต้านการสารภาพบาป การสวดมนต์ให้แก่ผู้สิ้นชีวิตแล้ว การเดินทางไปจาริกแสวงบุญ การเชื่อเครื่องรางของขลัง และเริ่มการใช้พระคัมภีร์ไบเบิลที่แปลเป็นภาษาพื้นเมือง เพื่อให้ชาวบ้านได้ศึกษาพระคัมภีร์ด้วยตนเองแทนการพึ่งพิงพระที่ใช้พระคัมภีร์ภาษาละติน โดยขบวนการลอล์ลาร์ดนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับการปฏิรูปศาสนาระยะแรกภายใต้มาร์ติน ลูเธอร์

ดังนั้นพบว่าขบวนการปฏิรูปศาสนานั้นได้มีการเริ่มมาจากความไม่พอใจของสงฆ์ที่มีธรรมะ และสามัญชนที่ผิดหวังในสถาบันศาสนา ประกอบกับมีการผันแปรทางการเมือง ทัศนคติทำให้ผู้ที่ปรารถนาจะแก้ไขความเสื่อมในศาสนากล้าที่จะประกาศตนออกจากสถาบันศาสนา โดยไม่ต้องหวาดกลัวต่อชะตากรรมแบบ”ลอยแพ”ของสังคมในยุคกลางอีกต่อไป


[แก้] มาร์ติน ลูเธอร์ (Martin Luther 1483-1546)

มาร์ติน ลูเธอร์ เกิดที่เมือง ไอสเลเบน นครแซกโซนี ประเทศเยอรมนีเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน ค.ศ. 1483 บิดามารดาเป็นคนยากจนและไม่ได้รับศึกษา เมื่อเติบโตขึ้นก็ไม่มีเงินจะให้ลูเธอร์เข้าโรงเรียน ลูเธอร์ต้องเที่ยวร้องเพลงขอทานตามบ้านต่างๆ เพื่อหาเงินมาจ่ายค่าเล่าเรียนในโรงเรียน เผอิญมีหญิงมั่งคั่งคนหนึ่งเกิดความเมตตาได้ช่วยเหลือให้เข้าอยู่ในมหาวิทยาลัยเมื่อ ค.ศ. 1500

ลูเธอร์ได้ศึกษาศาสนศาสตร์ วรรณคดี ดนตรี และที่เอาใจใส่มากที่สุดคือกฎหมาย บิดาของลูเธอร์ก็ปรารถนาให้ลูเธอร์เป็นนักกฎหมาย แต่เมื่ออายุ 22 ปีเกิดเหตุการณ์หนึ่งคือเพื่อของลูเธอร์ถูกฆ่าตายในเวลาดวลต่อสู้กับบุคคลหนึ่ง ทำให้ลูเธอร์กลายเป็นคนกลัวผี ขี้ขลาด ต่อมาอีก 2-3 วันลูเธอร์จะเข้าประตูมหาวิทยาลัย ก็เกิดฝนตกฟ้าร้อง ฟ้าผ่ามาใกล้ๆ ลูเธอร์ได้อธิษฐานว่า ถ้ารอดพ้นไปได้จะบวชเป็นพระ

ต่อมาในไม่ช้าในวันที่ 17 มกราคม ค.ศ.1505 ลูเธอร์ก็เข้าไปอยู่ในอารามออกัสติเนียน (Augustinian Monastery) ในมหาวิทยาลัยวิตเตนเบิร์ก ตั้งหน้าศึกษาพระคัมภีร์อย่างเอาใจใส่ เป็นคนเฉลียวฉลาด พูดเก่ง จนในที่สุดก็ได้เป็นอาจารย์ในมหาวิทยาลัยนั้น

ในปี ค.ศ. 1511 ขณะที่ใช้ชีวิตอยู่ในอาราม ลูเธอร์ได้มีโอกาสไปแสวงบุญที่โรม และได้พบเห็นชีวิตของสันตะปาปาโอ่โถง หรูหราจนเกือบไม่มีกษัตริย์องค์ใดสู้ได้ และเห็นว่าพระไม่ควรดำเนินชีวิตอย่างนั้น

จนในปีค.ศ. 1515 สันตะปาปาเลโอที่ 20 อยากจะสร้างโบสถ์ให้งดงามสมตำแหน่งจึงได้ตั้งบัญญัติใหม่ว่า ถึงแม้จะทำความผิดเป็นอุกฉกรรจ์มหันตโทษเพียงไร ก็สามารถล้างบาปได้โดยซื้อใบฎีกาไถ่บาป และบรรดานายธนาคารทั้งหลายในประเทศต่างๆก็ตกลงเป็นเอเยนต์รับฝากเงินที่คนทั้งหลายจะชำระล้างบาปโดยไม่ต้องส่งไปโรม ลูเธอร์ได้เริ่มวิพากษ์วิจารณ์ และเรียกประชุมผู้รู้ทั้งหลายมาปรึกษา โต้เถียงกับบัญญัติใหม่

จนในปีค.ศ. 1917 เดือนตุลาคม [[ลูเธอร์ได้นำประกาศที่เรียกว่า”วิทยานิพนธ์ 95 เรื่อง” (The 95 Theses) ไปปิดไว้ที่ประตู้หน้าโบสถ์เมืองวิตเตนเบิร์ก ซึ่งมีเนื้อหาประณามการขายใบไถ่บาปของสันตะปาปา และการกระทำที่เหลวแหลกอื่นๆ]]

ในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1520 ลูเธอร์ได้รับหมาย”ขับออกจากการเป็นสมาชิกของพระศาสนจักร” (Excommunication) โดยที่ลูเธอร์ต้องออกจากเขตปกครองของจักรพรรดิ ไปหลบที่วอร์มส์พร้อมกับผู้ติดตามอีกจำนวนหนึ่ง ที่นั่นท่านได้แปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนงานเกี่ยวกับพิธีกรรมต่างๆ ซึ่งมีทั้งมิซซาและศีลศักดิ์สิทธิ์(Sacraments) ซึ่งลูเธอร์ตั้งใจที่จะให้ชาวบ้านซึ่งไม่เข้าใจภาษาละติน สามารถเข้าถึงหลักคำสอนและมีส่วนร่วมในพิธีกรรมต่างๆได้


[แก้] ลูเธอร์ได้ตั้งลัทธิลูเธอแรนท์(Lutheranism)

ขึ้นโดยมีหลักความเชื่อดังนี้

1. ผู้ชอบธรรมจะต้องดำรงชีวิตด้วยความเชื่อเท่านั้น(The Just shall live by Faith alone) คือยืนยันว่าชีวิตนิรันดร์และความรอด เป็นรางวัลที่พระเจ้าประทานให้แก่ผู้ที่มีความเชื่อในพระองค์ และการไถ่บาปได้มาจากพระเมตตาของพระเจ้าเท่านั้น ซึ่งเป็นการต่อต้านความเชื่อของสถาบันสันตะปาปา เกี่ยวกับความจำเป็นของพิธีกรรมทางศาสนาเพื่อความรอด และการไถ่บาป

2. ผู้ที่เชื่อทุกคนคือผู้รับใช้พระเจ้า(Priesthood of all Believers) คือการยกเลิกนักบวชในศานาว่าเป็นผู้กุมกรรมสิทธิ์ในการติดต่อกับพระเจ้า ตามการกล่าวอ้างของสถาบันศาสนา แต่เน้นสิทธิของแต่ละบุคคลที่จะสามารถมีความสัมพันธ์โดยตรงกับพระเจ้าได้

3. เชื่อในคำตรัสของพระเยซูในการรับประทานอาหารมื้อสุดท้าย (The Last Supper) ซึ่งเป็นพิธีกรรมที่ถือว่ามีความหมายยิ่งของศาสนาเพราะเป็นการสื่อสัมพันธ์ระหว่างพระเยซูและมนุษย์

4. สิทธิอำนาจสูงสุดมีสิ่งเดียวคือ”พระวจนะของพระเจ้า” (Word of God) นั่นคือพระวจนะที่อยู่ในพระคัมภีร์ไบเบิล, พระวจนะที่ได้ยินจากคำเทศน์บนธรรมมาสน์ และพระวจนะที่อยู่ในพิธีบัพติสมาและศีลมหาสนิท ดังนั้นจึงเป็นการยกเลิกการยอมรับตามสถาบันสันตะปาปาที่ว่าที่มาแห่งสิทธิอำนาจในศาสนาประกอบด้วยพระคัมภีร์ พิธีกรรม และสถาบันศาสนา คือเป็นการประกาศยกเลิกอำนาจของสันตะปาปานั่นเอง

5. เชื่อในพระประสงค์และน้ำพระทัยของพระเจ้า ที่มนุษย์ไม่สามารถเข้าใจพระองค์ ทำให้มนุษย์ไร้ความหมายที่จะกระทำสิ่งใดด้วยใจอิสระของตนเองเพื่อเปลี่ยนแปลงพระประสงค์ และน้ำพระทัยของพระเจ้าได้

โดยข้อคิดทั้งหมดนี้ถือเป็นหลักของ”ศาสนาคริสต์ปฏิรูป” (Reformed Church) ซึ่งประกาศเป็นทางการในปี ค.ศ. 1530 ณ การประชุมที่เมืองออกสเบิร์ก (The Diet of Augsburg) ที่แบ่งแยกผู้ติดตามลูเธอร์เป็นนิกายใหม่แยกจากสถาบันศาสนาที่โรม เอกสารรวมความเชื่อนี้เรียกว่าเอกสาร”การสารภาพแห่งเมืองออกสเบิร์ก” (The Confession of Augsburg) ซึ่งเรียกรวมขบวนการปฏิรูปศาสนาที่แยกตัวจากโรมนี้เรียกว่า พวกโปรแตสแตนท์ (The Protestants)

หลังจากการประท้วงดังกล่าวได้ทำให้เกิดคลื่นกระแสการปฏิรูปศาสนาในยุโรปขยายออกไป เริ่มจากในเยอรมันโดยลูเธอร์ ไปสวิสเซอร์แลนด์โดยอูลริค สวิงกลิ(Ulrich Zwingli 1484-1531), ในฝรั่งเศสโดยจอห์น คาลวิน(John Calvin 1509-1564) และกลายเป็นลัทธิCalvinism ซึ่งแพร่หลายอย่างรวดเร็วไปยังเนเธอแลนด์ เบลเยี่ยม ฮังการี่ สกอตแลนด์ และโปแลนด์ ในประเทศอังกฤษ พระเจ้าเฮนรี่ที่ 8(1509-1547) ซึ่งประสงค์จะหย่าจากพระมเหสีเพื่อจะอภิเษกสมรสกับคนใหม่ เพราะคนเดิมไม่สามารถมีพระโอรสเพื่อสืบราชบัลลังก์ แต่พระสันตะปาปาไม่อนุญาตให้หย่า อังกฤษจึงแยกจากโรมนับแต่นั้นโดยตั้งองค์การขึ้นมาใหม่เรียกว่า”Church of England” ซึ่งพระองค์ทรงดำรงตำแหน่งประมุขเสียเอง ซึ่งลัทธิอังกลิกัน(Anglicanism) นี้ยังคงรักษาหลักสำคัญบางประการของคาธอลิคไว้เพียงแต่ไม่ยอมรับอำนาจการปกครองของสันตะปาปาเท่านั้น


[แก้] ผลของการปฏิรูปศาสนา

1. ทางการเมือง

การปฏิรูปศาสนาได้ทำให้พวกที่ไม่ต้องการระเบียบแบบแผน และพวกที่มีความคิดเห็นรุนแรงทางศาสนาก่อการจลาจลวุ่นวายขึ้นเรียกว่า”กบฏชาวนา”ในปี ค.ศ.1525 ที่โบฮีเมีย มีทั้งกลุ่มอัศวินต่อสู้กับเจ้านายของตน และพวกชาวนาที่ก่อการปฏิวัติต่อเจ้าของที่ดินโดยต่างยื่นข้อเสนอเรียกร้องสิทธิของตน และกำหนดกฎเกณฑ์เอาตามใจชอบ บ้างก็ขอเสรีภาพในการถือศาสนา ดังนั้นลูเธอร์จึงได้ลุกขึ้นมาสอนให้ประชาชนเคารพประมุข และกฎหมายของรัฐ และต่อต้านการจลาจล โดยถือว่าประมุขของรัฐมีอำนาจอันชอบธรรมในสายตาของศาสนา ที่จะดำเนินการเด็ดขาดกับขบวนการเหล่านี้ เพราะฉะนั้นคำสอนของลักธิลูเธอแรนท์ส่งเสริมอำนาจชนชั้นปกครอง

2. ทางศาสนา

เกิดการปฏิรูปศาสนาไปทั่วยุโรปโดยแบ่งออกเป็น

- แยกนิกายเป็น โปรแตสแตนท์และโรมันคาธอลิค - การปฏิรูปภายในนิกายโรมันคาธอลิคเอง เช่นเกิดคณะเยซูอิด(The Jesuits)ที่เน้นการศึกษาวิทยาการใหม่เพื่อปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม, การประชุมแห่งเมืองเทรนต์(Council of Trent 1545-1563) ซึ่งต้องการแก้ไขข้อติดเตียนของขบวนการปฏิรูปศาสนาโปรแตสแตนท์ทั้งหมด แต่ยังเชื่อว่าสิทธิอำนาจมาจากพระคัมภีร์และขนบธรรมเนียมต่างๆที่โบสถ์ ได้รับสืบทอดมาจากเปโตร และยอมรับอำนาจของสันตะปาปาว่ายังมีอยู่ ผลการปฏิรูปนิกายโรมันคาทอลิค ทำให้สามารถป้องการการขยายตัวของความนิยมในนิกายโปรแตสแตนท์อย่างมีประสิทธิภาพ แม้ว่าสันตะปาปาต้องเสียอำนาจในยุโรปไปมาก แต่ก็ยังสามารถรักษาอิทธิพลทางจิตใจเหนือประชากรจำนวนมากของโลกตะวันตกไว้ได้ และสามารถฟื้นฟูความศักดิ์สิทธิของโรมได้จนถึงปัจจุบัน


[แก้] นิกายต่างๆของโปรแตสแตนต์

การกำเนิดของนิกายโปรเตสแตนต์ มีผลสำคัญทั้งทางศาสนา และการเมืองมาก เพราะเป็นการทำลาย การติดต่อเกี่ยวพัน ในระหว่างพวกคริสต์ และทำให้กลุ่มคาทอลิก สังคายนาระเบียบ ของตัวเองให้เรียบร้อยขึ้น ขณะเดียวกันยังทำให้ฝ่ายคาทอลิก ตัดรอนอำนาจของสังฆราชในกรุงโรม ทำให้เกิดรัฐอิสระอีกหลายแห่ง ดังนั้น ในช่วงนี้ จึงเรียกว่าเป็น ช่วงปฏิรูปศาสนาหรือ Reformation การเคลื่อนไหวอย่างต่อเนื่องของกลุ่มเหล่านี้ มีอิทธิพลต่อนิกายเล็กๆ ในภายหลัง โดยกลุ่มที่เป็นตัวเคลื่อนไหวนี้ มีดังนี้คือ

1. นิกายลูเธอรัน ( Luthheran )

ตรงจุดนี้ ได้นำไปสู่การแตกแยกเป็นนิกายใหม่ ในเวลาต่อมา ชีวิตของลูเธอร์ ในระยะนี้ต้องหลบ ตลอดเวลา แต่ก็ทำให้ มีเวลาแปลพันธสัญญาใหม่เป็นภาษาเยอรมัน และได้เขียนเกี่ยวกับ พิธีกรรม รวมทั้งศีลศักดิ์สิทธิ์เป็นภาษาเยอรมัน เพื่อให้ชาวบ้าน และคนทั่วไป สามารถเข้าใจหลักคำสอนและ พิธีกรรม ซึ่งแต่เดิมมาเขียนเป็นภาษาละติน จึงยากแก่การสื่อความหมายให้เข้าถึงได้ จึงรู้ได้เฉพาะ ปัญญาชน นักบวชและ นักศาสนาเท่านั้น

ผลงานของลูเธอร์นี้ ได้สร้างคุณประโยชน์ แก่ผู้ที่ไม่รู้หนังสือละติน ได้มีโอกาสเข้าใจแก่นแท้ ของศาสนาได้ด้วยตนเอง ซึ่งตรงกับจุดประสงค์ของลูเธอร์ ที่ต้องการให้บุคคลสามารถ รับผิดชอบใน ความเชื่อของตน โดยไม่ต้องอาศัยบุคคลที่ 3 เช่น พระหรือนักบวช กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ในศาสนา เป็นเพียง สิ่งเปลือกนอก ที่ไม่สำคัญเท่ากับการที่บุคคลนั้นได้เผชิญหน้า ต่อพระพักตร์พระเจ้า ด้วยตนเอง นิกายนี้ จึงได้ตัดประเพณี พิธีกรรม ตลอดจนศีลศักดิ์สิทธิ์บางเรื่องออกไปเหลือแต่ศีลล้างบาป และศีลมหาสนิท และสนับสนุนให้บุคคลเอาใจใส่ต่อพระคัมภีร์ ซึ่งเชื่อว่าเป็นพระวจนะของพระเจ้า ที่ทำให้มนุษย์ เข้าถึง ความรอด ส่วนบุคคลภายในโบสถ์ของโปรเตสแตนต์ จึงไม่มีรูปเคารพ และศิลปกรรมที่ตกแต่ง ดังเช่น โบสถ์คาทอลิค บนแท่นบูชามีเพียงพระคัมภีร์เท่านั้น ที่เป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า ส่วนอื่น ๆ ที่นอกเหนือไปจากนี้เป็นเพียง เปลือกนอกที่มาจากตัณหาของมนุษย์ และทำให้เราเกิดความยึดถือ ยึดติด ไม่สามารถเข้าถึงพระเจ้าได้

2. กลุ่มคริสตจักรฟื้นฟู ( Reformed Christianity )

2.1 อูลริช สวิงลี ( Ulrich Zwingli ) เกิดที่สวิสเซอร์แลนด์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1848 - 1531 ได้รับแนวความคิดจากลูเธอร์ และปรัชญามนุษยนิยม อูลริชไม่เห็นด้วย กับความคิดที่ว่า พิธีล้างบาป และพิธีศีลมหาสนิท เป็นศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นเพียงความเชื่อภายนอก เท่านั้น หาใช่ความเชื่อในพระเจ้า อย่างแท้จริง เพราะพิธีล้างบาป ก็คือการปฏิญาณตน และ พิธีศีล มหาสนิท ก็คือการระลึกถึงวันเลี้ยง มื้อสุดท้ายของพระเยซูเท่านั้น พิธีเหล่านี้ ไม่ใช่พิธีที่มีความศักดิ์สิทธิ์ ในตัวของมันเอง ดังที่เชื่อกัน ในสมัยนั้น จนทำให้คนส่วนมากละเลยที่จะศึกษา พระวจนะเขาได้ปรับ พิธีกรรมให้เรียบง่าย และเน้นที่ แก่นแท้ของคำสอน

2.2 นิกายคาลวิน ( Calvinism ) ผู้ริเริ่มและบุกเบิกนิกายนี้ คือ จอห์น คาลวิน หรือคาลแวง เป็นชาว ฝรั่งเศส ได้รับการศึกษาที่ มหาวิทยาลัยปารีส ต่อมาได้สนใจ แนวคิดทางศาสนาของลูเธอร์และสวิงลี จึงได้รับคำสอนเหล่านั้นมาปรับปรุง คำสอนของเขาแพร่หลายเข้าไปถึงประเทศอังกฤษ ซึ่งเรียกว่า เปรสไบทีเรียน

คาลวินมีอิทธิพลในกรุงเจนีวา เขาถูกเชิญไปที่นั่นหลายครั้ง จนกระทั่ง ได้อาศัยอยู่ที่เจนีวา จนสิ้นใจ ในปี 1564 ผลงานที่สำคัญ คือ หนังสือศาสนา ที่ต่อมาได้กลายเป็นหลัก เทวศาสตร์ ของโปรเตสแตนต์ ชื่อ "สถาบันทางศาสนาคริสต์" (The Institutes of the Christian Religion) แต่เดิมเขียนเป็นภาษาละติน แต่ถูกแปลเป็นภาษาฝรั่งเศส ในเวลาต่อมา และถูกพิมพ์ถึง4 ครั้ง ในช่วงที่คาลวินมีชีวิตอยู่ หนังสือเล่มนี้ ช่วยให้เราสามารถเข้าใจ ศรัทธาของชาวคริสต์ คำสอนของ ออกัสติน (Augustin) อีกทั้งทำให้เราเข้าใจ อำนาจของพระเจ้า เข้าใจในเรื่องบาปกำเนิด และชะตาที่ถูกลิขิตโดยพระเจ้า นอกจากนี้ คาลวินได้ก่อตั้ง มหาวิทยาลัยเจนีวา และทำให้กรุงเจนีวา เป็นศูนย์นัดพบของชาวโปรเตสแตนต์ทั่วยุโรป

3. นิกายเชิร์ช ออฟ อิงแลนด์ (Church of England)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า "แองกลิคัน" มีกำเนิดในประเทศอังกฤษ โดยมีสาเหตุมาจากพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ต้องการให้พระสันตะปาปา ที่กรุงโรมอนุญาตให้หย่าร้าง และอภิเษกสมรสใหม่ แต่ได้รับการปฏิเสธจาก พระสันตะปาปา จึงไม่พอพระทัย ประกาศตั้งนิกายใหม่ที่เรียกว่า เชิร์ช ออฟอิงแลนด์ ไม่ขึ้นต่อกรุงโรม และทรงแต่งตั้ง โธมัส แคลนเมอร์ เป็นอาร์คบิชอป แห่งแคนเทอเบอรี่

4. กลุ่มคณะเพ็นเทคอส (Pentecoste)

ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้รับอิทธิพลคำสอนของกลุ่ม ขบวนการชีวิตที่บริสุทธิ์ (Holiness Movement) แล้วนำ มาสอนในโรงเรียน ให้มีการรับบัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ มีพระคัมภีร์ เป็นมาตรฐานของความเชื่อ และ การดำเนินชีวิต แต่จะเน้นหนักในเรื่องของพระวิญญาณบริสุทธิ์ ของประทาน และการอัศจรรย์ ให้ความสำคัญ เรื่อง ของนิมิต คำพยากรณ์และการทรงสำแดงของพระเจ้า เน้นให้พระวิญญาณทรงนำ เพราะฉะนั้น แม้จะมีระเบียบ การนมัสการ แต่ก็ไม่ได้ยึดถืออย่างเคร่งครัด ให้เป็นอิสระภายใต้การนำ ของพระวิญญาณบริสุทธิ์

5. กลุ่มคณะแบ๊บติสต์ (Baptist)

เริ่มมาจาก กลุ่มหนึ่งของพิวริตินในอังกฤษ ที่แยกตัวจากคริสตจักรแห่งอังกฤษ ต่อมาได้ขยายไปยัง ประเทศ เนเธอร์แลนด์ และสหรัฐอเมริกา เน้นว่าความรอดเป็นของส่วนบุคคล จึงควรให้บัพติศมา แก่ผู้ที่สามารถ ตัดสินใจ ด้วยตนเองได้เท่านั้น เพราะฉะนั้น จึงไม่เห็นด้วยกับการให้บัพติศมาแก่เด็ก ต้องเป็นแบบจุ่มทั้งตัวลงไป โดยอ้าง จากรากภาษาเดิมของคำว่า แบ๊บติสต์ คือ การฝังลงไป เป็นเครื่องหมายของ การฝังชีวิตเก่าขึ้นจากน้ำ หมายถึง การเป็นขึ้นมาใหม่ มีพระคัมภีร์เป็นมาตรฐานความเชื่อ และการดำเนินชีวิต ให้ความสำคัญด้านสัมพันธภาพสมาชิก

6. กลุ่มคณะเพรสไบทีเรียน (Presbyterian)

ก่อตั้งในช่วงปี 1530 โดยจอห์น คาลแวง เป็นนิกายที่แยกย่อยมาจาก โปรเตสแตนต์ มุ่งหวังให้จัดวงการสงฆ์ ให้เป็นระเบียบแบบแผน ความเชื่อของนิกายนี้คือถือศรัทธาเป็นใหญ่ ถือว่าพระพรของพระเจ้า เปลื้องทุกข์ให้มนุษย์ มาถึงโดยตรงต่อผู้มีศรัทธา ไม่ใช่มาจากพระผู้ทำพิธี เป็นเพียงผู้ทำตามระเบียบปกครอง ของคณะที่มีอยู่เท่านั้น

7. กลุ่มคณะเมธอดิสต์ (Methodism)

เกิดขึ้นโดยจอห์น เวสลีย์ ( John Wesley : ค.ศ. 1703 - 1791) เป็นชาวอังกฤษ ที่มีจุดประสงค์ ต้องการให้ ผู้นับถือพระเจ้า มีอิสรภาพมากขึ้น สามารถปฏิบัติศาสนา ไปตามหลักของเหตุผลให้เหมาะแก่ชีวิตของตน

8. กลุ่มเควกเกอร์ (Quaker) หรือสมาคมมิตรภาพ (Society of Friends)

เกิดในอังกฤษ โดยยอร์ช ฟอกซ์ ( George Fox : 1624 - 1691) แต่แพร่หลายในอเมริกาโดย วิลเลี่ยม เพน (William Penn : 1644-1718) โดยเฉพาะในรัฐเพนซิลเวเนีย (Pennsylvania) เป็นดินแดนแห่งแรก ที่เพนได้มา ตั้งรกราก และทำการเผยแพร่ศาสนา นิกายนี้ ต้องการรื้อฟื้นศาสนาคริสต์ แบบดั้งเดิม จึงเน้นประสบการณ์ตรง ในการเข้าถึงพระเจ้า โดยใช้แสงสว่างที่เกิดขึ้นภายใน (Inner Light)

9. กลุ่มเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (Seven Day Adventists)

เป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดของกลุ่มแอดแวนติสต์ กลุ่มนี้ เน้นวันสุดท้ายของโลก และการเสด็จมาของพระคริสต์ ในวันพิพากษาโลก เพื่อทำให้บริสุทธิ์อีกครั้ง ผู้นับถือมีทั่วโลก โดยเฉพาะในประเทศไทยนั้น กลุ่มนี้ได้ส่ง ศาสนทูตเข้ามาเป็นครั้งแรกในปี 1918

นอกจากนี้ ยังมีลัทธิต่างๆอีกมากมาย โดยมีรายละเอียดความเชื่อแตกต่างกันไป ได้แก่ พยานพระยะโฮวาห์ (Jehovah's Witnesses), มอร์มอน (Mormon), ลัทธิมูนนี่, โยเร (Joreh), ฯลฯ

      • ข้อมูลบางส่วนจากเว็บไซต์คริสตจักรอิมมานูเอล

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu