จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปฏิทินสุริยคติไทย คือปฏิทินที่ประเทศไทยใช้กันอยู่ในปัจจุบัน. การนับวันและเดือนนั้น ตรงกับปฏิทินเกรกอเรียน ใช้ชื่อวันและชื่อเดือนแบบไทย ส่วนการนับปีนั้น ใช้พุทธศักราช. (พ.ศ.)
การปรับพุทธศักราชเป็นคริสตศักราช ทำได้โดยนำปีพุทธศักราช ลบออกด้วย 543 ตัวอย่างเช่น ปีพ.ศ. 2549 จะตรงกับ ปีค.ศ. 2006 นั่นเอง (กฏนี้เป็นที่จดจำของคนไทยมาตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2484 ดูประวัติด้านล่าง)
ก่อนหน้าที่จะเปลี่ยนมาใช้ปฏิทินแบบสุริยคตินี้ ไทยเคยใช้ปฏิทินแบบจันทรคติมาก่อน จนถึง พ.ศ. 2431 ได้เปลี่ยนมาใช้ปฏิทินสุริยคติไทย
[แก้] ประวัติ
เราสามารถสรุปการเปลี่ยนแปลงปฏิทินไทยได้ดังนี้
- ตราบจนปัจจุบัน ก็คงใช้วันที่ 1 มกราคมของทุกปีเป็นวันขึ้นปีใหม่อย่างเป็นทางการเหมือนสากล และวันที่ 13-15 เมษายนเป็นวันสงกรานต์ซึ่งยังคงเป็นวันขึ้นปีใหม่ตามประเพณีโบราณ และมีการเฉลิมฉลองที่ต่างกันไป แต่ในทางพระพุทธศาสนายังคงยึดถือการนับวันแบบปฏิทินแบบจันทรคติ
[แก้] เดือน
ชื่อไทย |
คำอ่าน |
รากศัพท์ |
มกราคม |
มะ-กะ-รา-คม; มก-กะ-รา-คม |
มกร + อาคม (ม.ค.) |
กุมภาพันธ์ |
กุม-พา-พัน |
กุมภ + อาพันธ์ (ก.พ.) |
มีนาคม |
มี-นา-คม |
มีน + อาคม (มี.ค.) |
เมษายน |
เม-สา-ยน |
มษ + อายน (เม.ย.) |
พฤษภาคม |
พรึด-สะ-พา-คม |
พฤษภ + อาคม (พ.ค.) |
มิถุนายน |
มิ-ถุ-นา-ยน |
มิถุน + อายน (มิ.ย.) |
กรกฎาคม |
กะ-ระ-กะ-ดา-คม |
กรกฎ + อาคม (ก.ค.) |
สิงหาคม |
สิง-หา-คม |
สิงห + อาคม (ส.ค.) |
กันยายน |
กัน-ยา-ยน |
กันย + อาคม (ก.ย.) |
ตุลาคม |
ตุ-ลา-คม |
ตุล + อาคม (ต.ค.) |
พฤศจิกายน |
พรึด-สะ-จิ-กา-ยน |
พฤศจิก (พิจิก) + อาคม (พ.ย.) |
ธันวาคม |
ทัน-วา-คม |
ธนู + อาคม (ธ.ค.) |
[แก้] ดูเพิ่ม
|
ปฏิทินสุริยคติไทย เป็นบทความเกี่ยวกับ ปี เดือน วัน ศตวรรษ หรือช่วงเวลาต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ปฏิทินสุริยคติไทย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |
th:พุทธศักราช