พุทธธรรม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
พุทธธรรม หรือ พระธรรม หมายถึง ธรรม ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงค้นพบและนำออกเผยแผ่ หรือคำสอนของพระพุทธเจ้า เกี่ยวกับความจริงตามธรรมชาติของทุกข์และวิธีการดับทุกข์ พุทธธรรม ของพระพุทธเจ้านั้นแต่เริ่มสืบทอดกันด้วยวิธีท่องจำแบบปากต่อปาก สมัยต่อมาจึงได้มีการบันทึกไว้เป็นตัวอักษร คัมภีร์ที่บันทึกพุทธธรรมนั้น เรียกว่า พระไตรปิฎก และมีคำอธิบาย จัดไว้เป็นหมวดคัมภีร์ เรียกชื่อต่างๆ อาทิ อรรถกถา, ฎีกา, อนุฎีกา เป็นต้น
ปัจจุบัน พุทธธรรมเป็นที่สนใจของตะวันตกอย่างกว้างขวาง ได้รับการพยากรณ์จากสื่อมวลชนในอังกฤษว่าเป็นศาสนาที่จะมาแรงที่สุดในสมัยศตวรรษ ที่ 21 เพราะมีการจัดตั้ง ศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา หรือมิฉะนั้นก็องค์กรพุทธต่างๆ ขึ้นมามากมายหลายแห่ง ทั้งในอังกฤษ ฝรั่งเศส สหรัฐอเมริกา เยอรมนี ฯลฯ เพื่อค้นคว้าหลักพุทธธรรมที่ปรากฏในคัมภีร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาทิเบต และ ภาษาจีน ทำให้การศึกษาพุทธธรรมขยายตัวอย่างรวดเร็ว จนปัจจุบันนี้ มหาวิทยาลัยทั้งยุโรปและอเมริกาหลายแห่งได้เปิดสอนพุทธธรรมทั้งระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโทและปริญญาเอก
เมื่อเดือนพฤษภาคม 2549 นี้ คณาจารย์ของ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด นำโดย ศ.ดร.ริชาร์ด กอมบริช (Prof Dr Richard Gombrich) ผู้ก่อตั้งศูนย์พุทธศาสน์ศึกษา มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด และอดีตนายก สมาคมบาลีปกรณ์ แห่งสหราชอาณาจักร ได้เดินทางมาปรึกษาหารือเพื่อร่วมมือกับมหาวิทยาลัยในประเทศไทยเพื่อพัฒนาการศึกษาพระพุทธศาสนาและภาษาบาลีให้กว้างขวางยิ่งขึ้น โดยเฉพาะให้เป็นที่รู้จักกันในระดับนานาชาติมากยิ่งขึ้น มหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ ได้แก่ มหาวิทยาลัยมหิดล, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, มหามกุฏราชวิทยาลัย, มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยมี พระศรีญาณโสภณ (ปิยโสภณ) จาก วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก, ดร.ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ จาก คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดลและ ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ จาก คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้ประสานงาน
ปัจจุบัน มีหนังสือเด่นหลายๆ เล่มที่อธิบายหลักพุทธธรรมได้ละเอียดละออ เช่น The World of Buddhism ที่ Heinz Becher & Richard Gombrich เป็นบรรณาธิการร่วม, What the Buddha Taught ของพระวัลโปละ ราหุละชาวศรีลังกา, ส่วนภาษาไทยก็มี พระไตรปิฎกฉบับสำหรับประชาชน ของท่านอาจารย์ สุชีพ ปุญญานุภาพ และพุทธธรรม ซึ่งแต่งโดย พระพรหมคุณาภรณ์ (ประยุทธ์ ปยุตฺโต ป.ธ.๙) ทั้งสองเล่มหลังนี้ ยังเป็นชื่อหนังสือเกี่ยวกับ พุทธศาสนา ที่ได้รับการคัดเลือกในชุดหนังสือดี 100 เล่มที่คนไทยควรอ่าน ด้วย
หนังสือว่าด้วยพุทธธรรม สามารถหาซื้อได้ที่ มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ หน้า วัดบวรนิเวศวิหาร บางลำภู กรุงเทพมหานคร และ ร้าน มหาจุฬาบรรณาคาร ข้างวัดมหาธาตุยุวราษร์รังสฤษฏ์ ทั้งสองแห่งนี้มีทั้งตำรับตำราภาษาบาลี, หลักสูตรนักธรรมและธรรมศึกษาและหนังสือธรรมะทั่วไปไว้จำหน่าย