พ.ศ. 2535
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2532 2533 2534 - พ.ศ. 2535 - 2536 2537 2538 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2535 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1992 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันพุธตามปฏิทินเกรกอเรียน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์: พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี
- นายอานันท์ ปันยารชุน (พ.ศ. 2534-2535)
- พลเอกสุจินดา คราประยูร (เมษายน-พฤษภาคม)
- นายอานันท์ ปันยารชุน (มิถุนายน-กันยายน)
- นายชวน หลีกภัย (พ.ศ. 2535-2538)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2535
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มิถุนายน
- 1 มกราคม - ประเทศไทยเริ่มใช้ระบบภาษีมูลค่าเพิ่ม
- 7 กุมภาพันธ์ - ประเทศในประชาคมยุโรป ลงนามในสนธิสัญญามาสทริคต์ในเมืองมาสทริคต์ เนเธอร์แลนด์ นำไปสู่การก่อตั้งสหภาพยุโรป
- 22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ ผลการเลือกตั้ง พรรคสามัคคีธรรมของ นายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง
- 29 เมษายน - การตัดสินปล่อยตัวตำรวจที่ทำร้ายร็อดนีย์ คิง เป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบในลอสแองเจลีส
- 7 พฤษภาคม – กระสวยอวกาศ เอนเดฟเวอร์ ขึ้นสู่อวกาศเป็นครั้งแรก
- 9 พฤษภาคม – นางงามจักรวาล การประกวดนางงามจักรวาลประจำปี 1992 จัดขึ้นที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิต์เป็นครั้งแรกของประเทศไทย
- 17 พฤษภาคม – พฤษภาทมิฬ: ทหารและประชาชนผู้ชุมนุมเรียกร้องประชาธิปไตย เริ่มปะทะกันอย่างรุนแรงบริเวณสะพานผ่านฟ้าฯ รัฐบาลประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินเมื่อเข้าสู่วันที่ 18 พฤษภาคม
- 18 พฤษภาคม – พฤษภาทมิฬ: พลตรีจำลอง ศรีเมือง ผู้นำการประท้วง ถูกจับกุม ฝ่ายทหารเริ่มแผนไพรีพินาศ ใช้อาวุธกราดยิงประชาชนเพื่อสลายผู้ชุมนุมทั่วถนนราชดำเนิน
- 20 พฤษภาคม – พฤษภาทมิฬ: พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้พลเอกสุจินดา คราประยูร และพลตรีจำลอง ศรีเมือง เข้าเฝ้าฯ รับพระราชดำรัส ซึ่งนำไปสู่การลาออกจากตำแหน่งของพลเอกสุจินดา
- 24 พฤษภาคม – พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำเผด็จการคนสุดท้ายของประเทศไทย ลาออกจากตำแหน่ง หลังจากเกิดการเคลื่อนไหว เรียกร้องประชาธิปไตยในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ
[แก้] กรกฎาคม-ธันวาคม
- 31 กรกฎาคม – เครื่องบินแอร์บัส เอ 300-310 ของการบินไทย ชนกับภูเขาทางใต้ของกาฏมาณฑุ ประเทศเนปาล ทำให้มีผู้เสียชีวิต
- 30 สิงหาคม – มิคาเอล ชูมัคเกอร์ ชนะเลิศการแข่งขันรถสูตรหนึ่งเป็นครั้งแรกในรายการเบลเยียมกรังด์ปรีซ์
- 1 กันยายน – องค์กรขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เพิ่มค่าโดยสารรถเมล์ขึ้นอีก 50 สตางค์
- 13 กันยายน – มีการเลือกตั้งทั่วประเทศ ผลการเลือกตั้ง พรรคประชาธิปัตย์ ได้คะแนนมาเป็นลำดับหนึ่ง
- 16 กันยายน – เงินตราปอนด์สเตอร์ลิงของอังกฤษถูกกดดันให้ถอนตัวออกจากกลไกอัตราแลกเปลี่ยนยุโรป และลดค่าลงอย่างมาก
- 23 กันยายน
- นายชวน หลีกภัย ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก
- สะพานพระราม 7 เปิดการจราจร
[แก้] วันเกิด
- 16 เมษายน - พระเจ้าโอมูกามาโอโย อึนยิมบา กาบามบา อิกูรู รูกิดีที่ 4 กษัตริย์แห่งอาณาจักรโตโร
- 15 กรกฎาคม – โคฮารุ คูซูมิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 6 เมษายน – ไอแซค อสิมอฟ นักเขียนที่เกิดในรัสเซีย (เกิด 2 มกราคม พ.ศ. 2463)
- 13 มิถุนายน – พุ่มพวง ดวงจันทร์ – นักร้องเพลงลูกทุ่ง ชาวสุพรรณบุรี
- 12 กันยายน – แอนโทนี เพอร์คินส์ นักแสดงชาวอเมริกัน (เกิด 4 เมษายน พ.ศ. 2475)