ภาษาในประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาในประเทศไทย :
เรียงตามจำนวนคนที่ใช้
ในประเทศไทย มีผู้พูดหลายภาษา โดยมีภาษาหลักคือภาษาไทยมาตรฐาน นอกจากนั้นยังมีภาษาถิ่นย่อย และภาษาอื่นๆ อีกหลายตระกูลภาษา โดยรวม มีผู้ใช้ภาษาราว 74 ภาษาในประเทศไทย
สำหรับภาษาตระกูลไทนั้น ยังมีภาษาถิ่นย่อยหลัก ได้แก่ ภาษาไทยภาคกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ ไทยอีสาน และภาษาไทยภาคเหนือ หรือภาษาไทยล้านนา (คำเมือง)ขณะเดียวกันก็มีภาษาจีนอีกหลายถิ่นย่อย เช่น จีนแต้จิ๋ว จีนกลาง จีนแคะ ภาษาจีนกวางตุ้ง
สารบัญ |
[แก้] ภาษาที่พูดในประเทศไทย แยกตามตระกูลภาษา
- ภาษาตระกูลไท : 90 % หรือ 55,000,000 คน
- ภาษาออสโตรเอเชียติก : 3% หรือ 2,000,000 คน
- ภาษาออสโตรนีเซียน : 2% หรือ 1,009,500 คน
- ภาษาตระกูลทิเบต-พม่า : 1% หรือ 533,500 คน
- ภาษาม้ง-เมี่ยน : 0.2% หรือ 100,000 คน
โดยรวม มีผู้ใช้ภาษาราว 74 ภาษาในประเทศไทย
[แก้] ภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมากที่สุด
- ไทย (กลาง) : 20,182,571 : จังหวัดภาคกลาง และจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ
- ไทยอีสาน : 15,000,000 ; 17 จังหวัดในภาคอีสาน และในกรุงเทพมหานคร (ราว 1 ล้านคน)
- ไทยถิ่นเหนือ (คำเมือง) : 6,000,000 ; ภาคเหนือตอนบน
- ไทยถิ่นใต้ (ภาษาไทยถิ่นใต้) : 5,000,000 ; 14 จังหวัดภาคใต้ และบางส่วนของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
- มลายูปัตตานี: 3,100,000 : ยะลา ปัตตานี นราธิวาส สงขลา 2,600,000 คน พูดในกรุงเทพและที่อื่น ราว 500,000 คน
- เขมร : 2,000,000 : สุรินทร์, ศรีสะเกษ, บุรีรัมย์, ฉะเชิงเทรา, สระแก้ว, ตราด, ร้อยเอ็ด, อุบลราชธานี,
- จีนแต้จิ๋ว : 1,081,920
[แก้] ภาษาที่มีผู้พูดจำนวนมาก
- ภาษากวย (ส่วย): 300,000 : สุรินทร์, บุรีรัมย์, ศรีสะเกษ, อุบลราชธานี, ร้อยเอ็ด
- ภาษากะเหรี่ยงสกอว์ : 300,000 : กาญจนบุรี,ตาก, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, เชียงราย
- ผู้ไท : 156,000 : กาฬสินธุ์, นครพนม, มุกดาหาร , สกลนคร, อุบลราชธานี และ อุดรธานี
- มอญ : 107,630 : กาญจนบุรี,ปทุมธานี, ราชบุรี, สุราษฎร์ธานี, ลพบุรี, นครราชสีมา, นนทบุรี, กรุงเทพฯ
[แก้] ภาษาที่มีผู้พูดจำนวนปานกลาง
- ภาษากะยาห์ : 98,642 : แม่ฮ่องสอน
- ภาษาพวน : 98,605 : อุทัยธานี, พิจิตร, เพชรบูรณ์, ลพบุรี, สิงห์บุรี, สุพรรณบุรี, สระบุรี, นครนายก, ปราจีนบุรี, อุดรธานี, เลย
- ภาษาไทลื้อ : 83,000 : เชียงราย, พะเยา, ลำพูน, น่าน
- ภาษาไทใหญ่ : 60,000 : เชียงราย, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, ตาก
- ภาษาอะข่า (อีก้อ) : 60,000 : เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน
- ภาษากะเหรี่ยงโปวเหนือ : 60,000 : แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่
- ภาษาจีนแคะ : 58,800 : ยะลา, สงขลา
- ภาษาโส้: 58,000 : นครพนม, สกลนคร, หนองคาย, กาฬสินธุ์
- กะเหรี่ยงโปวตะวันตก : 50,000 : ตาก, อุทัยธานี, กาญจนบุรี, ราชบุรี, เพชรบุรี , ประจวบคีรีขันธ์
- ภาษาญ้อ : 50,000 : สกลนคร, หนองคาย, นครพนม
- ภาษาเย้า (เมี่ยน) :40,000 :เชียงใหม่, เชียงราย, พะเยา, ลำปาง, กำแพงเพชร, น่าน, สุโขทัย
[แก้] ภาษาที่มีผู้พูดจำนวนน้อย
- ภาษาเปร 3 : 38,808 : น่าน
- แม้วตะวันตก : 33,000 : ตาก, น่าน, เชียงใหม่, แม่ฮ่องสอน, เพชรบูรณ์, เชียงราย, พะเยา, แพร่, เลย, สุโขทัย, กำแพงเพชร, อุทัยธานี
- แม้วขาว : 32,395 : เพชบูรณ์, ตาก, แม่ฮ่องสอน, เชียงใหม่, น่าน, เชียงราย, พิษณุโลก, เลย, สุโขทัย, กำแพงเพชร, แพร่, พะเยา, อุตรดิตถ์, ลำปาง
- ภาษาโส้ง : 32,307 ; กาญจนบุรี, เพชรบุรี, พิษณุโลก, นครสวรรค์, นครปฐม, สุพรรณบุรี
- ภาษาล่าหู่ (มูเซอร์): 32,000 : เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน , ลำปาง, ตาก
- ภาษาขมุ: 31,403 : เชียงราย, น่าน, พะเยา
- ภาษาไพ : 31,000 : น่าน
- ภาษาจีนกวางตุ้ง : 29,400
- ล่าหู่เหลือง : 20,000 : น่าน
- บรู(ตะวันตก) : 20,000 : มุกดาหาร
- ภาษาลีซู (ลีซอ) : 16,000 : เชียงใหม่, เชียงราย, แม่ฮ่องสอน, ตาก, สุโขทัย, กำแพงเพชร
- ภาษายอง : 12,561 ; เชียงราย เรียงใหม่ ลำพูน (คล้ายภาษาลื้อ)
- ภาษาแสก : 11,000 : นครพนม, บางส่วนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
- ภาษาญะกูร์ : 10,000 : นครราชสีมา, เพชรบูรณ์, ชัยภูมิ
[แก้] ภาษาที่มีคนพูดจำนวนน้อยมาก
- ภาษาละว้า : 7,000 : เชียงใหม่, เชียงราย
- ละว้าตะวันตก, 7,000 : เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน
- ภาษาไทเขิน : 6,281 : เชียงราย, เชียงใหม่
- ลัวะ : 6,281 : น่าน
- จีนกลาง : 5,880
- ภาษาบรู (ตะวันออก): 5,000 : สกลนคร
- ภาษาโย้ย : 5,000 คน ; สกลนคร
- ภาษาปาเล : 5,000
- ภาษามัล : 3,000 - 4,000 : น่าน
- ภาษาอูรักลาโว้ย : 3,000 ; ภูเกต และเกาะในทะเลอันดามัน
- ภาษามอเกลน : 1,500 : ชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้ ภูเก็ต, พังงา
- ภาษามปี : 900 : แพร่, พะเยา
- ภาษากะเหรี่ยงโปว์ : 743 : แม่ฮ่องสอน
- ภาษาไทดำ : 700 : เลย
- ภาษาชอง : 500 : จันทบุรี, ตราด
- ภาษาตองกา : 300 บริเวณชานแดนภาคใต้
- ภาษาซาไก : 300 : ยะลา, พัทลุง, สตูล, นราธิวาส, ชายแดนไทยมาเลเซีย
- ภาษามลาบรี (ตองเหลือง) : 300 : น่าน, พะเยา, แพร่, อุตรดิตถ์, พิษณุโลก, เลย
- ภาษาเยอ : 200 ศรีสะเกษ
- ภาษาอูกง (Ugong): 80 ; กาญจนบุรี, อุทัยธานี, สุพรรณบุรี
- ภาษามอก : 7 : เชียงใหม่
- มุง : เชียงราย
- ภาษามอแกน : ชายฝั่งตะวันตกของภาคใต้ ภูเก็ต พังงา, กระบี่, ระนอง
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
ภาษาในประเทศไทย เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษาในประเทศไทย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |