อะลิฟ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อักษรอาหรับ | ||||||
ﺍ | ﺏ | ﺕ | ﺙ | ﺝ | ﺡ | ﺥ |
ﺩ | ﺫ | ﺭ | ﺯ | ﺱ | ﺵ | ﺹ |
ﺽ | ﻁ | ﻅ | ﻉ | ﻍ | ﻑ | ﻕ |
ﻙ | ﻝ | ﻡ | ﻥ | هـ | ﻭ | ﻱ |
ประวัติอักษรอาหรับ· เครื่องหมายการออกเสียง · ฟัตฮะหฺ · กัสเราะหฺ · ء · ฎ็อมมะหฺ · เลขอาหรับ |
อะลิฟ หรือ อลิฟ(ا) เป็นอักษรตัวแรกของอักษรอาหรับ ตรงกับอักษรฮีบรู “อเลฟ” อักษรกรีก “อัลฟา” และอักษรละติน “A” พัฒนามาจากอักษรฟินิเชียน ʾāleph ซึ่งมาจากอักษรคานาอันไนต์ ʾalp “วัว”
อักษรนี้ในภาษาอาหรับ ใช้แทนเสียง /อ/ หรือเสียงสระอา เพื่อแสดงว่าอะลิฟนั้น แทนเสียงพยัญชนะหรือสระ จึงเพิ่ม ฮัมซะหฺ (ء)ขึ้นมา เรียกว่า ฮัมซะตุลก็อฏอิ ฮัมซะหฺ ไม่ถือว่าเป็นตัวอักษรเต็มตัวเท่ากับอักษรอื่น ๆ เพราะมักจะใช้คู่กับตัวพาคือ วาว (و), ยาอุที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) และอะลิฟ (ا) อะลิฟใช้คู่กับฮัมซะหฺ เมื่อเป็นพยางค์แรกของคำ และประสมสระเสียงสั้น โดยอยู่ข้างบน (أ) เมื่อเป็นเสียงสระอะ หรืออุ และอยู่ข้างล่าง (إ) เมื่อเป็นเสียงสระอิ ถ้าอะลิฟเป็นสระเสียงยาวจะไม่แสดงฮัมซะหฺ
ฮัมซะหฺชนิดที่ 2 ฮัมซะตุลวัศลิ ใช้เฉพาะกับหน่วยเสียงแรกของคำว่า ال (อัล)อันเป็นคำกำหนดชี้เฉพาะ หรือคำในกรณีใกล้เคียงกัน ต่างจากฮัมซะหฺชนิดแรกตรงที่ว่า จะถูกยกเลิกเมื่อมีสระอยู่ข้างหน้า ฮัมซะหฺชนิดนี้ใช้อะลิฟเป็นตัวพาเท่านั้น ปกติจะไม่เขียนอักษรฮัมซะหฺ แต่จะเขียน อะลิฟ เพียงอย่างเดียว
อะลิฟ มัดดะ (alif madda)ใช้ในกรณีที่อะลิฟ 2 ตัวเขียนติดกัน (เสียงอา) จะเขียนอะลิฟในรูป (آ) เช่น القرآن (อัลกุรอาน)
อะลิฟ มักศูเราะหฺ (alif maqsūrah) รูปร่างเหมือนตัวยาอุที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอา เช่นเดียวกับ อะลิฟ
ในคำทับศัพท์จะแทนฮัมซะหฺด้วย อ์ เมื่อเป็นตัวสะกด