เทศน์แจง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ส่วนหนึ่งของ ประวัติพุทธศาสนา |
|
ศาสดา | |
จุดมุ่งหมายของพุทธศาสนา | |
เพื่อความดับทุกข์ · นิพพาน |
|
ใจความสำคัญของพุทธศาสนา | |
ละชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส |
|
ไตรสรณะ | |
ความเชื่อและการปฏิบัติ | |
ศีล · ธรรม ศีลห้า · ศีลแปด บทสวดมนต์และพระคาถา |
|
คัมภีร์และหนังสือ | |
พระไตรปิฎก พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก |
|
นิกาย | |
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน | |
สังคมพุทธศาสนา | |
เมือง · ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล | |
ดูเพิ่มเติม | |
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา หมวดหมู่พุทธศาสนา |
แจง แปลว่า ขยายความ กระจายความ ใช้เรียกการเทศน์สังคายนาหรือเทศน์สอบทานพระธรรมวินัยว่า เทศน์แจง
เทศน์แจง คือการเทศน์เรื่องการทำสังคายนาครั้งแรกในพระพุทธศาสนา เนื้อหาของการเทศน์แจงคือขยายความข้อธรรมและข้อวินัยในพระธรรมปิฎกโดยย่อพอให้เป็นกริยาบุญ นิยมเทศน์ในงานศพของผู้ใหญ่ โดยถือว่าการเทศน์แจงเป็นบุญใหญ่ เป็นการรักษาพระธรรมวินัยไว้ เป็นการเลียนแบบการทำสังคายนาครั้งแรก ซึ่งมีผลทำให้รักษาพระพุทธศาสนาไว้ได้ตราบเท่าทุกวันนี้
เทศน์แจงนิยมเทศน์ ๓ ธรรมาสน์ คือใช้พระ ๓ รูปเทศน์ถามตอบกัน และมีพระอันดับแจง หรือพระแจงอีกส่วนหนึ่ง จำนวนอาจถึง ๕๐๐ รูปก็ได้ ถ้ามีพระนั่งแจง ๕๐๐ รูป เรียกกันว่า แจง ๕๐๐ ในปัจจุบันแจง ๕๐๐ มีทำกันน้อยแล้ว ด้วยว่าผู้ทำได้จะต้องมีศรัทธาและกำลังมากเป็นพิเศษ
[แก้] อ้างอิง
- พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช) ป.ธ. ๙ ราชบัณฑิต พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์ ชุด คำวัด, วัดโอรสาราม กรุงเทพฯ พ.ศ. 2548.