ไบโอดีเซล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไบโอดีเซล (biodiesel) เป็นเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากแหล่งทรัพยากรหมุนเวียน เช่น น้ำมันพืช ไขมันสัตว์ หรือสาหร่าย ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงดีเซลทางเลือก นอกเหนือจากดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียม โดยมีคุณสมบัติการเผาไหม้ เหมือนกับดีเซลจากปิโตรเลียมมาก และสามารถใช้แทนกันได้
คุณสมบัติสำคัญของไบโอดีเซลคือ สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ (biodegradable) และไม่เป็นพิษ (non-toxic)
ในปัจจุบัน ต้นทุนการผลิตไบโอดีเซล ยังมีราคาแพงกว่าดีเซลจากปิโตรเลียมเมื่อไม่นับรวมถึงอัตราภาษีสรรพสามิต ในประเทศเยอรมนี ในปี 2548 มีกำลังการผลิต 2 ล้านตันต่อปี ราคาจำหน่ายตามสถานีประมาณ 45 บาทต่อลิตร ถูกกว่าน้ำมันดีเซลเพราะมีการยกเว้นภาษีสรรพสามิต กระบวนการผลิตไบโอดีเซลคือปฏิกิริยาเคมี Transesterification หรือ Esterification
ประเทศไทยริเริ่มโครงการไบโอดีเซลเมื่อ ปี 2543 และได้มีการติดตั้งระบบผลิตเอทธิลเอสเตอร์โดยโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดา ตั้งแต่ 7 พ.ค.47 และได้มีการพัฒนาโครงการไบโอดีเซลชุมชนที่ จ.เชียงใหม่ ปัจจุบัน(มี.ค.49)มีไบโอดีเซล 5% จำหน่ายในสถานีของ ปตท.และบางจาก ใน กทม.และเชียงใหม่ (ตามโครงการล้านนาฟ้าใสไบโอดีเซล) ทั้งหมด 15 สถานี
สารบัญ |
[แก้] นิยาม
ข้อมูลนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
- ไบโอดีเซล เป็นพลังงานทดแทนเชื้อเพลิงดีเซลจากน้ำมันพืชที่ผ่านกระบวนการทางเคมีที่เรียกว่ากระบวนการทรานเอสเทอริฟิเคชัน (Transesterification Process) โดยให้น้ำมันพืชทำปฏิกิริยากับแอลกอฮอล์ เช่น เมทานอล หรือเอทานอล และมีด่างเป็นตัวเร่งปฏิกิริยา
- ไบโอดีเซล คือเอสเทอร์ของกรดไขมัน เรียกว่า Fatty Acid Methyl Ester
- การเรียกชื่อ ขึ้นกับชนิดของแอลกอฮอล์ที่ใช้ในการทำปฏิกิริยา เช่น เมทิลเอสเทอร์ เป็นเอสาเทอร์ที่ได้จากการใช้เมทานอลเป็นสารในการทำปฏิกิริยา หรือ เอทิลเอสเทอร์ เป็นเอสาเทอร์ที่ได้จากการใช้เอทานอล เป็นสารในการทำปฏิกิริยา เป็นต้น
[แก้] วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
ข้อมูลนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
- น้ำมันปาล์มดิบ
- น้ำมันมะพร้าว ราคาวัตถุดิบต่ำ แต่เสถียรภาพด้านปริมาณและมูลค่าเพิ่มไม่ดีเท่าน้ำมันปาล์มดิบ
- น้ำมันสบู่ดำ
- น้ำมันดอกทานตะวัน
- rape seed oid
- น้ำมันถั่วเหลือง
- น้ำมันถั่วลิสง
- น้ำมันละหุ่ง
- น้ำมันงา
- น้ำมันพืชใช้แล้ว มีปัญหาเรื่องการปนเปื้อนในรูปของน้ำและตะกอน
[แก้] ขั้นตอนการผลิต
ข้อมูลนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
[แก้] การทำไบโอดีเซล
- ขั้นตอนจากพืชนน้ำมันไปเป็นน้ำมันพืช
- ขั้นตอนจากน้ำมันพืชไปเป็นไบโอดีเซล
[แก้] ขั้นตอนในการผลิตไบโอดีเซล
- นำน้ำมั้นพืชที่ได้จากพืชน้ำมันมาผสมทำปฏิกิริยากับเมทานอล (methanol) กับสารเร่งปฏิกิริยา ซึ่งจะได้เป็นไบโอดีเซล กับกลีเซอรีน
- แยกกลีเซอรีนออก ทำความสะอาดไบโอดีเซล
[แก้] มาตรฐานคุณภาพ
ข้อมูลนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
- ตัวจุดวาบไฟ (flash point)โดยปกติมาตรฐานจะอยู่ที่ 130 ถ้าหากสูงกว่านี้ คือเป็น 150 หรือ 170 จะทำให้รถสตาร์ทติดยาก
- ความบริสุทธิ์ของไบโอดีเซล
[แก้] ข้อแตกต่างระหว่างไบโอดีเซลกับน้ำมันดีเซล
ข้อมูลนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
- จุดวาบไฟของน้ำมันดีเซลต่ำ ประมาณ 50 กว่า ในขณะที่จุดวาบไฟของน้ำมันไบโอดีเซล ประมาณ 100 กว่าขึ้นไป
- น้ำมันดีเซลมีกำมะถันสูง แต่น้ำมันไบโอดเซลไม่มี
[แก้] ผลต่อการทำงานของรถยนต์
ข้อมูลนี้เป็นเนื้อหาที่อ้างอิงมาจากวารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี[1]
- ไบโอดีเซลช่วยหล่อลื่นแทนกำมะถัน และลดฝุ่นละอองหรือควันดำ ที่เรียกว่า particulate matter ให้ต่ำลง โดยไม่ทำให้เครื่องยนต์อุดตันเพราะเผาไหม้หมด
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- ขั้นตอนการผลิตไบโอดีเซล เว็บไซต์ กรมอู่ทหารเรือ
- มูลนิธิสถาบันเอทานอล-ไบโอดีเซลแห่งประเทศไทย
- สมาคมผู้ผลิตพืชน้ำมัน
- คณะกรรมการไบโอดีเซลแห่งชาติ, สหรัฐอเมริกา
- สมาคมไบโอดีเซลออสเตรเลีย
- ข้อมูลไบโอดีเซล สมาคมเชื้อเพลิงหมุนเวียนแคนาดา
- ห้องปฏิบัติการพลังงานหมุนเวียนแห่งชาติ, สหรัฐอเมริกา
- เครื่องทำไบโอดีเซลคนยากขนาด 70 ลิตร โดย หนุ่มกระโทก
[แก้] ข่าวไบโอดีเซล
- พลังงานหมุนเวียน ในวังวนวนเวียน (นสพ. กรุงเทพธุรกิจ)
- 10 สิงหารำลึก "รูดอลฟ์ ดีเซล" กับวันไบโอดีเซลระหว่างประเทศ (นสพ. ผู้จัดการออนไลน์)
การพัฒนาและความยั่งยืนของพลังงาน แก้ไข | |
---|---|
การผลิตพลังงาน (Energy production) | แอคตีฟโซลาร์ | ไบโอแอลกอฮอล์ | ไบโอดีเซล | เชื้อเพลิงชีวภาพ | ก๊าซชีวภาพ | ชีวมวล | ดีปเลควอเตอร์คูลลิ่ง | การผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า | การผลิตไฟฟ้า | เชื้อเพลิงเอทานอล | เซลล์เชื้อเพลิง | พลังงานฟิวชัน | พลังงานความร้อนใต้พิภพ | ไฟฟ้าพลังน้ำ | เชื้อเพลิงเมทานอล | การแปลงพลังงานความร้อนของมหาสมุทร | พาสซีฟโซลาร์ | เซลล์แสงอาทิตย์ | โซลาร์ชิมเนย์ | แผงเซลล์แสงอาทิตย์ | พลังงานแสงอาทิตย์ | พลังงานความร้อนจากแสงอาทิตย์ | โซลาร์เทาเวอร์ | ไทดัลเพาเวอร์ | โทรมบ์วอลล์ | กังหันน้ำ | กังหันลม |
การพัฒนาพลังงาน (Energy development) |
การพัฒนาพลังงาน | สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการผลิตไฟฟ้า | การพัฒนาพลังงานในอนาคต | เศรษฐศาสตร์ไฮโดรเจน | ฮับเบิรต์พีค | การนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่ | ความทันสมัยเกินไป | เทคโนโลยีเฉพาะตัว |
พลังงานและสถานภาพความยั่งยืน (Energy and sustainability status) |
สถานภาพปัจจุบันของมนุษยชาติ | ระบบนิเวศบริการ | การ์ดาเชฟสเกล | TPE | ดรรชนีการพัฒนามนุษย์ของสหประชาชาติ | คุณค่าของโลก | เทคโนโลยีระหว่างกลาง | ทุนโครงสร้างพื้นฐาน |
ความยั่งยืน (Sustainability) |
อาคารอัตโนมัติ | ป่านิเวศ | นิเวศเศรษฐศาสตร์ | การคุ้มครองโลก | เศรษฐศาสตร์พัฒนา | การออกแบบสิ่งแวดล้อม | การแสวงหาประโยชน์จากทรัพยกรธรรมชาติ | อาคารเพื่อสิ่งแวดล้อม | ผลิตภัณฑ์ในประเทศเบื้องต้น | อาคารธรรมชาติ | เกษตรถาวร | การพึ่งตนเองทางเศรษฐกิจ | Straw-bale construction | ความยั่งยืน | เกษตรยั่งยืน | การออกแบบอย่างยั่งยืน | การพัฒนาที่ยั่งยืน | อุตสาหกรรมที่ยั่งยืน | ชีวิตที่ยั่งยืน | The Natural Step |
การจัดการความยั่งยืน (Sustainability management) |
คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน | ทฤษฎีพัฒนามนุษย์ | การพัฒนาที่ผิดพลาด | ปฏิญญาริโอเรื่อสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา | สถาบันร๊อคกีเมาน์เทน | ซิมวันเดอร์ริน | ด้อยพัฒนา | สภาธุรกิจโลกสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน | การประชุมสุดยอดของโลกว่าด้วยการพัฒนาที่ยั่งยืน | หลักการการใช้มาตรการระวังล่วงหน้า | Intermediate Technology Development Group |
พลังงานและการอนุรักษ์ (Energy and conservation) |
การอนุรักษ์พลังงาน | Energy-efficient landscaping | รถยนต์ไฟฟ้า | รถยนต์ไฮโดรเจน | การใช้ชีวิตเรียบง่ายแบบสมัครใจ | การวัดรอยเท้าทางนิเวศ | พื้นที่การท่องเที่ยวที่ผสมผสานในแบบอนุรักษ์ | ของเสีย |
ไบโอดีเซล เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ไบโอดีเซล ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |