ไฮโดรเจน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||||||||||||||||||||||
ทั่วไป | |||||||||||||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข | ไฮโดรเจน, H, 1 | ||||||||||||||||||||||||
อนุกรมเคมี | อโลหะ | ||||||||||||||||||||||||
หมู่, คาบ, บล็อก | 1, 1, s | ||||||||||||||||||||||||
ลักษณะ | ไม่มีสี![]() |
||||||||||||||||||||||||
มวลอะตอม | 1.00794(7) กรัม/โมล | ||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงอิเล็กตรอน | 1s1 | ||||||||||||||||||||||||
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน | 1 | ||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติทางกายภาพ | |||||||||||||||||||||||||
เฟส | ก๊าซ | ||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่น | (0 °C, 101.325 kPa) 0.08988 กรัม/ลิตร |
||||||||||||||||||||||||
จุดหลอมเหลว | 14.01 K (-259.14 °C) |
||||||||||||||||||||||||
จุดเดือด | 20.28 K(-252.87 °C) | ||||||||||||||||||||||||
Triple point | 13.8033 K, 7.042 kPa | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการหลอมเหลว | (H2) 0.117 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนของการกลายเป็นไอ | (H2) 0.904 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||
ความร้อนจำเพาะ | (25 °C) (H2) 28.836 J/(mol·K) |
||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||
อุณหภูมิวิกฤต | 32.19 K | ||||||||||||||||||||||||
ความดันวิกฤต | 1.315 MPa | ||||||||||||||||||||||||
ความหนาแน่นวิกฤต | 30.12 g/L | ||||||||||||||||||||||||
คุณสมบัติของอะตอม | |||||||||||||||||||||||||
โครงสร้างผลึก | hexagonal | ||||||||||||||||||||||||
สถานะออกซิเดชัน | 1, -1 (แอมโฟเทอริกออกไซด์) |
||||||||||||||||||||||||
อิเล็กโตรเนกาติวิตี | 2.20 (Pauling scale) | ||||||||||||||||||||||||
พลังงานไอออไนเซชัน | ระดับที่ 1: 1312.0 กิโลจูล/โมล | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม | 25 pm | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีอะตอม (คำนวณ) | 53 pm (รัศมีของบอห์ร) | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีโควาเลนต์ | 37 pm | ||||||||||||||||||||||||
รัศมีวานเดอร์วาลส์ | 120 pm | ||||||||||||||||||||||||
อื่น ๆ | |||||||||||||||||||||||||
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก | ??? | ||||||||||||||||||||||||
การนำความร้อน | (300 K) 180.5 mW/(m·K) | ||||||||||||||||||||||||
ความเร็วเสียง | (ก๊าซ, 27 °C) 1310 m/s | ||||||||||||||||||||||||
เลขทะเบียน CAS | 1333-74-0 | ||||||||||||||||||||||||
ไอโซโทปที่น่าสนใจ | |||||||||||||||||||||||||
|
|||||||||||||||||||||||||
แหล่งอ้างอิง |
ไฮโดรเจน (อังกฤษ:Hydrogen)(ละติน: hydrogenium: ไฮโดรเจเนียม) เป็นธาตุเคมี ในตารางธาตุมีสัญลักษณ์ H และมีเลขอะตอมเท่ากับ 1 ที่อุณหภูมิ(อุณหภูมิห้อง)และความดันมาตรฐาน(ความดันบรรยากาศ) ไฮโดรเจนเป็นก๊าซที่โมเลกุลมี 2 อะตอม ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ติดไฟง่าย เป็นอโลหะ และมีอิเล็กตรอนชั้นนอกสุด (วาเลนซ์อิเล็กตรอน) ตัวเดียว. ไฮโดรเจนเป็นธาตุที่เบาที่สุด และมีปรากฏในจักรวาลมากที่สุด, มีอยู่ในโมเลกุลของน้ำ ในสารประกอบอินทรีย์ทุกตัว และสิ่งมีชีวิตทุกชนิด. ไฮโดรเจนสามารถมีปฏิกิริยาได้กับธาตุอื่น ๆ ส่วนใหญ่ ดาวฤกษ์ ในช่วงหลัก ประกอบด้วยไฮโดรเจนในสถานะพลาสมาเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ ธาตุนี้ยังใช้ในการผลิตแอมโมเนีย ใช้เป็นก๊าซสำหรับยก ใช้เป็นเชื้อเพลิงทดแทน และเป็นพลังงานของเซลล์เชื้อเพลิง
ในห้องทดลอง ไฮโดรเจนได้มาจากปฏิกิริยาของกรดบนโลหะ เช่น สังกะสี ในการผลิตจำนวนมาก ไฮโดรเจนที่ใช้ในการค้าได้มาจากการย่อยก๊าซธรรมชาติ การแยกน้ำด้วยไฟฟ้าเป็นวิธีที่ง่ายแต่สิ้นเปลือง ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์กำลังวิจัยเกี่ยวกับวิธีใหม่ ๆ ในการผลิตไฮโดรเจน เช่น การใช้สาหร่ายเขียว ส่วนอีกวิธีที่มีความหวังคือ การใช้ผลิตภัณฑ์จากชีวมวล เช่น กลูโคสหรือซอร์บิทอล ซึ่งสามารถทำได้ที่อุณหภูมิต่ำโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาตัวใหม่
[แก้] ประวัติ
ไฮโดรเจนถูกรับรองว่ามีอยู่จริงครั้งแรกโดยเฮนรี คาเวนดิช ในปี ค.ศ. 1766 คาเฟนดิชค้นพบมันระหว่างทำการทดลองระหว่างกรดกับปรอท แต่เขาสันนิษฐานผิดพลาดว่าไฮโดรเจนนั้นเป็นสารประกอบของปรอท แต่เขาก็ยังสามารถบรรยายคุณสมบัติต่างๆของไฮโดรเจนได้อย่างถูกต้อง ต่อมา อองตวน ลาวัวซิเอได้ตั้งชื่อให้กับธาตุนี้ว่าไฮโดรเจน และพิสูจน์ว่าไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็นส่วนประกอบของน้ำ ไฮโดรเจนถูกใช้ประโยชน์ครั้งแรกในการบรรจุในบอลลูน ไฮโดรเจนสามารถเตรียมได้จากการผสมกรดซัลฟิวริกกับเหล็ก ดิวเทอเรียมซึ่งเป็นไอโซโทปของไฮโดรเจน ถูกค้นพบโดยแฮโรลด์ ซี. อูเรย์ (Harold C. Urey) โดยการกลั่นน้ำหลายๆครั้ง อูเรย์ได้รับรางวัลโนเบลจากการค้นพบของเขาในปี ค.ศ. 1934 ในปีเดียวกันนั้น มีการค้นพบทริเทียม ไอโซโทปชนิดที่สามของไฮโดรเจน
[แก้] การนำไปใช้ประโยชน์
- ใช้ในกระบวนการ ไฮโดรจีเนชั่น (Hydrogenation) เพื่อสังเคราะห์น้ำมันพืชและน้ำมันจากสัตว์
- ใช้ร่วมกับ คลอรีน เพื่อผลิตไฮโดรเจนคลอไรด์
- ใช้ร่วมกับออกซิเจน ในการตัดชิ้นงานใต้น้ำ
- ไฮโดรเจนเหลวใช้เป็นเชื้อเพลิงของจรวดและเป็นส่วนผสมสำคัญในการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์
![]() |
ไฮโดรเจน เป็นบทความเกี่ยวกับ เคมี ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ไฮโดรเจน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |