การเขียนคำทับศัพท์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การทับศัพท์ คือการถ่ายทอดคำที่เขียนด้วยอักษรในภาษาหนึ่ง เพื่อใช้เขียนด้วยอักษรอีกแบบหนึ่งสำหรับใช้ในภาษานั้นๆ เพื่อให้สามารถเขียนคำต่างประเทศ ด้วยภาษาอักษรในภาษานั้นๆ ได้สะดวก เช่น การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ (ที่เขียนด้วยอักษรโรมัน) มาเพื่อเขียนด้วยอักษรไทย สำหรับการใช้ในภาษาไทย
การทับศัพท์นั้น มีหลักกว้างๆ อยู่ 2 ประการด้วยกัน คือ
- การถ่ายถอดเสียง เป็นการถ่ายถอดวิธีการเขียนคำภาษาหนึ่ง ไปสู่การเขียนในภาษาที่สอง โดยยึดหลักเทียบเสียงเป็นสำคัญ ข้อดีของการทับศัพท์แบบนี้คือ ทำให้ผู้ใช้ภาษาที่สองสามารถอ่านออกเสียงคำนั้นๆ ได้ใกล้เคียงกับภาษาเดิม แต่มีข้อเสียคือ ทำให้ไม่สามารถคาดเดาได้ หรือถ่ายถอดกลับไปยังภาษาเดิมได้ หลักการนี้ได้ใช้สำหรับการทับศัพท์โดยทั่วไป
- การถ่ายถอดตัวอักษร (ปริวรรต)เป็นการถ่ายถอดคำศัพท์แบบ "ตัวต่อตัว" เพื่อความสะดวกในการเขียนเพียงอย่างเดียว มักใช้กับภาษาโบราณ เช่น ถ่ายถอดอักษรมอญโบราณ เป็นอักษรไทยปัจจุบัน, ถ่ายถอดอักษรขอมโบราณ เป็นอักษรไทย การถ่ายถอดตัวอักษรนั้น เคร่งครัดในการคงตัวอักษร และเครื่องหมายวรรคตอนทุกอย่างเอาไว้ เพื่อให้ผู้ที่อ่านภาษานั้นๆ ได้เข้าใจเสมือนอ่านต้นฉบับจริง ทั้งนี้การปริวรรตไม่สนใจความแตกต่างของเสียงในภาษา
[แก้] ดูเพิ่ม
- การเขียนคำทับศัพท์ตามระบบของราชบัณฑิตยสถาน
- คำที่มักเขียนผิด
- คำทับศัพท์ที่ใช้ในวิกิพีเดีย
- คำทับศัพท์หมวดในวิกิพีเดีย
![]() |
การเขียนคำทับศัพท์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ การเขียนคำทับศัพท์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |