คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยนเรศวร
(Faculty of Medicine Naresuan University)
วันที่ก่อตั้ง | 18 มกราคม พ.ศ. 2537 |
คณบดี | ศ.นพ.ดร.ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย |
สีประจำคณะ | สีเขียวหัวเป็ด |
สัญลักษณ์คณะ | งูพันคบเพลิง |
วารสารคณะ | ใต้ร่มเสลา / เข็มเขียวเกลียวคลื่น |
สถานปฏิบัติการ | โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร |
ที่ตั้ง | 99 หมู่ 9 ถ.พิษณุโลก-นครสวรรค์ ต.ท่าโพธิ์ อ.เมืองพิษณุโลก จ.พิษณุโลก 65000 |
เว็บไซต์ | www.med.nu.ac.th |
คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นคณะแพทยศาสตร์ที่จัดตั้งขึ้นเป็นลำดับที่ 12 ของประเทศไทย โดยในช่วง 10 ปีแรกนั้นได้ทำการร่วมมือกับทางโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขในการร่วมผลิตแพทย์ และหลังจากนั้นทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงเริ่มดำเนินการผลิตแพทย์โดยโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวรซึ่งเป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
ในช่วงปี พ.ศ. 2536 ทางรัฐบาลในขณะนั้นมีนโยบายที่จะแก้ไขปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในส่วนภูมิภาค โดยจัดให้มีการผลิตแพทย์เพิ่มและกระจายแพทย์ลงสู่ส่วนภูมิภาคให้มากขึ้น รัฐบาลจึงศึกษาความเป็นไปได้ถึงความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะแพทยศาสตร์ขึ้นใหม่ในมหาวิทยาลัยภูมิภาค
จากแนวทางดังกล่าว มหาวิทยาลัยนเรศวรได้เสนอความเห็นเกี่ยวกับการจัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์ต่อทบวงมหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2536 โดยมุ่งหวังที่จะผลิตแพทย์สนองนโยบายรัฐบาลโดยแนวทางที่จะใช้ทรัพยากรร่วมกับโรงพยาบาลในสังกัดของกระทรวงสาธารณสุขในจังหวัดพิษณุโลกและจังหวัดภาคเหนือตอนล่างให้เกิดประโยชน์สูงสุด โดยการเรียนการสอนในระดับพรีคลินิกจะจัดการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยนเรศวร ส่วนในชั้นคลินิกนั้นจะร่วมมือกับทางโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุข คือ โรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก ซึ่งมีการลงนามความร่วมมือการผลิตแพทย์ระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและมหาวิทยาลัยนเรศวร ปี พ.ศ. 2537
ต่อมาในปี พ.ศ. 2542 ทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรได้ขยายการเรียนการสอนชั้นคลินิกเพิ่มโดยร่วมมือกับทางโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ ซึ่งนิสิตแพทย์ทั้งหมดจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท โดยรับนิสิตจากโควต้าในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างและภาคอีสานตอนบน
ปีการศึกษา 2546 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร เปิดรับนิสิตแพทย์แนวใหม่ (New Tract) โดยรับจากบุคลากรสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้โอกาสผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาวิทยาศาสตร์หรือสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ที่มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการสาธารณสุข เข้าศึกษาต่อในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต ซึ่งเป็นหลักสูตรที่มีระยะเวลาเวลาศึกษา 5 ปี (เทียบโอนหน่วยกิตในชั้นปีที่ 1) และศึกษาตามหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต เหมือนกับนิสิตแพทย์ปกติทุกประการ ซึ่งจะอยู่ในโครงการร่วมผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบทเช่นเดียวกัน โดยจะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช,โรงพยาบาลแพร่ และ โรงพยาบาลพิจิตร
ปี พ.ศ. 2547 คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้เปิดรับนิสิตแพทย์จากระบบคัดเลือกส่วนกลางของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนการสอนชั้นคลินิกที่ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ซึ่งเป็นโรงพยาบาลของคณะแพทยศาสตร์ที่เริ่มเปิดดำเนินการตั้งแต่ พ.ศ. 2542 และตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 เป็นต้นไปทางคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวรจะรับนิสิตแพทย์ร่วมกับกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.)
[แก้] ทำเนียบคณบดี
1. ศ.( พิเศษ ) นพ. สุจินต์ อึ้งถาวร
- รักษาการ พ.ศ. 2537 - 2539
- คณบดี พ.ศ. 2539 - 2544
2. รศ.นพ.ดร. ชุมนุม พรหมขัติแก้ว
- รักษาการ พ.ศ. 2544 - 2545
- คณบดี พ.ศ. 2545 - 2548
3. ศ.นพ.ดร. ศุภสิทธิ์ พรรณารุโณทัย
- รักษาการ พ.ศ. 2548 - 2550
- คณบดี พ.ศ. 2550 - ปัจจุบัน
[แก้] ภาควิชา
[แก้] หลักสูตรการเรียนการสอน
[แก้] ปริญญาตรี
[แก้] วุฒิบัตร
[แก้] ปริญญาโท
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ( วท.ม.) สาขาวิชาเวชศาสตร์ครอบครัว
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ( วท.ม.) สาขาวิชาแพทยศาสตรศึกษา
[แก้] ปริญญาเอก
[แก้] การรับนิสิตเข้าศึกษาในหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต
1. ส่วนกลางผ่านกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) รับปีละ 30 คน โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
2. โควต้าในโครงการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท รับปีละ 90 คน โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก 60 คน และโรงพยาบาลอุตรดิตถ์ 30 คน
3. โครงการแพทย์แนวใหม่ (New tract) รับปีละ 30 คนสำหรับบุคลากรกระทรวงสาธารณสุขที่จบการศึกษาทางด้านวิทยาศาสตร์สุขภาพ โดยนิสิตแพทย์กลุ่มนี้จะทำการเรียนชั้นคลินิกที่ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิกโรงพยาบาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช, โรงพยาบาลแพร่ และโรงพยาบาลพิจิตรแห่งละ 10 คน
[แก้] ศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก
|
|
[แก้] ศูนย์
- ศูนย์สุขภาพมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ศูนย์วิจัยและติดตามความเป็นธรรมทางสุขภาพ (ศธส.)
- ศูนย์โรคหัวใจภาคเหนือตอนล่าง
- ศูนย์วิจัยโลหิตวิทยา
- ศูนย์วิจัยภูมิคุ้มกันวิทยา
- ศูนย์ความร่วมมือเพื่อการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ศูนย์โรคไตและไตเทียม
- ศูนย์วิจัยและทดสอบเครื่องสำอางค์
- ศูนย์ปลูกถ่ายอวัยวะภาคเหนือตอนล่าง
- ศูนย์วิจัยธาลัสซีเมีย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- มหาวิทยาลัยนเรศวร
- โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร
- ห้องสมุดวิทยาศาสตร์สุขภาพ
- สโมสรนิสิตคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- แนวทางการรับนิสิตแพทย์ หลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ปีการศึกษา 2550
![]() |
คณะแพทยศาสตร์ ใน ประเทศไทย | ||
---|---|---|---|
|
![]() |
หน่วยงานในมหาวิทยาลัยนเรศวร | |
วิทยาเขต | หน่วยงาน | |
---|---|---|
พิษณุโลก |
แพทยศาสตร์ - ทันตแพทยศาสตร์ - เภสัชศาสตร์ - พยาบาลศาสตร์ - สหเวชศาสตร์ - สาธารณสุขศาสตร์ - วิทยาศาสตร์การแพทย์ - มนุษยศาสตร์ - นิติศาสตร์ - สังคมศาสตร์ - วิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ - ศึกษาศาสตร์ - วิศวกรรมศาสตร์ - สถาปัตยกรรมศาสตร์ - วิทยาศาสตร์ - เกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม - วิทยาลัยนานาชาติ - วิทยาลัยพลังงานทดแทน |
|
สารสนเทศพะเยา |
สำนักวิชาเภสัชศาสตร์ - สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ - สำนักวิชาวิศวกรรมศาสตร์ - สำนักวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร - สำนักวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี - สำนักวิชาศิลปศาสตร์ - สำนักวิชาวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์ - สำนักวิชาเกษตรศาสตร์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม |
|
ดูเพิ่ม |