จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
คณะแพทยศาสตร์
โรงพยาบาลรามาธิบดี
มหาวิทยาลัยมหิดล
(Faculty of Medicine Ramathibodi hospital
Mahidol University)
วันที่ก่อตั้ง |
พ.ศ. 2508 |
คณบดี |
ศ.นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน |
สีประจำคณะ |
สีเขียว |
สถานปฏิบัติการ |
โรงพยาบาลรามาธิบดี |
ที่ตั้ง |
270 ถนนพระราม 6 แขวงพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400 |
เว็บไซต์ |
www.ra.mahidol.ac.th |
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 4 ของประเทศ และเป็นคณะแพทยศาสตร์แห่งที่ 2 ที่สังกัดมหาวิทยาลัยมหิดล นับได้ว่าเป็นคณะที่อยู่ในระดับแนวหน้าของประเทศไทย และภูมิภาคเอเชียอาคเนย์
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2507 รัฐบาลได้วางนโยบายหลักในแผนพัฒนาเศรษฐกิจแห่งชาติระยะที่ 2 ให้ผลิตแพทย์และพยาบาลเพิ่มขึ้น โดยมีจุดมุ่งหมายที่จะปรับอัตราส่วน ระหว่างแพทย์ กับจำนวนประชากร ให้อยู่ในระดับใกล้เคียง กับอัตราส่วน ของประเทศอื่น จึงได้อนุมัติให้จัดตั้ง คณะแพทยศาสตร์แห่งใหม่ ในมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ (มหาวิทยาลัยมหิดล ในปัจจุบัน) โดยใช้ที่ดินบริเวณหน้ากรมทางหลวง และได้อนุมัติให้จัดตั้งโรงพยาบาลรามาธิบดี ขึ้นพร้อมกัน
- พ.ศ. 2508 มีพระราชกฤษฎีกา ก่อตั้งคณะแพทยศาสตร์ลำดับที่ 4 ของประเทศไทย ซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า "คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี"
[แก้] หลักสูตร
ภาระกิจหลักที่สำคัญประการหนึ่งของคณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี คือ การผลิตบัณฑิตแพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งมีหลักสูตรในระดับปริญญาตรี โท และ เอก ดังนี้
[แก้] ระดับปริญญาตรี
|
|
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต
|
[แก้] ระดับปริญญาโท
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
- การพยาบาลเด็ก
- การพยาบาลจิตเวชและสุขภาพจิต
- การพยาบาลผู้ใหญ่
- การพยาบาลอนามัยชุมชน
- การพยาบาลมารดาและทารกแรกเกิด
- หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาความผิดปกติของการสื่อความหมาย
|
|
- หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
- สาขาการเจริญพันธ์และวางแผนประชากร
- สาขาพยาธิวิทยาคลินิก
- สาขาฟิสิกส์การแพทย์
- สาขาโภชนศาสตร์
|
[แก้] ระดับปริญญาเอก
- หลักสูตรปรัญชาดุษฎีบัณฑิต
- สาขาระบาดวิทยาคลินิก
- สาขาวิทยาศาสตร์การแพทย์คลินิก (หลักสูตรร่วม)
- สาขาการพยาบาล (หลักสูตรนานาชาติ)
|
|
- หลักสูตรพยาบาลศาสตรดุษฎีบัณฑิต (หลักสูตรร่วมผลิต)
- หลักสูตรวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต
- สาขาพยาธิวิทยาคลินิก มีนักศึกษาจำนวน 2 คน
- สาขาโภชนศาสตร์ มีนักศึกษาจำนวน 13 คน
|
นอกจากนี้ ยังมีหลักสูตรระดับอนุปริญญา ประกาศนียบัตร ประกาศนียบัตรชั้นสูง หลังปริญญาเอก การฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทาง และการอบรมระยะสั้นสาขาต่าง ๆ อีกด้วย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น