ชอง-ชาก รุสโซ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ฌอง-ฌาค รุสโซ (Jean Jaques Rousseau) (28 มิถุนายน ค.ศ. 1712 - 2 กรกฎาคม ค.ศ. 1778) เป็นนักปรัชญา, นักเขียน, นักทฤษฎีการเมือง, และนักประพันธ์เพลงที่ฝึกหัดด้วยตนเอง แห่งยุคแสงสว่าง
[แก้] ปรัชญาของรุสโซ
คำสอนของเขาสอนให้คนหันกลับไปหาธรรมชาติ { back to nature } เป็นการยกย่องคุณค่าของคนว่า "ธรรมชาติของคนดีอยู่แล้วแต่สังคมทำให้คนไม่เสมอภาคกัน" เขาบอกว่า "เหตุผลมีประโยชน์ แต่มิใช่คำตอบของชีวิต ดังนั้นเราจึงต้องพึ่งความรู้สึก สัญชาตญาณและอารมณ์ของเราเอง ให้มากกว่าเหตุผล"
[แก้] ทฤษฎี 'คนเถื่อนใจธรรม'
รุสโซเชื่อว่ามนุษย์นั้นเป็นคนดีโดยธรรมชาติ หรือเป็น "คนเถื่อนใจธรรม" (nobel savage) เมื่ออยู่ในสภาวะธรรมชาติ (สภาวะเดียวกันกับสัตว์อื่นๆ และเป็นสภาพที่มนุษย์อยู่มาก่อนที่จะมีการสร้างอารยธรรม และสังคม) แต่ถูกทำให้แปดเปื้อนโดยสังคม เขามองสังคมว่าเป็นสิ่งที่ถูกประดิษฐ์ขึ้น และเชื่อว่าการพัฒนาของสังคม โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของการพึ่งพากันในสังคมนั้น เป็นสิ่งที่อันตรายต่อความเป็นอยู่ของมนุษย์
ความเรียงชื่อ "การบรรยายเกี่ยวกับศิลปะและวิทยาศาสตร์" (ค.ศ. 1750, พ.ศ. 2293) ที่ได้รับรางวัลของเมือง ได้อธิบายว่าความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และศิลปศาสตร์นั้น ไม่เป็นประโยชน์กับมนุษย์ เขาได้เสนอว่าพัฒนาการของความรู้ทำให้รัฐบาลมีอำนาจมากขึ้น และทำลายเสรีภาพของปัจเจกชน เขาสรุปว่าพัฒนาการเชิงวัตถุนั้น จะทำลายโอกาสของความเป็นเพื่อนที่จริงใจ โดยจะทำให้เกิดความอิจฉา ความกลัว และ ความระแวงสงสัย
งานชิ้นถัดมาของเขา การบรรยายว่าด้วยความไม่เสมอภาค ศึกษาเกี่ยวกับการพัฒนาและการทำลายของมนุษย์ ตั้งแต่ในสมัยโบราณ จนถึงสมัยใหม่ เขาเสนอว่ามนุษย์ในยุคแรกสุดนั้น เป็นมนุษย์ครึ่งลิงและอยู่แยกกัน มนุษย์แตกต่างจากสัตว์เนื่องจากมีความต้องการอย่างอิสระ (free will) และเป็นสิ่งที่สามารถแสวงหาความสมบูรณ์แบบได้ เขายังได้กล่าวว่ามนุษย์ยุคบุคเบิกนี้มีความต้องการพื้นฐาน ที่จะดูแลรักษาตนเอง และมีความรู้สึกห่วงหาอาทรหรือความสงสาร เมื่อมนุษย์ถูกบังคับให้ต้องมีความสัมพันธ์กันมากขึ้นเนื่องจากการเพิ่มขึ้นของประชากร จึงได้เกิดการปรับเปลี่ยนทางด้านจิตวิทยา และได้เริ่มให้ความสำคัญกับความคิดเห็นของคนอื่น ๆ ว่าเป็นสิ่งสำคัญต่อกาีรมีชีวิตที่ดีของตนเอง รุสโซได้เรียกความรู้สึกใหม่นี้ ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการผลิบานของมนุษย์
ชอง-ชาก รุสโซ เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ชอง-ชาก รุสโซ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |
ก่อนโสกราตีส | เธลีส | โสกราตีส | เพลโต | อริสโตเติล | เอพิคิวเรียน | สโตอิก | โพลตินัส | พีร์โร | ออกัสตินแห่งฮิปโป | โบอีเทียส | อัลฟาราบี | แอนเซล์มแห่งแคนเทอเบอรี | ปีแยร์ อาเบลา | อะเวร์โรอีส | ไมมอนิดีส | โทมัส อควีนาส | แอลเบอร์ทัส แมกนัส | ดันส์ สโกตัส | รามอง ยูย์ | วิลเลียมแห่งออกคัม | โจวันนี ปีโก เดลลา มีรันโดลา | มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน | มิเชล เดอ มงตาญ | เรอเน เดส์การตส์ | โทมัส ฮอบบส์ | แบลส ปาสกาล | บารุค สปิโนซา | จอห์น ล็อก | นีโกลา มาลบรองช์ | กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ | จัมบัตติสตา วีโก | ชูเลียง โอเฟรย์ เดอ ลา เมตรี | จอร์จ บาร์กลีย์ | มองเตสกิเออร์ | เดวิด ฮูม | วอลแตร์ | ฌอง-ฌาค รุสโซ | เดนี ดีเดโร | โยฮันน์ แฮร์เดอร์ | อิมมานูเอิล คานท์ | เจเรอมี เบนทัม | ฟรีดิช ชไลเออร์มาเคอร์ | โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคเทอ | G.W.F. เฮเกิล | ฟรีดิช ฟอน เชลลิง | ฟรีดิช ฟอน ชเลเกิล | อาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ | เซอเรน เคียร์เคอการ์ด | เฮนรี เดวิด ทอโร | ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน | จอห์น สจวร์ต มิลล์ | คาร์ล มาร์กซ | มีฮาอิล บาคูนิน | ฟรีดิช นีทเชอ | วลาดีมีร์ โซโลวีฟ | วิลเลียม เจมส์ | วิลเฮล์ม ดิลเทย์ | C. S. เพิร์ซ | กอทท์ลอบ เฟรเก้ | เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล | อองรี แบร์ซง | แอนสท์ คัสซิเรอร์ | จอห์น ดิวอี | เบนาเดตโต โกรเช | โคเซ ออร์เตกา อี กัสเซต | แอลฟริด นอร์ท ไวต์เฮด | เบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ | ลุดวิก วิทท์เกนสไตน์ | แอนสท์ บลอค | เกออร์ก ลูคัช | มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ | รูดอล์ฟ คาร์นาพ | ซีโมน แวย | มอรีซ แมร์โล-ปงตี | ฌอง ปอล ซาร์ต | ไอย์น แรนด์ | ซีโมน เดอ โบวัวร์ | จอร์จ บาไตลล์ | ธีโอดอร์ อดอร์โน | มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ | ฮานนาห์ อเรนดท์ | กอร์เนลีอุส กาสโตรีอาดิส| โรลอง บาร์ธ | โคลด เลวี สโตรส | ฌาค ลากอง | หลุยส์ อัลธูแซร์ | มิเชล ฟูโกต์ | ฌาค แดริดา | เจอร์เกน ฮาเบอร์มาส | ฌอง โบดริยาร์ด | จิลล์ เดอลูซ | ฌอง-ลุค นองซี | จิอันนี วัตติโม | อันโทนิโอ เนกริ | พอล วิริลลิโอ | ปีเตอร์ สลอตเทอร์ดิค | สลาวอจ ชิเชค