เดวิด ฮูม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เดวิด ฮูม (26 เมษายน ค.ศ. 1711 - 25 สิงหาคม ค.ศ. 1776) เป็นนักปรัชญา และนักประวัติศาสตร์ ชาวสกอตแลนด์ และเป็นบุคคลสำคัญที่สุดคนหนึ่งใน ยุคสว่างของสกอตแลนด์ (บุคคลสำคัญคนอื่น ๆ ในยุคนี้ ได้แก่ แอดัม สมิท, ทอมัส เรด เป็นต้น)
หลายคนยกย่องให้ฮูม เป็นคนหนึ่งในกลุ่มที่เรียกว่า นักประสบการณ์นิยมชาวบริติชทั้งสาม ซึ่งฮูมถือเป็นคนที่สามในกลุ่มนี้ ถัดจาก จอห์น ล็อก ชาวอังกฤษ และ จอร์จ บาร์กลีย์ ชาวอังกฤษ-ไอริช นอกจากนี้ยังถือว่าฮูม เป็นคนที่มีแนวคิดทางปรัชญาถึงรากถึงโคนที่สุด ในทั้งสามคนนี้ด้วย. การจัด ฮูม ล็อก และ เบิร์กลีย์ ไว้ด้วยกันเช่นนี้ แม้ว่าจะเป็นการจัดตามแบบดั้งเดิม แต่ก็นับว่าได้ละเลยอิทธิพลสำคัญ ๆ ที่ฮูมได้รับจากนักเขียนที่ใช้ภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาแม่ (Francophone) หลายคน เช่น ปิแยร์ เบย์ล และจากบุคคลสำคัญในแวดวงวิชาการที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่ (Anglophone) อีกหลายคนเช่น ไอแซก นิวตัน, แซมวล คลาร์ก, ฟรานซิส ฮัตชิสัน และ จอเซฟ บัตเลอร์
[แก้] ชีวิตการงาน
ฮูมเกิดในเอดินบะระและเข้าศึกษาที่มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เดิมทีนั้นเขาคิดจะประกอบอาชีพด้านกฎหมาย แต่แล้วเขากลับบังเกิด "ความรังเกียจอันไม่อาจเอาชนะได้ต่อทุกสิ่งทุกอย่าง จะยกเว้นก็แต่ความกวดขันในงานทางปรัชญาและความรู้ทั่วไป" (ตามคำของฮูมเอง)
ฮูมศึกษาด้วยตนเองในฝรั่งเศส ที่ซึ่งเขาได้เขียนความเรียงว่าด้วยธรรมชาติของมนุษย์จนเสร็จสมบูรณ์ ขณะนั้นฮูมมีอายุได้ 26 ปี แม้ว่านักวิชาการจำนวนมากในปัจจุบันจะเห็นว่าความเรียงฯ เป็นงานชิ้นสำคัญที่สุดของฮูม อีกทั้งยังเป็นหนังสือเล่มสำคัญที่สุดเล่มหนึ่งในประวัติศาสตร์ปรัชญา แต่สารธารณชนในอังกฤษสมัยนั้นดูจะไม่คิดเช่นนั้น ฮูมถึงกับบรรยายปฏิกิริยาที่สาธารณชนมีต่อการตีพิมพ์ความเรียงฯ ในปี ค.ศ. 1739–40 ไว้ในข้อเขียนของเขาว่าหนังสือเล่มดังกล่าว "แท้งตั้งแต่อยู่บนแท่นพิมพ์"
หลังจากทำงานรับใช้บุคคลสำคัญทางการเมืองและการทหารหลายคนได้ราวสองสามปี ฮูมก็กลับไปทำงานค้นคว้าต่ออีกครั้ง เมื่อฮูมตัดสินใจได้ว่าปัญหาของความเรียงฯ มิได้อยู่ที่เนื้อหา หากแต่อยู่ที่ลีลาการประพันธ์ เขาจึงนำเนื้อหาบางส่วนในความเรียงฯ มาปรับปรุงแก้ไขใหม่ให้สาธารณชนอ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้น แล้วตีพิมพ์ในชื่อ การไต่สวนถึงความเข้าใจของมนุษย์ ถึงแม้การไต่สวนฯ จะมิได้ประสบความสำเร็จอย่างล้นหลามก็ตาม แต่อย่างน้อยงานชิ้นนี้ก็ได้รับความนิยมมากกว่าความเรียงฯ
ฮูมพลาดโอกาสที่จะได้เป็นศาสตราจารย์ทางปรัชญาทั้งที่เอดินบะระและที่กลาสโกว์ ทั้งนี้อาจเป็นเพราะข้อกล่าวหาว่าฮูมไม่นับถือพระเป็นเจ้า และอาจเป็นเพราะการต่อต้านจากทอมัส เรด ผู้ซึ่งเป็นบุคคลหนึ่งที่วิพากษ์งานของฮูมอย่างต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม ระหว่างที่ฮูมกำลังกวดขันกับงานทางปรัชญาของเขาอยู่นั้นเอง ฮูมก็ได้รับเกียรติทางวรรณกรรมทั้งในฐานะนักเขียนบทความและนักประวัติศาสตร์ กว่าที่งานของฮูมจะได้เป็นจุดสนใจของวงการปรัชญานั้น ก็เมื่ออิมมานูเอิล คานท์ นักปรัชญาคนสำคัญในยุคต่อมา ได้เขียนให้เกียรติฮูมในฐานะที่ได้ปลุกตนให้ตื่นจาก "การหลับใหลอยู่กับหลักความเชื่อ" (ราว ค.ศ. 1770)
[แก้] มรดกทางปรัชญาของฮูม
แม้งานของฮูมจะเขียนขึ้นตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 18 ก็ตาม แต่งานเหล่านั้นยังคงมีความสำคัญในฐานะหัวข้อถกเถียงในวงการปรัชญาปัจจุบัน ซึ่งถือว่าไม่ธรรมดาเลยเมื่อเปรียบเทียบกับงานของนักปรัชญาคนอื่น ๆ ในสมัยเดียวกัน งานทางปรัชญาชิ้นสำคัญ ๆ ของฮูมอาจพอสรุปได้ดังต่อไปนี้
- ปัญหาว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างเหตุกับผล
- ปัญหาว่าด้วยการนิรนัย
- ทฤษฎีความสืบเนื่องของตัวตน
- การใช้เหตุผลเชิงปฏิบัติ : อุปกรณ์นิยมและสุญนิยม
- ลัทธิปฏิสัจนิยมทางศีลธรรมและแรงจูงใจ
- เจตจำนงเสรีกับลัทธิอนิยัตินิยม
- ปัญหาว่าด้วยสิ่งที่เป็น-สิ่งที่ควร
- อรรถประโยชน์นิยม
- ปัญหาว่าด้วยปาฏิหาริย์
- ข้อถกเถียงเรื่องการออกแบบโดยพระเป็นเจ้า
- อนุรักษนิยมและทฤษฎีการเมือง
[แก้] ดูเพิ่ม
ก่อนโสกราตีส | เธลีส | โสกราตีส | เพลโต | อริสโตเติล | เอพิคิวเรียน | สโตอิก | โพลตินัส | พีร์โร | ออกัสตินแห่งฮิปโป | โบอีเทียส | อัลฟาราบี | แอนเซล์มแห่งแคนเทอเบอรี | ปีแยร์ อาเบลา | อะเวร์โรอีส | ไมมอนิดีส | โทมัส อควีนาส | แอลเบอร์ทัส แมกนัส | ดันส์ สโกตัส | รามอง ยูย์ | วิลเลียมแห่งออกคัม | โจวันนี ปีโก เดลลา มีรันโดลา | มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน | มิเชล เดอ มงตาญ | เรอเน เดส์การตส์ | โทมัส ฮอบบส์ | แบลส ปาสกาล | บารุค สปิโนซา | จอห์น ล็อก | นีโกลา มาลบรองช์ | กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ | จัมบัตติสตา วีโก | ชูเลียง โอเฟรย์ เดอ ลา เมตรี | จอร์จ บาร์กลีย์ | มองเตสกิเออร์ | เดวิด ฮูม | วอลแตร์ | ฌอง-ฌาค รุสโซ | เดนี ดีเดโร | โยฮันน์ แฮร์เดอร์ | อิมมานูเอิล คานท์ | เจเรอมี เบนทัม | ฟรีดิช ชไลเออร์มาเคอร์ | โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคเทอ | G.W.F. เฮเกิล | ฟรีดิช ฟอน เชลลิง | ฟรีดิช ฟอน ชเลเกิล | อาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ | เซอเรน เคียร์เคอการ์ด | เฮนรี เดวิด ทอโร | ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน | จอห์น สจวร์ต มิลล์ | คาร์ล มาร์กซ | มีฮาอิล บาคูนิน | ฟรีดิช นีทเชอ | วลาดีมีร์ โซโลวีฟ | วิลเลียม เจมส์ | วิลเฮล์ม ดิลเทย์ | C. S. เพิร์ซ | กอทท์ลอบ เฟรเก้ | เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล | อองรี แบร์ซง | แอนสท์ คัสซิเรอร์ | จอห์น ดิวอี | เบนาเดตโต โกรเช | โคเซ ออร์เตกา อี กัสเซต | แอลฟริด นอร์ท ไวต์เฮด | เบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ | ลุดวิก วิทท์เกนสไตน์ | แอนสท์ บลอค | เกออร์ก ลูคัช | มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ | รูดอล์ฟ คาร์นาพ | ซีโมน แวย | มอรีซ แมร์โล-ปงตี | ฌอง ปอล ซาร์ต | ไอย์น แรนด์ | ซีโมน เดอ โบวัวร์ | จอร์จ บาไตลล์ | ธีโอดอร์ อดอร์โน | มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ | ฮานนาห์ อเรนดท์ | กอร์เนลีอุส กาสโตรีอาดิส| โรลอง บาร์ธ | โคลด เลวี สโตรส | ฌาค ลากอง | หลุยส์ อัลธูแซร์ | มิเชล ฟูโกต์ | ฌาค แดริดา | เจอร์เกน ฮาเบอร์มาส | ฌอง โบดริยาร์ด | จิลล์ เดอลูซ | ฌอง-ลุค นองซี | จิอันนี วัตติโม | อันโทนิโอ เนกริ | พอล วิริลลิโอ | ปีเตอร์ สลอตเทอร์ดิค | สลาวอจ ชิเชค
เดวิด ฮูม เป็นบทความเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เดวิด ฮูม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |