เพลโต
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
||||||||||||||||||||
แม่แบบ:Plato |
เพลโต (ในภาษากรีก: Πλάτων Plátōn, ในภาษาอังกฤษ: Plato) (427 - 347 ปีก่อน ค.ศ.) เป็นนักปรัชญาชาวกรีกโบราณที่มีอิทธิพลอย่างสูงต่อแนวคิดตะวันตก เขาเป็นลูกศิษย์ของโสกราติส เป็นอาจารย์ของอริสโตเติล เป็นนักเขียน และเป็นผู้ก่อตั้งอาคาเดมีซึ่งเป็นสำนักวิชาในกรุงเอเธนส์
เพลโตใช้เวลาส่วนใหญ่สอนอยู่ที่อาคาเดมี แต่เขาก็ได้เขียนเกี่ยวกับปัญหาทางปรัชญาไว้เป็นจำนวนมาก โลกปัจจุบันรู้จักเขาผ่านทางงานเขียนที่หลงเหลืออยู่ ที่ถูกนำขึ้นมาแปลและจัดพิมพ์เป็นในช่วงการเคลื่อนไหวด้านมนุษยนิยม งานเขียนของเพลโตนั้นส่วนมากแล้วเป็นบทสนทนา คำคม และจดหมาย ผลงานที่เป็นที่รู้จักของเพลโตนั้นหลงเหลืออยู่ทั้งหมด อย่างไรก็ตามชุดรวมงานแปลปัจจุบันของเพลโตมักมีบางบทสนทนาที่นักวิชาการจัดว่าน่าสงสัย หรือคิดว่ายังขาดหลักฐานที่จะยอมรับว่าเป็นของแท้ได้
ในบทสนทนาของเพลโลนั้น บ่อยครั้งที่มีโสกราติสเป็นตัวละครหลัก ซึ่งเป็นสิ่งที่สร้่างความสับสนว่าความเห็นส่วนใดเป็นของโสกราติส และส่วนใดเป็นของเพลโต
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
![]() |
[แก้] ผลงาน
[แก้] ประเด็นหลัก
ในงานเขียนของเพลโต เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับรูปแบบของการปกครองทั้งแบบเจ้าขุนมูลนาย และแบบประชาธิปไตย เราจะพบการโต้เถียงเกี่ยวกับผลของสิ่งแวดล้อมกับผลของพันธุกรรม ต่อสติปัญญาและอุปนิสัยของมนุษย์ ซึ่งการโต้เถียงนี้เกิดขึ้นมานานก่อนการโต้เถียงเรื่อง "ธรรมชาติหรือการเลี้ยงดู" ที่มีขึ้นในช่วงเวลาของฮอบบส์ และล็อก และยังมีผลต่อเนื่องมาถึงงานเขียนที่ก่อให้เกิดการโต้แย้งเช่นหนังสือ The Mismeasure of Man และ The Bell Curve เรายังจะพบข้อคิดเห็นที่สนับสนุนอัตวิสัยและปรวิสัยของความรู้ของมนุษย์ ที่มีผลมาถึงการโต้เถียงสมัยใหม่ระหว่างฮูม และคานท์ หรือระหว่างนักหลังสมัยใหม่นิยมและผู้ที่ไม่เห็นด้วย กระทั่งเรื่องราวของเมืองหรือทวีปที่สาปสูญเช่นแอตแลนติส ก็ยังถูกยกมาเป็นตัวอย่างในงานของเพลโต เช่น Timaeus หรือ Critias.
[แก้] รูปแบบ
เพลโตเขียนงานแทบทั้งหมดในรูปของบทสนทนา ในงานชิ้นแรกๆ ตัวละครสนทนาโดยการถามคำถามกันไปมา อย่างมีชีวิตชีวา ตัวละครที่โดดเด่นคือโสกราติสที่ใช้รูปแบบของวิภาษวิธีที่ยังไม่ถูกจัดเป็นระบบ กลุ่มของผลงานนี้รวมเรียกว่าบทสนทนาโสกราติส
แต่คุณภาพของบทสนทนาได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากตลอดช่วงชีวิตของเพลโต เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่างานชิ้นแรกๆ ของเพลโตนั้น วางรากฐานอยู่บนความคิดของโสกราติส ในขณะที่ในงานเขียนชิ้นถัดๆ มา เขาได้ค่อยๆ ฉีกตัวเองออกจากแนวคิดของอาจารย์ของเขา ในงานชิ้นกลางๆ โสกราติสได้กลายเป็นผู้พูดของปรัชญาของเพลโต และรูปแบบของการถาม-ตอบ ได้เปลี่ยนเป็นแบบ "เหมือนท่องจำ" มากขึ้น: ตัวละครหลักนั้นเป็นตัวแทนของเพลโต ในขณะที่ตัวละครรองๆ ไป แทบไม่มีอะไรจะกล่าวนอกจาก "ใช่" "แน่นอน" และ "จริงอย่างยิ่ง" งานชิ้นหลังๆ แทบจะมีลักษณะเหมือนเรียงความ และโสกราติสมักไม่ปรากฎหรือเงียบไป เป็นที่คาดการณ์กันว่างานชิ้นหลังๆ นั้นเขียนโดยเพลโตเอง ส่วนงานชิ้นแรกๆ นั้นเป็นบันทึกของบทสนทนาของโสกราติสเอง ปัญหาว่าบทสนทนาใดเป็นบทสนทนาของโสกราติสอย่างแท้จริง เรียกว่าปัญหาโสกราติส
ลักษณะการสร้างฉากที่มองเห็นได้ของบทสนทนา สร้างระยะห่างระหว่างเพลโตและผู้อ่าน กับปรัชญาที่กำลังถูกถกเถียงในนั้น ผู้อ่านสามารถเลือกรูปแบบการรับรู้ได้อย่างน้อยสองแบบ: อาจจะเข้าไปมีส่วนร่วมในบทสนทนาเกี่ยวกับแนวคิดที่กำลังพูดคุยกันอยู่, หรือเลือกที่จะมองเนื้อหาว่าเป็นการแสดงออกถึงอุปนิสัยที่อยู่ในผลงานนั้นๆ
รูปแบบการสนทนาทำให้เพลโตสามารถถ่ายทอดความเห็นที่ไม่เป็นที่นิยมผ่านทางตัวละครที่พูดจาไม่น่าคล้อยตาม เช่น Thrasymachus ใน สาธารณรัฐ
[แก้] อภิปรัชญาของเพลโต: ลัทธิเพลโต หรือ สัจนิยม
ผลงานที่เป็นที่จดจำที่สุด หรืออาจเป็นผลงานที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของเพลโต ก็คืออภิปรัชญาแบบทวิภาค ที่มักเรียกกันว่า (ในอภิปรัชญา) ลัทธิเพลโต หรือ (ถ้าเรียกให้เกินจริง) สัจนิยม อภิปรัชญาของเพลโตได้แบ่งโลกออกเป็นสองมุม คือ โลกของรูปแบบ (form) และโลกที่รับรู้ได้ เขามองว่าโลกที่รับรู้ได้ รวมถึงสิ่งของต่าง ๆ ในนั้น คือ สำเนาที่ไม่สมบูรณ์แบบจาก รูปแบบ ที่คิดคำนึงได้ หรือ แนวความคิด โดยที่รูปแบบเหล่านี้จะไม่เปลี่ยนแปลง และอยู่ในสภาวะสมบูรณ์แบบเสมอ การทำความเข้าใจกับรูปแบบเหล่านี้จะต้องใช้สติปัญญา หรือความเข้าใจเท่านั้น อย่างไรก็ตามแนวคิดของการแบ่งแยกนี้ได้มีการค้นพบมาก่อนหน้าเพลโนในปรัชญาของโซโรแอสเตอร์ โดยเรียกว่าโลกมินู (ปัญญา) และ โลกกีติ (สัมผัส) รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับรัฐอุดมคติ ที่โซโรแอสเตอร์เรียกว่า ชาห์ริวาร์ (เมืองอุดมคติ)
![]() |
[แก้] ประวัติของสาขาวิชาที่ศึกษาเพลโต
![]() |
ก่อนโสกราตีส | เธลีส | โสกราตีส | เพลโต | อริสโตเติล | เอพิคิวเรียน | สโตอิก | โพลตินัส | พีร์โร | ออกัสตินแห่งฮิปโป | โบอีเทียส | อัลฟาราบี | แอนเซล์มแห่งแคนเทอเบอรี | ปีแยร์ อาเบลา | อะเวร์โรอีส | ไมมอนิดีส | โทมัส อควีนาส | แอลเบอร์ทัส แมกนัส | ดันส์ สโกตัส | รามอง ยูย์ | วิลเลียมแห่งออกคัม | โจวันนี ปีโก เดลลา มีรันโดลา | มาร์ซีลีโอ ฟีชีโน | มิเชล เดอ มงตาญ | เรอเน เดส์การตส์ | โทมัส ฮอบบส์ | แบลส ปาสกาล | บารุค สปิโนซา | จอห์น ล็อก | นีโกลา มาลบรองช์ | กอทท์ฟรีด ไลบ์นิซ | จัมบัตติสตา วีโก | ชูเลียง โอเฟรย์ เดอ ลา เมตรี | จอร์จ บาร์กลีย์ | มองเตสกิเออร์ | เดวิด ฮูม | วอลแตร์ | ฌอง-ฌาค รุสโซ | เดนี ดีเดโร | โยฮันน์ แฮร์เดอร์ | อิมมานูเอิล คานท์ | เจเรอมี เบนทัม | ฟรีดิช ชไลเออร์มาเคอร์ | โยฮันน์ กอทท์ลีบ ฟิคเทอ | G.W.F. เฮเกิล | ฟรีดิช ฟอน เชลลิง | ฟรีดิช ฟอน ชเลเกิล | อาเธอร์ โชเพนเฮาเออร์ | เซอเรน เคียร์เคอการ์ด | เฮนรี เดวิด ทอโร | ราล์ฟ วอลโด เอเมอร์สัน | จอห์น สจวร์ต มิลล์ | คาร์ล มาร์กซ | มีฮาอิล บาคูนิน | ฟรีดิช นีทเชอ | วลาดีมีร์ โซโลวีฟ | วิลเลียม เจมส์ | วิลเฮล์ม ดิลเทย์ | C. S. เพิร์ซ | กอทท์ลอบ เฟรเก้ | เอดมุนด์ ฮุสเซิร์ล | อองรี แบร์ซง | แอนสท์ คัสซิเรอร์ | จอห์น ดิวอี | เบนาเดตโต โกรเช | โคเซ ออร์เตกา อี กัสเซต | แอลฟริด นอร์ท ไวต์เฮด | เบอร์แทรนด์ รัสเซิลล์ | ลุดวิก วิทท์เกนสไตน์ | แอนสท์ บลอค | เกออร์ก ลูคัช | มาร์ติน ไฮเดกเกอร์ | รูดอล์ฟ คาร์นาพ | ซีโมน แวย | มอรีซ แมร์โล-ปงตี | ฌอง ปอล ซาร์ต | ไอย์น แรนด์ | ซีโมน เดอ โบวัวร์ | จอร์จ บาไตลล์ | ธีโอดอร์ อดอร์โน | มักซ์ ฮอร์คไฮเมอร์ | ฮานนาห์ อเรนดท์ | กอร์เนลีอุส กาสโตรีอาดิส| โรลอง บาร์ธ | โคลด เลวี สโตรส | ฌาค ลากอง | หลุยส์ อัลธูแซร์ | มิเชล ฟูโกต์ | ฌาค แดริดา | เจอร์เกน ฮาเบอร์มาส | ฌอง โบดริยาร์ด | จิลล์ เดอลูซ | ฌอง-ลุค นองซี | จิอันนี วัตติโม | อันโทนิโอ เนกริ | พอล วิริลลิโอ | ปีเตอร์ สลอตเทอร์ดิค | สลาวอจ ชิเชค