นาคหลวง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
![]() |
บทความนี้ต้องการตรวจสอบความถูกต้องจากผู้เชี่ยวชาญ หากคุณเป็นผู้เชี่ยวชาญ หรือมีความรู้เกี่ยวกับบทความนี้ สามารถช่วยปรับปรุงเนื้อหาได้โดยการกด แก้ไข ด้านบน ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ การจัดย่อหน้า คู่มือการเขียน การอ้างอิง และ นโยบายวิกิพีเดีย |
นาคหลวง หมายถึง ผู้ที่ได้รับบรรพชาอุปสมบทภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าภาพในการบำเพ็ญพระราชกุศลอุปสมบท
นาคหลวง มี ๒ ประเภท คือ
- พระบรมวงศานุวงศ์หรือข้าราชการที่ปฏิบัติงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและได้ทำเรื่องกราบบังคมทูลขอเป็นนาคหลวง
- พระราชวงศ์ ราชสกุล ราชนิกุล นาคหลวงประเภทนี้ จะมีพิธีสมโภชในพระที่นั่งแล้วแห่ไปอุปสมบทในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ข้าราชการชั้นสัญญาบัตร นาคหลวงประเภทนี้ จะไม่มีพิธีสมโภช เว้นแต่จะโปรดเกล้าฯ เป็นพิเศษ
- ข้าราชการต่ำกว่าชั้นสัญญาบัตร พระราชทานเครื่องบริขารไปอุปสมบท ตามวัดที่ติดต่อไว้เอง (เรียกนาคหลวงประเภทนี้ว่า "นาคในพระบรมราชานุเคราะห์")
- ผู้สอบภาษาบาลี ได้เปรียญธรรม ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร (เรียกนาคหลวงประเภทนี้ว่า "นาคหลวงสายเปรียญธรรม")
[แก้] ประวัติ
การอุปสมบทในพระพุทธศาสนาเพื่อศึกษาและปฏิบัติตามพระธรรมวินัย เป็นประเพณีของพุทธศาสนิกชนชาวไทยมาตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัย สมัยกรุงศรีอยุธยา มาถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อภาวะบ้านเมืองสงบเรียบร้อยขึ้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร (พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย) ทรงผนวช ที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑ นับว่าเป็น "นาคหลวงองค์แรก" ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์นี้
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในหนังสือ "การโสกันต์แต่ก่อน" ว่า
“...พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครั้งนั้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทร พระชนมายุครบ ๒๑ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงพระราชศรัทธา จะให้ทรงผนวชถวายพระราชกุศล...ครั้งนั้นสมเด็จพระวงศ์เธอ ซึ่งเวลานั้นเรียกกันว่า พระเจ้าหลานเธอ ๒ พระองค์ คือ เจ้าฟ้า กรมหลวงนรินทรนเรศร์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์ใหญ่ กรมพระยาเทพสุดาวดี พระองค์หนึ่ง และเจ้าฟ้า กรมหลวงเทพหริรักษ์ ในสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์น้อยกรมพระศรีสุดารักษ์พระองค์หนึ่ง สองพระองค์นี้ทรงเจริญพระพรรษา อายุ ๓๐ ปีเศษแล้ว ยังหาได้ทรงผนวชเป็นภิกษุไม่...การมีโอกาสก็มีศรัทธากราบถวายบังคมทูลขอทรงผนวชด้วย....พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ จึงโปรดฯให้ทรงผนวชพร้อมกันเป็น ๓ พระองค์
การทรงผนวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งในเวลานั้นเรียกว่า วัดพระศรีสรรพเพชญดาราม ครั้งนั้นเป็นปฐมก่อนกว่าคนทั้งปวง ท่านเสนาบดีผู้ใหญ่และเจ้าพนักงานก็ปรึกษาหาระบอบแบบแผนโบราณ ก็จัดการไปให้สมควรแก่ธรรมเนียมอย่างโบราณ ทั้งเวลาสมโภชและทรงผนวชครั้งนั้น พร้อมกันเห็นว่า สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าต่างกรม ทรงศักดินา ๔๐,๐๐๐ สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ เป็นต่างกรม ทรงศักดินาเพียง ๑๕,๐๐๐ แม้สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ มีพระชนมายุอ่อนกว่า ก็ไม่ควรให้อยู่เบื้องหลัง ควรยกเป็นนาคเอกออกหน้า จึงจะต้องเยี่ยงอย่างซึ่งมีมาแต่โบราณ จึงให้พร้อมกันจัดการ
ดังนั้น เมื่อเวลาสมโภชก็สงบกันอยู่ ครั้นเมื่อเวลาทรงผนวช เจ้าพนักงานเชิญเสด็จสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเข้าไปขอบรรพชาก่อน สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ พระองค์ใหญ่ พระทัยมีทิฐิมานะมาก พระวาจาก็มักจะร้ายแรง เสด็จอยู่ในพระฉากใกล้ที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าเสด็จประทับอยู่ เมื่อทอดพระเนตรออกมานอกฉากเห็นดังนั้น ก็ทรงขัดเคืองบ่นด้วยพระวาจาต่างๆเกินๆไปตามพระนิสัย พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ได้ทรงสดับ ก็ทรงรำคาญพระราชหฤทัย จึงมีพระราชโองการตรัสซักถามเสนาบดีและเจ้าพนักงานไปว่า ‘...เหตุไฉนจึงมาจัดผู้น้องให้มาออกหน้าผู้พี่ดังนี้เล่า...’
เสนาบดีผู้ใหญ่กราบทูลว่า ‘...อย่างธรรมเนียมโบราณที่เคยประพฤติอย่างนี้ ซึ่งจะให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอทรงผนวชก่อนพระเจ้าลูกเธอนั้นเยี่ยงอย่างไม่มี...’ สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอฯ ได้ทรงฟังดังนั้น ก็ยิ่งทรงขัดเคืองทรงบ่นต่างๆมากไปอีก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯได้ทรงสดับ ก็ทรงพระโทมนัสจนถึงมีน้ำพระเนตร จึงทรงมีพระราชโองการตรัสไปว่า ‘...ถึงอย่างธรรมเนียมเก่าไม่มี ก็ธรรมเนียมใดที่ท่านทั้งหลายว่าดี ธรรมเนียมนั้นให้ยกเลิกเสียเถิดอย่าใช้ จงเอาอย่างธรรมเนียมไพร่มาประพฤติเถิด ให้จัดลำดับตามอายุเถิด ใครแก่ให้ไปหน้า ใครอ่อนให้ไปหลัง หรือตามลำดับบรรพบุรุษที่นับตามบุตรพี่บุตรน้องเถิด เพราะเราเกิดมาเป็นไพร่ ได้มาเป็นเจ้านายเมื่อเวลาเป็นเบื้องปลายอายุแล้ว...’ ด้วยเหตุนี้ เมื่อเวลาทรงขอนิสัย และทรงผนวชเป็นพระภิกษุ เจ้าพนักงานจึงต้องจัดให้สมเด็จพระเจ้าหลานเธอ สองพระองค์เป็นนาคเอกนาครอง สมเด็จพระเจ้าลูกเธอทรงผนวชต่อภายหลังตามพระราชโองการดำรัสสั่ง...”
ตั้งแต่นั้นมา จึงเป็นราชประเพณีที่พระบรมราชวงศ์หากจะทรงผนวชจะต้องทรงผนวชในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยโปรดเกล้าฯ ให้เป็น "นาคหลวง"
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์ไว้ในพระราชพิธี ๑๒ เดือน ว่า
”..การทรงผนวชเจ้านายในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ซึ่งเป็นพระองค์แรกทีเดียวนั้น คือ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เพราะฉะนั้น บรรดาเจ้านายภายหลังที่เป็นเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า ทั้งในวังหลวงวังหน้า ไม่มีพระองค์ใดที่ได้ทรงผนวชอื่นนอกจากวัดพระศรีรัตนศาสดารามเลย เว้นแต่พิการเป็นที่รังเกียจอย่างหนึ่งอย่างใด เพราะฉะนั้น จึงได้ถือกันว่า ถ้าเจ้านายองค์ใดไม่ได้ทรงผนวชในวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ย่อมเป็นคนที่เสียแล้ว หรือจะเสียคนต่อไปเป็นแน่ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงถือจนชั้นบวชเณร…”
[แก้] นาคหลวงสายเปรียญธรรม
นาคหลวงสายเปรียญธรรมถือเป็นจุดหมายสูงสุดของการศึกษาภาษาบาลีของสามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักร วัดทั่วราชอาณาจักรถือเป็นเกียรติอย่างสูงของวัดที่สามารถผลิตศาสนทายาทให้ศึกษาจนสำเร็จเปรียญ ๙ ได้ขณะยังเป็นสามเณร หลายวัด จัดฉลองเพื่อแสดงมุทิตาอย่างเอิกเกริกให้แก่สามเณรเพื่อให้สังคมรู้จักกันอย่างกว้างขวาง อันจะเป็นเกียรติแก่สามเณรและครอบครัวซึ่งสนับสนุนศาสนทายาทที่มีคุณภาพได้สำเร็จ สามเณรในวัดต่างๆ ทั่วราชอาณาจักรที่ศึกษาภาษาบาลีแต่อายุยังน้อยจำนวนมากหวังว่าจะได้เป็นนาคหลวง เพราะเป็นเกียรติยศสูงสุดในด้านการศึกษาที่ผู้เป็นสามเณรจะพึงได้รับ ด้วยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงรับการอุปสมบทไว้ในพระบรมราชานุเคราะห์ ปัจจุบัน คณะสงฆ์ไทยมีนาคหลวงสายเปรียญธรรมซึ่งผู้สอบได้เปรียญ ๙ ประโยค ขณะยังเป็นสามเณร จำนวน ๑๑๑ รูป ดังนี้:
- สามเณร สา ปุสสเทวะ สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๑๘ ปี สังกัด วัดราชาธิวาสวิหาร (ต่อมาย้ายไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร)
- สามเณร ปลด เกตุทัต - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๐ ปี สังกัดวัดเบญจมบพิตร
- สามเณร เสฐียรพงษ์ วรรณปก - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดทองนพคุณ
- สามเณร ประยุทธ อารยางกูร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพระพิเรนทร์
- สามเณรอุทัย เกลี้ยงเล็ก - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดบางหลวง ปทุมธานี
- สามเณรสำราญ สุขวัฑฒโก - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดสุทัศนเทพวราราม
- สามเณร บรรจบ บรรณรุจิ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดแก้วฟ้า ราชบุรี
- สามเณรประกอบ วงศ์พรนิมิตร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณร ประยูร มีฤกษ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๐ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรสุชาติ สอดสี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- สามเณรชรินทร์ จุลคประดิษฐ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดมหาพฤฒาราม
- สามเณรสุรินทร์ คุ้มจั่น - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณรประเชิญ ชื่นรักชาติ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณรสุจินต์ เพชรเนียน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- สามเณรสมชัย ฟักสุวรรณ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรสังเวย เนตรนิมิตร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- สามเณรชนะ ภมรพล - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดราชบุรณะ
- สามเณรวัชระ งามจิตรเจริญ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดสีหไกรสร
- สามเณรวิชัย ใจมุ่ง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรเสน่ห์ เขียวมณี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรเกรียงไกร เทพนิมิตร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรบุญชู จันทร์สว่าง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดนิมมานนรดี
- สามเณรสมหวัง แก้วสุฟอง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรธรรมนันท์ กันทะเตียน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดสุทัศนเทพวราราม
- สามเณรเสวก มีลาภกิจ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณรสุทิน สุขดี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณร สำเนียง เลื่อมใส - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณรแก้ว ชิดตะขบ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดจักรวรรดิราชาวาส
- สามเณร ปฐมพงษ์ โพธิ์ประสิทธินันท์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๐ ปี สังกัดวัดบวรนิเวศวิหาร
- สามเณรวิเชียร ปราบพาล - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ
- สามเณรบุญเลิศ โสภา - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดพระพุทธบาท สระบุรี
- สามเณรประสิทธิ์ กุญบุญญา - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรไพโรจน์ พนารินทร์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรปรีชา บุญศรีตัน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดหัวลำโพง
- สามเณรอุทิศ ศิริวรรณ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดราชบุรณะ
- สามเณรทองพูล แสงคำ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดทองนพคุณ
- สามเณรชัยณรงค์ ศรีมันตะ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพลับพลาชัย
- สามเณรวินัย เภาเสน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ
- สามเณรเกรียงไกร เนากลาง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดบพิตรพิมุข
- สามเณรสมบัติ หม้อมีสุข - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณรสุทัศน์ นักการเรียน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดดาวดึงษาราม
- สามเณรผดุง แปงการิยา - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรนิพนธ์ แสงแก้ว - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดทองนพคุณ
- สามเณรสุวิทย์ สร้อยเสนา - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
- สามเณรธีระพงษ์ มีไธสง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรอุเทน สัจจัง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรคะนอง ชาวทองหลาง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดบพิตรพิมุข
- สามเณรสุภา อุทโท - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดปทุมวนาราม
- สามเณรเกษม โพธิ์พันธุ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดราชบุรณะ
- สามเณรสำรวจ พันยูเทพ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดใหม่อมตรส
- สามเณรจำเนียร ผลาวงศ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดนิมมานรดี
- สามเณรมนตรี สืบด้วง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ
- สามเณรประยูร ป้อมสุวรรณ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดโมลีโลกยาราม
- สามเณรเวทย์ บุญคุ้ม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดมหาสวัสนดิ์ฯ นครปฐม
- สามเณรเชษฐ์ชาย มีแก้ว - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดชนะสงคราม
- สามเณรนิกร สิงห์เผือก - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๓ ปี สังกัดวัดบพิตรพิมุข
- สามเณรสายัณ ปินะดวง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดบพิตรพิมุข
- สามเณรณัฐพงษ์ ภูลายยาว - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดปทุมวนาราม
- สามเณรสุเทพ พรมเลิศ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดพลับพลาชัย
- สามเณรฉลวย จันทร์หอม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ
- สามเณรพุทธรักษ์ ปราบนอก - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดเพชรวราราม เพชรบูรณ์
- สามเณรบุญปั่น น้อยหน่อ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดไตรมิตรวิทยาราม
- สามเณรเทพพร มังธานี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปทุมคงคา
- สามเณรสุขุมพงษ์ ภูริวัฒโนภาส - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดมกุฎกษัตริยาราม
- สามเณรธวัช ทะเพชร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดสร้อยทอง
- สามเณรประกอบ สมานทอง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดเทวีวรญาติ
- สามเณรสนอง นิสสัยดี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดสุทัศนเทพวราราม
- สามเณรณรสิทธิพร บุญตาม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดราชโอรสาราม
- สามเณรไพฑูรย์ อุทัยคาม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๓ ปี สังกัดวัดศรีสุดาราม
- สามเณรเสริม ทุ่นใจ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดศรีสุดาราม
- สามเณรโกวิทย์ ราชิวงศ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดอนงคาราม
- สามเณรวรธาร ทัดแก้ว - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดอ่างทอง จ.อ่างทอง
- สามเณรวิวัธน์ บุญวัตร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดเก้าเลี้ยว จ.นครสวรรค์
- สามเณรนราธิป แก้วประสิทธิ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
- สามเณรเกรียงไกร บุญพระคม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดป่าชัยรังสี จ.สมุทรสาคร
- สามเณรสมชาย บุญเกลี้ยง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดบพิตรพิมุข
- สามเณรโยธิน โทคำมา - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดบพิตรพิมุข
- สามเณรสมเจตน์ ผิวทองงาม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรวิบูลย์ อุ่นแก้ว - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๓ ปี สังกัดวัดบึง จ.นครราชสีมา
- สามเณรนรินทร์ แซ่หลิว - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดพระงาม จ.นครปฐม
- สามเณรอรุณ เฮียงฮม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดตรีทศเทพ
- สามเณรรัตนะ ปัญญาภา - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดมหาธาตุ
- สามเณบุญเลิศ บารมี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดราชบุรณะ
- สามเณรขวัญชัย ใจศิริ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดทองนพคุณ
- สามเณรกฤษณชัย แดงพูลผล - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดนิมมานรดี
- สามเณรคำพอง ช้างเถื่อน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดนิมมานรดี
- สามเณรประสูติ เรียงเรียบ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรปัญญา โปร่งใจ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรสำเริง แสงศิริ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดจันทาราม
- สามเณรวิทยา แดบสูงเนิน - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดราชโอรสาราม
- สามเณรสยาม ราชวัตร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดศรีสุดาราม
- สามเณรเกรียงไกร แก้วไชยะ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดจักรวรรดิราชาวาส
- สามเณรมหาศาล สืบนิสัย - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดมหาธาตุ
- สามเณรวิรัช นุโยค - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดมหาพฤฒาราม
- สามเณรสมศักดิ์ แก้วคำบ้ง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดนางนองวรวิหาร
- สามเณรสามารถ เพชรสมัย - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
- สามเณรสมหวัง แสงบำรุง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดศรีสุดาราม
- สามเณรสุพจน์ คำน้อย - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดอู่ทอง จ.สุพรรณบุรี
- สามเณรมงคล สวัสดี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๓ ปี สังกัดวัดไตรมิตรวิทยาราม
- สามเณรฉัตรชัย มูลสาร - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดบวรนิเวศวิหาร
- สามเณรจิรกิตติ์ ชัยศรี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดราชบพิธ
- สามเณรกาญจน์ ถาวรบรรจบ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๑ ปี สังกัดวัดสระเกศ
- สามเณรสมพรณ์ พุกสาย - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพระธรรมกาย ปทุมธานี
- สามเณรชำนาญ เกิดช่อ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดเขียนเขต จ.ปทุมธานี
- สามเณรโกวิทย์ พิมพวง - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพระปฐมเจดีย์ นครปฐม
- สามเณรเชิดชัย หมื่นภักดี - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดสร้อยทอง
- สามเณรอิทธิยาวุธ เสวาลักษณ์คุปต์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดสามพระยา
- สามเณรวิรัตน์ ณุศรีจันทร์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๓ ปี สังกัดวัดประยุรวงศาวาส
- สามเณรเดชจำลอง พุฒหอม - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดปากน้ำ
- สามเณรไกรวรรณ ปุณขันธ์ - สอบไล่ได้เมื่ออายุ ๒๒ ปี สังกัดวัดพระงาม นครปฐม
[แก้] อ้างอิง
หนังสือที่อธิบายความเป็นมาของนาคหลวงทั้งสองประเภท โปรดดู ""การทรงผนวชในรัชกาลที่ ๗ พุทธมามกะและนาคหลวง"". วัดบวรนิเวศวิหารและมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย พิมพ์โดยเสด็จพระราชกุศลในการพระราชพิธีถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จพระนางเจ้ารำไพพรรณี พระบรมราชินีในรัชกาลที่ ๗ ณ พระเมรุมาศท้องสนามหลวง วันที่ ๙ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๘ หน้า 123-212.