วิกิพีเดีย:นโยบายและแนวปฏิบัติ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิกิพีเดีย เป็นสารานุกรมที่ทุกคนเป็นเจ้าของ และสร้างขึ้นด้วยความร่วมมือของผู้สนับสนุนทุกคน ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเดียวกันคือ:
จุดมุ่งหมายของเรากับวิกิพีเดียคือ เพื่อสร้างสารานุกรมที่เสรีและเชื่อถือได้
— อันที่จริงคือ สร้างสารานุกรมที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ ทั้งด้านความครอบคลุมและรายละเอียด
[แก้] นโยบายหลัก
คุณไม่จำเป็นต้องอ่านนโยบายทั้งหมดของวิกิพีเดียก่อนลงมือช่วยเหลือ เขียน หรือ แก้ไข อย่างไรก็ตาม นโยบายเหล่านี้มีความสำคัญเป็นพิเศษต่อโครงการ ถ้าคุณเข้าใจมันได้ยิ่งเร็วเท่าไรก็ยิ่งดี:
- วิกิพีเดียเป็นสารานุกรม เป้าหมายไม่ได้มีมากไปกว่านั้น เนื้อหาที่ไม่เป็นสารานุกรมจะต้องถูกย้ายไปยังโครงการอื่น (ดู อะไรที่ไม่ใช่วิกิพีเดีย และ เงื่อนไขการเป็นสารานุกรม)
- ให้เกียรติผู้อื่น ผู้ที่ช่วยเขียนวิกิพีเดียมาจากหลายที่ทั่วประเทศหรือแม้แต่ทั่วโลก ต่างอายุ ต่างพื้นฐานทางสังคม และต่างวัฒนธรรม ย่อมทำให้เกิดมุมมองที่แตกต่างกัน การให้เกียรติและการยอมรับผู้อื่นเป็นกุญแจหลักที่จะทำให้การร่วมมือในการสร้างวิกิพีเดีย เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ (ดู มารยาทในวิกิพีเดีย)
- หลีกเลี่ยงความไม่เป็นกลาง บทความควรเขียนด้วยมุมมองที่เป็นกลาง โดยนำเสนอมุมมองต่อหัวข้อนั้น ทั้งข้อเท็จจริง และความคิดเห็น อย่างรอบด้าน เสมอภาค และเท่าเทียมกัน ซึ่งเป็นที่ยอมรับได้ของเสียงส่วนใหญ่
- อย่าละเมิดลิขสิทธิ์ วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมเสรี ที่อยู่ภายใต้สัญญาอนุญาตใช้งานเอกสารเสรี GFDL ตามสัญญาฉบับล่าสุด[1] การส่งงานที่ละเมิดลิขสิทธิ์เข้ามา จะเป็นการทำลายเป้าหมายที่จะสร้างสารานุกรมที่ทุกคนมีอิสระในการเผยแพร่ และอาจสร้างปัญหาทางกฎหมายได้ (ดู ลิขสิทธิ์วิกิพีเดีย และ เขียนให้ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์)
[แก้] บทสรุปอื่น ๆ เรื่องนโยบายสำคัญ
บทสรุปแนวปฏิบัติเหล่านี้จะช่วยให้คุณคุ้นเคยกับนโยบายที่สำคัญ
นี่คือบทความตามลำดับที่แนะนำให้อ่าน
- เสาหลักทั้ง 5 ของวิกิพีเดีย: 5 กฎหลัก ทั้งหมดที่จำเป็นสำหรับคุณก่อนเริ่มเขียน ง่ายมาก ไม่ต้องห่วง
ทุกนโยบายและแนวปฏิบัติ จะพบได้ในหมวดหมู่ใดหมวดหมู่หนึ่งดังต่อไปนี้
- หมวดหมู่:นโยบายวิกิพีเดีย นโยบายที่เป็นที่ยอมรับในวงกว้าง และทุกคนได้รับการคาดหวังว่าจะปฏิบัติตาม
- หมวดหมู่:แนวปฏิบัติวิกิพีเดีย กฎเตือนใจที่เข้มงวดน้อยลงมา ได้รับการยอมรับโดยทั่วไปให้ใช้ในหลายกรณี
[แก้] นโยบายอื่นๆ
- คู่มือในการเขียน อธิบายวิธีการเขียน การใช้คำ การจัดรูปแบบในวิกิพีเดีย
- นโยบายการใช้ภาพ
- มารยาทในวิกิพีเดีย มารยาทในการใช้งานวิกิพีเดีย
- ข้อผิดพลาดที่พบบ่อย
- อย่าว่าร้ายผู้อื่น
- เชื่อว่าคนอื่นมีเจตนาดี
[แก้] เพิ่มเติม
ข้อควรระวังไม่ใช่นโยบายหลัก ถ้าปฏิบัติตามได้ก็เป็นการดี แต่ถ้าละเลยก็ไม่ได้ก่อความเสียหายมากนัก คุณสามารถละเลยได้ ถ้ามันเป็นอุปสรรคในการเขียนบทความของคุณ (เช่น คุณไม่มีพจนานุกรม หรือ คุณไม่มีความรู้ด้านหลักภาษาไทย เป็นต้น)
- ควรตรวจสอบตัวสะกดให้ถูกต้องทุกครั้ง หากไม่แน่ใจให้เปิดพจนานุกรมใกล้มือ หรือดูได้ที่ เว็บพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน
- ถ้าประโยคยาวเกินไป ให้ลองพยายาม เว้นคำ ดูบ้าง นอกจากจะช่วยให้อ่านได้ง่ายขึ้นแล้ว ยังช่วยให้แสดงผลในเว็บเบราว์เซอร์ได้ดีขึ้นด้วย นอกจากนี้ การใช้เครื่องหมายวรรคตอนก็ช่วยได้ ถ้าจำเป็น
- พึงระลึกว่า บทความที่บันทึกไว้ คือบทความที่สามารถอ่านได้ เข้าใจ รู้เรื่อง มีใจความสมบูรณ์ในระดับหนึ่ง หากประสงค์จะเขียนบทความที่มีความยาวมาก อาจทยอยนำมาลงเป็นตอนๆ โดยที่แต่ละตอน ควรจะมีความสมบูรณ์ในตัวเอง สำหรับบทความแปล หากประสงค์ทยอยแปล ไม่ควรทิ้งภาษาต่างประเทศเอาไว้
- หาก "มีความประสงค์" จะแปลบทความจากภาษาอื่น แต่ยังไม่มีเวลาแปล ไม่ควรจะคัดลอกบทความภาษาต่างประเทศมาทิ้งไว้ ควรรอจนกว่าจะได้แปลจนจบอย่างน้อยสักช่วงหนึ่งหรือตอนหนึ่งก่อน แต่หากต้องการโหลดภาพมาลงไว้ ก็สามารถทำได้
- พึงระลึกว่าเนื้อหามีความสำคัญกว่ารูปแบบ ถ้าหากรูปแบบเป็นอุปสรรคต่อการเขียนเนื้อหา คุณสามารถละเลยรูปแบบได้
- รูปแบบเชิงโครงสร้างสำคัญกว่าสิ่งที่มองเห็น
- วิกิพีเดียเป็นสารานุกรมที่มีการจัดระเบียบข้อมูล ทุกส่วนในบทความสามารถเชื่อมโยงกันได้อย่างทั่วถึง