อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหาร อยู่ในพื้นที่ของ อำเภอน้ำยืน กิ่งอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี และอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีเนื้อที่ประมาณ 81,250 ไร่ (130 ตารางกิโลเมตร) อาณาเขตด้านใต้ติดต่อกับประเทศกัมพูชา มีถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารบริเวณผามออีแดง ในตำบลเสาธงชัย อำเภอกันทรลักษ์ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 (ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 115 ตอนที่ 14 ก ลงวันที่ 20 มีนาคม 2541) นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 19 ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 83 ของประเทศ
พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าเขาพระวิหาร ป่าฝั่งลำโดมใหญ่ ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี เป็นพื้นที่ป่าไม้ชายแดนให้เป็นพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์ ห้ามเข้าไปและอาศัยอยู่โดยเด็ดขาด เนื่องจากพื้นที่ดังกล่าวยังคงความอุดมสมบูรณ์ไปด้วยป่าไม้และเป็นแหล่งต้นน้ำลำธาร มีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่มาก มีทัศนียภาพที่สวยงาม ตลอดจนโบราณสถานที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และกรมป่าไม้กำหนดและประกาศเป็นอุทยานแห่งชาติ
อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารมีทัศนียภาพและทิวทัศน์ที่สวยงามอยู่หลายแห่ง เช่น จุดชมวิวผามออีแดง จุดชมวิวหน้าผาช่องโพย บริเวณป่าและสวนหินรอบสระตราว ถ้ำฤาษี แหล่งตัดหิน สถูปคู่ ภาพสลักนูนต่ำใต้ผามออีแดง น้ำตกผาช่องโพย จุดชมวิว ภูเซี่ยงหม้อ ปราสาทโดนตวล และที่สำคัญคือ ปราสาทเขาพระวิหาร อันเป็นโบราณสถานสำคัญเก่าแก่ ที่เคยเป็นกรณีพิพาทระหว่างไทยกับประเทศกัมพูชา เมื่อพ.ศ. 2505 และในที่สุดศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ได้ตัดสินให้ตกเป็นสมบัติของประเทศกัมพูชา แต่ถนนและบันไดทางขึ้นสู่ปราสาทเขาพระวิหารอยู่ทางฝั่งไทย และพื้นที่ทางขึ้นบริเวณผามออีแดงที่จังหวัดศรีสะเกษเป็นทางขึ้นที่สะดวกที่สุด
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ
พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขาพระวิหารเป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งของเทือกเขาพนมดงรัก ลาดเอียงไปทางทิศเหนือกั้นพรมแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบสูง เนินเขามีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 200-500 เมตร เป็นแหล่งต้นน้ำของลำห้วยลำธารต่างๆ ได้แก่ ห้วยตามาเรีย ห้วยตานี ห้วยตาเงิด ห้วยตุง ห้วยตะแอก และห้วยบอน เป็นต้น
[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ
ป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ท้องที่อำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และอำเภอน้ำยืน จังหวัดอุบลราชธานี แบ่งออกได้เป็น 3 ฤดู คือ
- ฤดูร้อน ระหว่างเดือนมีนาคม – พฤษภาคม
- ฤดูฝน ระหว่างเดือนมิถุนายน – ตุลาคม
- ฤดูหนาว ระหว่างเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์
[แก้] พืชพรรณและสัตว์ป่า
เนื่องจากพื้นที่ของอุทยานส่วนใหญ่เป็นภูเขาลาดชัน เป็นเนินเขา สภาพป่าจึงประกอบด้วย
- ป่าเบญจพรรณ พันธุ์ไม้คละปะปนกันมาก เช่น ประดู่ มะค่าโมง แดง ชิงชัน ตะแบก มะเกลือ งิ้วป่า ฯลฯ พืชพื้นล่างมีหญ้าและไผ่ชนิดต่างๆ
- ป่าเต็งรัง มีต้นไม้ขนาดเล็กและขนาดกลางขึ้นอยู่กระจัดกระจาย พืชชั้นล่างมีหญ้าชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่ทั่วไป โดยเฉพาะหญ้าแพ้ว พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ เต็ง รัง พยอม เขลง ตะคร้อ ฯลฯ
- ป่าดิบแล้ง พบบริเวณที่ราบเรียบหรือหุบเขา พันธุ์ไม้ที่พบได้แก่ ตะเคียน พะยุง สมพง กระเบากลัก กัดลิ้น ข่อยหนาม ยาง กระบก ฯลฯ พืชพื้นล่างมีหวาย และพืชในตระกูลขิงข่าต่างๆ
สภาพป่าของป่าเขาพระวิหารและป่าฝั่งซ้ายลำโดมใหญ่ บนเทือกเขาพนมดงรักยังมีความอุดมสมบูรณ์ จึงมีสัตว์ป่านานาชนิดอาศัยอยู่ทั่วไป เช่น หมูป่า ลิงแสม พังพอนธรรมดา กระต่ายป่า หนูท้องขาว กระรอกหลากสี กระแตเหนือ ค้างคาวยอดกล้วยผีเสื้อ นกนางแอ่นลาย นกเขนน้อยปีกแถบขาว นกปรอดทอง นกแซงแซวหางบ่วงใหญ่ นกกินแมลงอกเหลือง นกปีกลายสก็อต จิ้งจกดินลายจุด ตุ๊กแกเขาหินทราย กิ้งก่าบินปีกสีส้ม จิ้งเหลนภูเขาเขมร ตะกวด งูดิน งูเหลือม งูแม่ตะงาว งูหัวกะโหลก กบหนอง เขียดจะนา กบหลังขีด กบนา ปาดบ้าน อึ่งข้างดำ และกบอ่อง เป็นต้น ในบริเวณพื้นที่แหล่งน้ำมีปลาหลากชนิดอาศัยอยู่ เช่น ปลากระสูบจุด ปลาตะเพียนทอง ปลานวลจันทร์เทศ ปลาช่อน ปลาหมอเทศ และปลาดุกด้าน เป็นต้น
[แก้] ติดต่อ
ติดต่อเพื่อขอข้อมูล หรือท่องเที่ยวได้ที่ ตู้ ปณ.14 อ. กันทรลักษ์ จ. ศรีสะเกษ 33110 โทรศัพท์ 0 4561 9214 หรือ อีเมล : reserve@dnp.go.th
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย |
---|
ภาคเหนือ | แก่งเจ็ดแคว · ขุนขาน · ขุนแจ · ขุนน่าน · ขุนพระวอ · ขุนสถาน · เขาค้อ · คลองตรอน · คลองลาน · คลองวังเจ้า · แจ้ซ้อน · เชียงดาว · ดอยขุนตาล · ดอยจง · ดอยผากอง · ดอยภูคา · ดอยภูนาง · ดอยเวียงผา · ดอยสุเทพ-ปุย · ดอยหลวง · ดอยอินทนนท์ · ตากสินมหาราช · ตาดหมอก · ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ · ถ้ำผาไท · ถ้ำสะเกิน · ทุ่งแสลงหลวง · นันทบุรี · น้ำตกชาติตระการ · น้ำตกพาเจริญ · น้ำตกแม่สุรินทร์ · น้ำหนาว · ภูซาง · ภูสอยดาว · ภูหินร่องกล้า · แม่เงา · แม่จริม · แม่ตะไคร้ · แม่โถ · แม่ปิง · แม่ปืม · แม่ฝาง · แม่เมย · แม่ยม · แม่วงก์ · แม่วะ · แม่วาง · รามคำแหง · ลานสาง · ลำน้ำกก · ลำน้ำน่าน · เวียงโกศัย · ศรีน่าน · ศรีล้านนา · ศรีสัชนาลัย · สาละวิน · ห้วยน้ำดัง · ออบขาน · ออบหลวง |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | แก่งตะนะ · เขาพระวิหาร · เขาใหญ่ · ตาดโตน · ตาพระยา · ไทรทอง · นาแห้ว · นายูง-น้ำโสม · น้ำพอง · ป่าหินงาม · ผาแต้ม · ภูกระดึง · ภูเก้า-ภูพานคำ · ภูจองนายอย · ภูเรือ · ภูแลนคา · ภูเวียง · ภูผาม่าน · ภูผายล · ภูผาเหล็ก · ภูพาน · ภูลังกา · ภูสระดอกบัว · มุกดาหาร |
ภาคกลาง | น้ำตกเจ็ดสาวน้อย · น้ำตกสามหลั่น · พุเตย |
ภาคตะวันออก | เขาคิชฌกูฏ · เขาชะเมา-เขาวง · เขาสิบห้าชั้น · เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด · ทับลาน · น้ำตกคลองแก้ว · น้ำตกพลิ้ว · ปางสีดา · หมู่เกาะช้าง |
ภาคตะวันตก | กุยบุรี · แก่งกระจาน · เขาสามร้อยยอด · เขาแหลม · เขื่อนศรีนครินทร์ · เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน · เฉลิมรัตนโกสินทร์ · ทองผาภูมิ · ไทรโยค · น้ำตกห้วยยาง · ลำคลองงู · หาดวนกร · เอราวัณ |
ภาคใต้ | แก่งกรุง · เขานัน · เขาน้ำค้าง · เขาปู่-เขาย่า · เขาพนมเบญจา · เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · เขาสก · เขาหลวง · เขาหลัก-ลำรู่ · คลองพนม · ตะรุเตา · ใต้ร่มเย็น · ทะเลบัน · ธารเสด็จ-เกาะพะงัน · ธารโบกขรณี · น้ำตกซีโป · น้ำตกทรายขาว · น้ำตกโยง · น้ำตกสี่ขีด · น้ำตกหงาว · บางลาง · บูโด-สุไหงปาดี · ลำน้ำกระบุรี · ศรีพังงา · สันกาลาคีรี · สิรินาถ · หมู่เกาะเภตรา · หมู่เกาะชุมพร · หมู่เกาะพยาม · หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง · หมู่เกาะลันตา · หมู่เกาะสิมิลัน · หมู่เกาะสุรินทร์ · หมู่เกาะอ่างทอง · หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ · หาดเจ้าไหม · หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี · แหลมสน · อ่าวพังงา · อ่าวมะนาว-เขาตันหยง |