มาร์กาเร็ต แทตเชอร์
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มาร์กาเร็ต (ฮิลดา) แทตเชอร์ หรือ บารอนเนส แทตเชอร์ แห่ง เคสตีเวน (Baroness Thatcher of Kesteven or Margaret (Hilda) Thatcher พ.ศ. 2468-)รัฐสตรี และนายกรัฐมนตรีแห่งสหราชอาณาจักร (พ.ศ. 2522-2533) เกิดที่เมืองแกรนแธม ลิงคอล์นไชร์
[แก้] การศึกษา
ได้รับการศึกษาจากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด จบแล้วทำงานเป็นนักวิจัยทางเคมี (พ.ศ. 2490-2494)สมรสกับนายแดนิส แทตเชอร์ ในปี พ.ศ, 2494 ศึกษาต่อด้านกฎหมายสอบได้เนติบัณฑิต ในปี พ.ศ. 2497
[แก้] ชีวิตทางการเมือง
แทตเชอร์เข้าสู่การเมืองได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสถาผู้แทนราษฎรแห่งฟินช์เลย์เป็นครั้งแรก พ.ศ. 2502 ร่วมเป็นรัฐมนตรีในรัฐบาลเงา พ.ศ. 2510 ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการและวิทยาศาสตร์ในปี พ.ศ. 2513-2517 เป็นอัครมหาเสนาบดีเงาร่วม (joint shadow Chancellor) พ.ศ. 2517-18 และใน พ.ศ. 2520 ได้เป็นหัวหน้าพรรคอนุรักษ์นิยมแทนนาเอ็ดเวิร์ด ฮีท แทตเชอร์เป็นหัวหพรรคการเมืองสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์การเมืองของอังกฤษ
ด้วยการนำโดยแทตเชอร์ พรรคอนุรักษ์นิยมได้กลายเป็นพรรคขวาจัดมากขึ้น ทำให้การเมืองและสังคมของประเทศอังกฤษแบ่งขั้วมากที่สุดนับแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 รัฐบาลแทตเชอร์ได้ใช้นโยบายปฏิรูปที่ค่อนข้างรุนแรง สนับสนุนกิจการเอกชน แปรรูปรัฐวิสาหกิจทั้งอุตสาหกรรมและสาธารณุปโภคที่รัฐบาลก่อนๆ ยึดเป็นของรัฐคืนเอกชนด้วยการกระจายหุ้น ลดบทบาทสหภาพแรงงาน ลดภาษีเงินได้ และพยายามจัดตั้งบรรษัทขึ้นดูแลการศึกษาและสาธารณสุขที่เป็นหน้าที่ของรัฐ
แทตเชอร์ได้รับเลือกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 2 ในปี พ.ศ. 2526 โดยได้เสียงข้างมากทั้งๆ ที่อัตราการว่างงานของอังกฤษต่ำที่สุดในรอบ 50 ปี สงครามฟอล์กแลนด์และความระส่ำระสายของพรรคฝ่ายค้านทำให้ความนิยมแทตเชอร์เพิ่มมากขึ้นและได้รับเลืกกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลวาระที่ 3 ในปี พ.ศ. 2530 และเมื่อถึงปี พ.ศ. 2531 แทตเชอร์ได้ทำสถิติกลายเป็นนายกรัฐมนตรีอังกฤษที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในคริสต์ศตวรรษ ที่ 20 แทตเชอร์ได้รับการขนานนามว่า “ลัทธิแทตเชอร์” (Thatcherism) และด้วยเหตุผลที่แทตเชอร์เป็นผู้ดึงดันยึดมั่นในนโยบายอย่างมั่นคงไม่ว่าจะถูกคัดค้านจากนักวิจารณ์ว่าอย่างไร รวมทั้งจากการกังขาไม่แน่ใจของผู้สนับสนุนรัฐบาลเองด้วย
[แก้] บั้นปลายชิวิต
แทตเชอร์ได้ลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2533 สืบเนื่องจากการต่อสู้ภายในพรรคและการถกเถียงโต้แย้งกับฝ่ายค้านในประเด็นที่แทตเชอร์ไม่ยอมเสียเอกราชในการเข้าเป็นสมาชิกเศรษฐกิจประชาคมยุโรป รวมทั้งการเสื่อมความนิยมจากการไม่เห็นด้วยเกี่ยวกับนโยบายผู้มีสิทธิ์ออกเสียง (Poll Tax)
หลังจากได้รับการแต่งตั้งเป็นขุนนางตลอดชีพชั้นบารอน แทตเชอร์ได้ตระเวณปาฐกถาไปทั่วโลกในนามของมูลนิธิแทตเชอร์ และได้ตีพิมพ์หนังสืออัตชีวประวัติชื่อ "มากาเรต แทตเชอร์: ชีวิตในดาวนิงสตรีท" (Margaret Thatcher: the Downing Street Years) เมื่อปี พ.ศ. 2536