ภาษาเวียดนาม
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาษาเวียดนาม (Tiếng Việt เตี๊ยงเหวียด) |
||
---|---|---|
พูดใน: | เวียดนาม สหรัฐอเมริกา กัมพูชา ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย | |
จำนวนคนพูดทั้งหมด: | 70–73 ล้าน | |
อันดับ: | 13–17 (ภาษาแม่) ใกล้เคียงกับ ภาษาเกาหลี ภาษาเตลูกู ภาษามาราธี และภาษาทมิฬ | |
ตระกูลของภาษา: | ออสโตรเอเชียติก มอญ-เขมร (กำลังเป็นที่ถกเถียง) เหวียด-เหมื่อง ภาษาเวียดนาม |
|
สถานะทางการ | ||
ภาษาราชการของ: | เวียดนาม | |
องค์กรควบคุม: | ไม่มี | |
รหัสภาษา | ||
ISO 639-1: | vi | |
ISO 639-2: | vie | |
ISO/DIS 639-3: | vie | |
หมายเหตุ: หน้านี้อาจจะมีตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ IPA ในลักษณะยูนิโคด |
ภาษาเวียดนาม (Tiếng Việt) เป็นภาษาที่มีวรรณยุกต์ และเป็นภาษาราชการของประเทศเวียดนาม เป็นภาษาแม่ของประชากรเวียดนามถึง 87% รวมถึงผู้อพยพจากเวียดนามประมาณ 2 ล้านคน และรวมถึงชาวเวียดนาม-อเมริกันเป็นจำนวนพอสมควรด้วย. ถึงแม้ว่าจะมีการยืมคำศัพท์จากภาษาจีน และเดิมใช้อักษรจีนเขียน, แต่นักภาษาศาสตร์ยังคงจัดภาษาเวียดนามให้เป็น ภาษากลุ่มออสโตรเอเซียติก, ซึ่งในกลุ่มนี้ภาษาเวียดนามมีผู้พูดมากที่สุด (10 เท่า ของภาษา ที่มีจำนวนคนพูดเป็นอันดับรองลงมา คือ ภาษาเขมร)ในด้านระบบการเขียนของภาษาเวียดนามนั้น แต่เดิมใช้ตัวเขียนจีน เรียกว่า "จื๋อญอ" ต่อมาชาวเวียดนามได้พัฒนาตัวเขียนจีนเพื่อใช้เขียนภาษาเวียดนาม เรียกว่า "จื๋อโนม" แต่ในปัจจุบันเวียดนามใช้ตัวอักษรโรมันที่พัฒนาขึ้นโดยมิชชันนารีชาวโปรตุเกส
สารบัญ |
[แก้] ตระกูลภาษา
ภาษาเวียดนามจัดอยู่ในสาขาเหวียด-เหมื่อง (Viet-Muong) ซึ่งเป็นสาขาหนึ่งในตระกูลภาษามอญ-เขมร (Mon-Khmer)หรือตระกูลออสโตรเอเชียติก (Austroasiatic)ประกอบด้วยภาษาเขมร ภาษามอญ ภาษามุนดะ เป็นต้น แต่นักภาษาศาสตร์บางส่วนเห็นว่าควรจัดภาษาเวียดนามให้เป็นอีกสาขาหนึ่ง แยกจากภาษามอญ-เขมร
[แก้] ลักษณะภาษา
นักภาษาศาสตร์ได้ศึกษาภาษาเวียดนามและจัดให้อยู่ในภาษาตระกูลออสโตรเอเชียติก เช่นเดียวกับภาษาเขมร ซึ่งเป็นภาษาระบบคำสองพยางค์ (Disyllable)และมีลักษณะน้ำเสียง (Register) เป็นลักษณะสำคัญของภาษา อีกทั้งเป็นภาษาที่ไม่มีระบบเสียงวรรณยุกต์ แต่ภาษาเวียดนามปัจจุบันได้พัฒนาระบบเสียงวรรณยุกต์ขึ้นใช้ เนื่องจากอิทธิพลของภาษาที่มีเสียงวรรณยุกต์ อันได้แก่ ภาษาตระกูลไท (Tai familly) ที่อยู่โดยรอบ และภาษาจีนที่เข้ามาปกครองเวียดนามในขณะนั้น
[แก้] วรรณยุกต์
สระในภาษาเวียดนามนั้น ออกเสียงโดยมีวรรณยุกต์ภายใน (thanh หรือ thanh điệu) โดยวรรณยุกต์ มีความแตกต่างกันที่
- ระดับเสียง
- ความยาว
- น้ำเสียงขึ้นลง
- ความหนักแน่น
- การออกเสียงคอหอย (ลักษณะเส้นเสียง)
เครื่องหมายกำกับวรรณยุกต์นั้น ปกติจะเขียนเหนือหรือใต้สระ (ส่วนใหญ่เขียนไว้เหนือสระ แต่วรรณยุกต์ หนาง (nặng) เป็นจุดใต้สระ) วรรณยุกต์ทั้ง 6 ในภาษาถิ่นเหนือ (รวมฮานอยด้วย) มีดังนี้
ชื่อ | ลักษณะ | เครื่องหมาย | ตัวอย่าง | ตัวอย่างสระ |
---|---|---|---|---|
ngang 'ระดับ' | สูงระดับ | (ไม่มีเครื่องหมาย) | ma 'ผี' | a ฟังเสียง |
huyền 'แขวน' | ต่ำตก | ` (grave accent) | mà 'แต่' | à ฟังเสียง |
sắc 'คม' | สูงขึ้น | ´ (acute accent) | má 'แก้ม, แม่ (ถิ่นใต้)' | á ฟังเสียง |
hỏi 'ถาม' | ต่ำขึ้น | ̉ (hook) | mả 'หลุมศพ, สุสาน' | ả ฟังเสียง |
ngã 'ตก' | สูงขึ้นหยุด | ˜ (tilde) | mã 'ม้า (จีน-เวียดนาม), รหัส' | ã ฟังเสียง |
nặng 'หนัก' | ต่ำตกหยุด | ̣ (จุดใต้) | mạ 'สีข้าว' | ạ ฟังเสียง |
[แก้] สำเนียงท้องถิ่น
ภาษาเวียดนามมีสำเสียงท้องถิ่นที่หลากหลาย แต่โดยมากถือว่ามี 3 หลัก ดังนี้
ถิ่นหลัก | ท้องถิ่น | ชื่อในยุคอาณานิคมของฝรั่งเศส |
---|---|---|
เวียดนามตอนเหนือ | ถิ่นฮานอย, ถิ่นอื่นทางเหนือ: ไฮฟอง และถิ่นระดับจังหวัดจำนวนมาก | Tonkin |
เวียดนามตอนกลาง | ถิ่นฮเว้, ถิ่นเหง่ อัน, ถิ่นกว๋าน นาม | อันนัมสูง |
เวียดนามตอนใต้ | ถิ่นไซ่ง่อน , ถิ่นแม่น้ำโขง (ตะวันตกไกล) | โคชินจีน |
ภาษาถิ่นเหล่านี้มีน้ำเสียง การออกเสียง และบางครั้งก็มีคำศัพท์ที่แตกต่างไปบ้าง แม้ว่าภาษาถิ่นฮเว้จะมีคำศัพท์ที่แตกต่างค่อนข้างมากจากอื่นก็ตาม วรรณยุกต์ "หอย" และ "งะ" มีความแตกต่างในภาคเหนือ แต่กลืนเป็นวรรณยุกต์เดียวกันในภาคใต้
เสียง "ch" และ "tr" นั้นออกเสียงแตกต่างกันในถิ่นใต้และกลาง แต่รวมเป็นเสียงเดียวในถิ่นเหนือ สำหรับความแตกต่างด้านไวยากรณ์นั้นไม่ปรากฏ
[แก้] ระบบการเขียน
อักษรโรมันที่ใช้ส่วนใหญ่ ออกเสียงคล้ายในภาษาอังกฤษ ยกเว้นอักษรต่อไปนี้
- "ph" คล้าย "ฟ"
- ชนบทภาคใต้ "v" ออกเสียงคล้าย "ย" (สำเนียงฮานอย และภาคใต้มาตรฐาน "v" ออกเสียงเหมือน "v" ในภาษาอังหฤษ)
- "đ" คล้ายเสียง /d/ ในภาษาฝรั่งเศสหรือสเปน คล้าย "ด" ส่วน อักษร "d" คล้าย "ซ"
- "t" คล้ายเสียง "ต"
- "th" ออกเสียง "ท, ถ"
- "x" ออกเสียงคล้าย "ส"
- สำเนียงฮานอย อักษร "d" ออกเสียงคล้าย "z" ในภาษาอังกฤษ แต่สำเนียงไซง่อน ออกเสียงคล้าย "ย"
- "ch" คล้าย "จ"
- "nh" คล้าย "ญ" ในภาษาถิ่นเหนือ หรืออีสาน
- "c" คล้าย "ค"
- "kh" คล้าย "ch" ในภาษาสกอตหรือเยอรมัน หรือ "kh" ในภาษาอาหรับหรือเปอร์เซีย
- "g" คล้าย "g" ภาษาดัตช์ หรือ กรีกปัจจุบัน "gh" (Γ)
- สำหรับ "gi" ของเวียดนามนั้น สำเนียงฮานอย ออกเสียงคล้าย "z" ในภาษาอังกฤษ แต่สำเนียงไซ่ง่อน ออกเสียงคล้าย
- "ng" ออกเสียงคล้าย " ง"
- "tr" คล้าย "จ" หรือ "ทร"
- "s" ออกเสียงคล้าย "sh" ในภาษาอังกฤษ (สำเนียงฮานอย "s" ออกเสียงคล้าย "ส")
- "qu" สำเนียงไซ่งอน ออกเสียงคล้าย "ว" (สำเนียงฮานอย "qu" ออกเสียง "คว")
- "r" สำเนียงไซ่ง่อน ออกเสียงหลากหลาย เช่น
- 1) "j" ในภาษาฝรั่งเศส หรือ
- 2) "r" ในภาษาสเปน หรือ
- 3) "rr" (ร รัวลิ้น) ในภาษาสเปน (สำเนียงฮานอย "r" เหมือนกับ "z" ในภาษาอังกฤษ)
การเทียบเสียงนี้ เป็นการเทียบโดยประมาณเท่านั้น และไม่อาจเทียบกับเสียงพยัญชนะท้ายพยางค์ โดยเฉพาะสำเนียงทางใต้
ตัวอย่าง ประโยคคำพูดที่ใช้ในชีวิตประจำวัน Xin chào ซิน จ่าว สวัสดี Bạn บั่ง เพื่อน
ภาษาเวียดนาม เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาษาเวียดนาม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |