หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล (24 ตุลาคม 2446 - 5 ตุลาคม 2538) ผู้ก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา เมื่อวันที่ 3 มกราคม 2480 นักเรียนเริ่มเรียน ในเดือนพฤษภาคม 2481 โดยมี ฯพณฯ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ คนแรกของโรงเรียน และในขณะที่ท่านดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงศึกษาธิการ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ท่านได้รับการยกย่อง เชิดชูเกียรติ เป็นศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ เมื่อ ปี พ.ศ. 2538 และยังได้รับรางวัลดีเด่นอื่นๆอีกมากมาย
สารบัญ |
[แก้] ชีวประวัติ
เกิดวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2446 ณ บ้าน ถนนอัษฎางค์ กรุงเทพฯ บุตรคนที่ 6 พี่น้อง 13 คน ของเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี (หม่อมราชวงศ์เปีย มาลากุล) และ ท่านผู้หญิงเสงี่ยม ท่านมีพี่น้องร่วมบิดามารดา และรวมท่านแล้วทั้งหมด 8 คน คือ
- หม่อมหลวงปก
- หม่อมหลวงปอง เทวกุล สมรสกับหม่อมเจ้าสุรวุฒิประวัติ เทวกุล
- หม่อมหลวงเปนศรี
- หม่อมหลวงปนศักดิ์
- หม่อมหลวงป้อง
- หม่อมหลวงปิ่น
- หม่อมหลวงเปี่ยมสิน
- หม่อมหลวงปานตา สมรสกับนายเมืองเริง วสันตสิงห์
[แก้] ประวัติการศึกษา
ม.ล.ปิ่น มาลากุลเข้าศึกษาระดับมัธยมศึกษา ณ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย หลังจากนั้น ได้โอกาสเดินทางไปศึกษาต่อยังประเทศ อังกฤษ โดยไปเข้าเรียนที่ The School of Oriental and African Studies, University of London (SOAS) หรือวิทยาลัยบูรพศึกษาและอาฟริกาศึกษา มหาวิทยาลัยลอนดอน พ.ศ. 2464 จนได้รับประกาศนียบัตรวิชาภาษาและวรรณคดีบาลี และสันสกฤต แล้วได้ย้ายไปศึกษาต่อที่
คณะบูรพคดีศึกษา (Faculty of Oriental Studies) สถาบันตะวันออกของ มหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ประสบความสำเร็จ โดยได้ปริญญาตรี (B.A.)เกียรตินิยม สาขาบูรพคดีศึกษา (Oriental Studies) วิชาเอกภาษาบาลีและสันสกฤต พ.ศ. 2471 และได้ศึกษาต่อระดับปริญญาโท จนสำเร็จการศึกษา M.A. จากมหาวิทยาลัยเดียวกัน พ.ศ. 2474 ระหว่างที่ศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ท่านสังกัดวิทยาลัยบเร๊สโนส (Brasenose College) สำหรับชีวิตคู่ ท่านได้ประสบพบ รักและสมรสกับท่านผู้หญิงดุษฎี (ไกรฤกษ์) มาลากุล แต่ไม่มีบุตรธิดา
ม.ล.ปิ่น มาลากุล เป็นนักเรียนมหาดเล็กรับใช้ถวายงานพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ก่อนจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จปริญญาโทจากมหาวิทยาลัยอ๊อกซฟอร์ด ก็ได้เข้าทำงานประจำกรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ ต่อมาได้ย้ายไปเป็นอาจารย์ที่ภาควิชาภาษาไทย ของคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] การก่อตั้งโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
ในปีแรก ๆ โรงเรียนได้เจริญขึ้นเป็นลำดับ เช่น ทางด้านวิชาการมีผลเป็นที่น่าพอใจ การสร้างตึก 2 แล้วเสร็จในปี พุทธศักราช 2482 และต่อมาได้สร้างตึก 3 ไปจนจดถนนอังรีดูนังต์ ในเวลานี้นอกจากผลงานทางด้านวิชาการจะเป็นที่น่าพอใจแล้ว นักเรียนยังได้แสดงความสามารถในการเล่นกีฬาต่างๆ ที่หม่อมหลวงปิ่น มาลากุลได้นำเข้ามาในโรงเรียน เช่น ฮอกกี้ รักบี้ และฟุตบอล เข้าเกณฑ์ที่กล่าวได้ว่า "เรียนก็เด่น เล่นก็ดี กีฬาเลิศ"
นอกจากนี้หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ยังมีวิสัยทัศน์อันกว้างไกล ในการดำเนินการศึกษา ให้แก่นักเรียนเตรียมอุดมศึกษา ด้วยเล่งเห็นว่า โรงเรียนนี้เป็นโรงเรียนที่มุ่งเตรียมเข้าสู่ระดับอุดมศึกษา จึงจัดสหศึกษาของวัยรุ่นด้วยความรอบคอบระมัดระวัง โดยการเตรียมความพร้อมด้านวิชาการ ควบคู่คุณธรรมดังที่ท่านเคยกล่าวไว้ว่า
" อันอำนาจใดใดในโลกนี้
ไม่เห็นมีเปรียบปานการศึกษา
สร้างคนหาค่ามิได้ในโลกา
ขึ้นมาจากคนที่หาค่าไม่ได้ "
" อันตึกงามกับสนามกว้างสร้างขึ้นได้
มีเงินหยิบโยนให้ก็เสร็จสรรพ์
แต่งามจิตใจกว้างนั้นต่างกัน
การอบรมเท่านั้นเป็นปัจจัย "
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้วางระเบียบและข้อปฏิบัติงานไว้อย่างเหมาะสม นับเป็นประโยชน์แก่การศึกษา เป็นอย่างดียิ่ง เช่น
มีแผนทะเบียนเป้นศูนย์กลางขึ้นตรงต่อผู้อำนวยการประสานงานฝ่ายวิชาการและ การปกครอง จัดทำทะเบียนประวัติย่อของนักเรียนที่เข้าเรียนแต่ปีแรก มีสถิติการเรียนและการสอบต่างๆ บันทึกไว้เพื่อให้ทราบพฤติกรรมของนักเรียน วางระเบียบให้มีรางวัลคะแนนรวมให้แก่นักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยม มีการจารึกนามนักเรียนที่ได้คะแนนยอดเยี่ยมไว้ที่แผ่นเกียรติยศการศึกษาเป็นตัวอักษรสีทอง ไว้ในห้องประชุมของโรงเรียน (ปัจจุบันคือห้อง 111 ตึก 2) นอกจากนี้ท่านยังได้คิดการแข่งขันกีฬา ให้เฉพาะโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาเรียกว่า การแข่งขันวิ่งสามสระ เป็นกีฬาที่หญิงชายเล่นร่วมกันได้
หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 5 ตุลาคม 2538 รวมอายุได้ 91 ปี เมื่อวันที่ 3 พฤศจิกายน 2544 ท่านได้รับการประกาศเชิดชูเกียรติ จากองค์การยูเนสโก ยกย่องท่านเป็น "นักการศึกษาดีเด่นของโลก ในสาขาวรรณกรรมและสื่อสาร" ถือเป็นความภาคภูมิใจของชาวเตรียมอุดมทุกคน โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา อันเชิญรูปปั้น ฯพณฯ ศ.ม.ล. ปิ่น มาลากุล จากหอวชิราวุธานุสรณ์ มาประดิษฐาน ห้อง 57 ตึก 1 เมื่อวันที่ 25 ธันวาคม 2545
ในวันที่ 24 ตุลาคม 2546 เป็นวาระครบรอบ 100 ปีของ ฯพณฯ ศ. ม.ล. ปิ่น มาลากุล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาจึงดำริที่จะจัดกิจกรรมต่างๆ เพื่อน้อมรำลึกถึงพระคุณของท่าน นับแต่นี้ต่อไปก็จะมีเพียงการสานต่อแนวความคิดของ ฯพณฯ ให้ปรากฏเป็นผลสมเจตจำนง อย่างเป็นรูปธรรม เพื่อประโยชน์ของเยาวชน และสังคมไทยตลอดไป
[แก้] อ้างอิงจาก
เสนาบดี (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาภาสกรวงศ์ (พร บุนนาค) · เจ้าพระยาวิชิตวงษ์วุฒิไกร · เจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดี · เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงธรรมการ) |
เจ้าพระยาธรรมศักดิ์มนตรี · พระยาพหลพลพยุหเสนา · พระสารสาสน์ประพันธ์ · สินธุ์ กมลนาวิน |
รัฐมนตรีว่าการ (กระทรวงศึกษาธิการ) |
แปลก พิบูลสงคราม · ประยูร ภมรมนตรี · ทวี บุณยเกตุ · พระตีรณสารวิศวกรรม · เดือน บุนนาค · พระยาศราภัยพิพัฒ · เสนีย์ ปราโมช · มังกร พรหมโยธี · สวัสดิ์ ส. สวัสดิเกียรติ · เลียง ไชยกาล · มุนี มหาสันทนะ เวชยันต์รังสฤษฎ์ · ปิ่น มาลากุล · สุกิจ นิมมานเหมินท์ · อภัย จันทวิมล · เกรียง กีรติกร · ก่อ สวัสดิ์พาณิชย์ · นิพนธ์ ศศิธร · ประชุม รัตนเพียร · ศิริ สิริโยธิน · ภิญโญ สาธร · บุญสม มาร์ติน · สิปปนนท์ เกตุทัต · เกษม ศิริสัมพันธ์ · ชวน หลีกภัย · มารุต บุนนาค · มานะ รัตนโกเศศ · เทียนชัย สิริสัมพันธ์ · สมบุญ ระหงษ์ · สัมพันธ์ ทองสมัคร · สุขวิช รังสิตพล · ชิงชัย มงคลธรรม · ชุมพล ศิลปอาชา · ปัญจะ เกสรทอง · สมศักดิ์ ปริศนานันทกุล · เกษม วัฒนชัย · ทักษิณ ชินวัตร · สุวิทย์ คุณกิตติ · ปองพล อดิเรกสาร · อดิศัย โพธารามิก · จาตุรนต์ ฉายแสง · วิจิตร ศรีสอ้าน |