New Immissions/Updates:
boundless - educate - edutalab - empatico - es-ebooks - es16 - fr16 - fsfiles - hesperian - solidaria - wikipediaforschools
- wikipediaforschoolses - wikipediaforschoolsfr - wikipediaforschoolspt - worldmap -

See also: Liber Liber - Libro Parlato - Liber Musica  - Manuzio -  Liber Liber ISO Files - Alphabetical Order - Multivolume ZIP Complete Archive - PDF Files - OGG Music Files -

PROJECT GUTENBERG HTML: Volume I - Volume II - Volume III - Volume IV - Volume V - Volume VI - Volume VII - Volume VIII - Volume IX

Ascolta ""Volevo solo fare un audiolibro"" su Spreaker.
CLASSICISTRANIERI HOME PAGE - YOUTUBE CHANNEL
Privacy Policy Cookie Policy Terms and Conditions
อาณาจักรล้านนา - วิกิพีเดีย

อาณาจักรล้านนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์ไทย
บ้านเชียง ประมาณ 5000 ปีที่แล้ว
อาณาจักรทวารวดี ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5 ถึง 15
อาณาจักรศรีวิชัย ระหว่างพุทธศตวรรษที่ 5 ถึง 18
ละโว้ พ.ศ. ?
แคว้นเชียงแสน พ.ศ. 1088-พ.ศ. 1181
แคว้นเงินยางเชียงแสน พ.ศ. 1181-พ.ศ. 1805
อาณาจักรหริภุญชัย พ.ศ. 1206-พ.ศ. 1836
อาณาจักรสุโขทัย พ.ศ. 1781-พ.ศ. 1981
อาณาจักรล้านนา พ.ศ. 1802-พ.ศ. 2482
อาณาจักรอยุธยา พ.ศ. 1893-พ.ศ. 2310
กรุงธนบุรี พ.ศ. 2310-พ.ศ. 2325
กรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
ปฏิรูปการปกครอง พ.ศ. 2475
สถานีย่อย:ประเทศไทย

อาณาจักรล้านนา คือ อาณาจักรที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน แพร่ พะเยา น่าน ลำพูน และ ลำปาง โดยมีเมืองเชียงใหม่ เป็นราชธานี มีภาษาที่เรียกว่า คำเมือง หรือภาษาเหนือ ตัวหนังสือ ตัวเมือง วัฒนธรรม และ ประเพณี เป็นของตนเอง ก่อนที่จะเปลี่ยนแปลงระบบการปกครอง เป็นระบอบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 โดยมี พระเจ้าอินทวิชยานนท์, พระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 7 เป็นพระเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ ในฐานะราชอาณาจักรพระองค์สุดท้าย และ เจ้าแก้วนวรัฐ, เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ องค์ที่ 9 เป็นเจ้าผู้ปกครองนครองค์สุดท้าย ปัจจุบันเจ้านายฝ่ายเหนือและเชื้อสาย "ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)" อยู่ในราชตระกูล ณ เชียงใหม่ ณ ลำพูน ณ ลำปาง และ ณ น่าน

สารบัญ

[แก้] รายพระนามกษัตริย์แห่งล้านนา

[แก้] ราชวงศ์เม็งราย

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระยามังราย (พญาเม็งราย) 1804 - 1854 (50 ปี)
2 พระยาไชยสงคราม 1854 - 1868 (14 ปี)
3 พระยาแสนภู 1868 - 1877 (11 ปี)
4 พระยาคำฟู 1877 - 1879 (2 ปี)
5 พระยาผายู 1879 - 1898 (19 ปี)
6 พระยากือนา 1898 - 1928 (30 ปี)
7 พระยาแสนเมืองมา 1928 - 1944 (16 ปี)
8 พระยาสามฝั่งแกน 1945 - 1984 (39 ปี)
9 พระยาติโลกราช 1984 - 2030 (46 ปี)
10 พระยายอดเชียงราย 2030 - 2038 (8 ปี)
11 พระยาเมืองแก้ว 2038 - 2068 (30 ปี)
12 พระยาเกศเชษฐราช (พระเมืองเกษเกล้า) ครั้งที่ 1 2068 - 2081 (13 ปี) ครั้งที่ 2 2086 - 2088 (2 ปี)
13 เจ้าสาชายายคำ 2081 - 2086 (5 ปี)
14 พระนางจิรประภา 2088 - 2089 (1 ปี)
15 พระไชยเชษฐา 2089 - 2090 (1 ปี)
16 พระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงศ์ (ท้าวเมกุ) 2094 - 2107 (13 ปี)
17 พระนางวิสุทธเทวี 2107 - 2121 (14 ปี)
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่
อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ คือ พญามังราย พญาร่วง (พ่อขุนรามคำแหงมหาราช) และพญางำเมือง ขณะทรงปรึกษาหารือการสร้างเมืองเชียงใหม่

[แก้] เจ้าผู้ครองเชียงใหม่ ภายใต้อำนาจพม่า

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 ท้าวแม่กุ (พระเมกุฎิ) พ.ศ. 2101-2107 (13 ปี)
2 พระนางวิสุทธเทวี พ.ศ. 2107-2121 (14 ปี)
3 สาวถีนรตรามังซอศรีมังสรธาช่อ พ.ศ. 2121-2150 (29 ปี)
4 พระช้อย (ครั้งที่ 1) พ.ศ. 2150-2151 (1 ปี)
5 พระชัยทิพ (มองกอยต่อ) พ.ศ. 2151-2156 (5 ปี)
6 พระช้อย (ครั้งที่ 2) พ.ศ. 2156-2158 (2 ปี)
7 เจ้าเมืองน่าน พ.ศ. 2158-2174 (16 ปี)
8 พระยาหลวงทิพเนตร พ.ศ. 2174-2198 (24 ปี)
9 พระแสนเมือง พ.ศ. 2198-2202 (4 ปี)
10 เจ้าเมืองแพร่ พ.ศ. 2202-2215 (13 ปี)
11 อุปราชอึ้งแซะ (เจ้ากรุงอังวะ) พ.ศ. 2215-2218 (3 ปี)
12 บุตรเจ้าเจกุตรา (เจพูตราย) พ.ศ. 2218-2250 (32 ปี)
13 มังแรนร่า พ.ศ. 2250-2270 (20 ปี)
14 เทพสิงห์ พ.ศ. 2270-2270 (ไม่ถึงหนึ่งปี)
15 องค์ดำ พ.ศ. 2270-???? (ไม่เป็นที่แน่ชัด)
16 เจ้าจันทร์ พ.ศ.????-2304 (ไม่เป็นที่แน่ชัด)
17 อดีตภิกษุวัดดวงดี (เจ้าขี้หุด) พ.ศ. 2304-2306 (2 ปี)
18 โป่อภัยคามินี (โป่อะเกียะคามุนี) พ.ศ. 2306-2311 (5 ปี)
19 โป่มะยุง่วน พ.ศ. 2311-2317 (6 ปี)

[แก้] ราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)

ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์
1 พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ 2325 - 2356 (31 ปี)
2 พระเจ้าช้างเผือกธรรมลังกา 2356 - 2365 (11 ปี)
3 เจ้าหลวงเศรษฐีคำฝั้น 2366 - 2368 (2 ปี)
4 เจ้าหลวงพุทธวงศ์ 2369 - 2389 (20 ปี)
5 พระเจ้ามโหตรประเทศ 2390 - 2397 (7 ปี)
6 พระเจ้ากาวิโลรสสุริยวงศ์ 2399 - 2413 (14 ปี)
7 พระเจ้าอินทวิชยานนท์ 2416 - 2439 (23 ปี)
8 เจ้าอินทวโรรสสุริยวงศ์ 2444 - 2452 (8 ปี)
9 พลตรี เจ้าแก้วนวรัฐ 2454 - 2482 (28 ปี)

[แก้] ประวัติ

[แก้] การก่อตั้ง

พญาเม็งราย เจ้าเมืองเงินยางเชียงแสน องค์ที่ 25 แห่งราชวงศ์ลาว ได้เริ่มตีเมืองเล็กเมืองน้อย ลุ่มแม่น้ำกก รวบรวมกัน แล้วตั้งเป็นแคว้นโยนก ซึ่งเป็นนามที่มาจากซึ่งโยนกนครซึ่งเจริญรุ่งเรืองมาก แต่ก็ได้ถูกแผ่นดินไหวทำลายลงเมื่อนานมาแล้ว ก่อนตั้งนคร ส่วนเมืองใหญ่ เช่น เมืองพะเยาของพญางำเมือง พระองค์ไม่ทรงตี แต่ทรงใช้วิธีผูกสัมพันธไมตรี หลังจากเมื่อตั้งแคว้นแล้ว พระองค์ได้แผ่อิทธิพลลงมาทางใต้ แล้วก็จึงสร้างเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลาง แทนเมืองเชียงแสน

หลังจากนั้นได้แผ่อิทธิพลลงทางใต้ และสร้างเมืองเชียงรายเป็นศูนย์กลางการปกครอง พระองค์จึงเข้าตีอาณาจักรหริภุญไชย (แคว้นหริภุญชัย) ซึ่งขณะนั้น มีความเจริญมั่นรุ่งเรืองมาก มีแม่น้ำปิงเป็นเส้นทางขนส่งไปยังเมืองอโยธยาตอนล่าง ที่อยู่ใกล้ทะเล และสามารถติดต่อค้าขายกับจีนได้สะดวก

หลังจากพญาเม็งรายตีได้แคว้นหริภุญไชยแล้ว พระองค์จึงได้รวมเข้ากับแคว้นโยนกตั้งเป็นราชอาณาจักร นามว่า "อาณาจักรล้านนา" พร้อมกันนั้น ได้มีพญามังราย พญางำเมืองแห่งแคว้นพะเยา และ พ่อขุนรามคำแหงแห่งราชอาณาจักรสุโขทัย มาร่วมกันสถาปนาเมืองราชธานีที่เมืองเวียงพิงค์ ตั้งชื่อให้ใหม่ว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" แต่ก่อนที่จะตั้งเมือง พระองค์ทรงได้สร้างเมืองชั่วคราวขึ้นก่อน ซึ่งเรียกว่า เวียงกุมกาม ในปัจจุบัน เมื่อปี พ.ศ. 1839 เป็นศูนย์กลางการปกครองราชอาณาจักรล้านนา มีที่ตั้งอยู่ระหว่างเชิงดอยอ้อยช้าง (ดอยสุเทพ) และ บริเวณที่ราบฝั่งขวาของแม่น้ำปิง (พิงคนที)


[แก้] การเมือง การปกครอง สมัยราชวงศ์เม็งราย

พญาเม็งรายมหาราชทรงส่งพระญาติวงศ์ของพระองค์ ไปปกครองหัวเมืองต่างๆ ที่เป็นเมืองขึ้น หรือเมืองที่สร้างขึ้นใหม่ เช่น เมืองเขลางค์ (ลำปาง) เมืองเขมรัฐเชียงตุง (ในพม่า) และ เชียงรุ้ง (สิบสองพันนาในจีน) ทรงส่งพระราชโอรสไปปกครอง เมืองที่ใหญ่และสำคัญๆ ได้แก่ เมืองนาย (หัวเมืองไทไหญ่) และเชียงราย ซึ่งเคยเป็นเมืองราชธานีของล้านนา

รัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช (พ.ศ. 1985-2030) กษัตริย์องค์ที่ 9 ราชวงศ์เม็งราย พระองค์ได้รับการยกย่องให้มีฐานะเป็น "ราชาธิราช" พระองค์ทรงแผ่ขยายขอบขัณฑสีมาของอาณาจักรล้านนาให้ยิ่งใหญ่และกว้างขวางกว่าเดิม

  • ด้านทิศตะวันออก เมืองนันทบุรี (น่าน) แพร่ จรดถึง หลวงพระบาง
  • ด้านทิศตะวันตก ขยายไปจนถึงรัฐฉาน (ตะวันตกเฉียงเหนือของพม่า) เช่น เมืองไลคา สีป้อ ยองห้วย
  • ด้านเหนือ เมืองเชียงรุ้ง เมืองยอง

ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราช อาณาจักรล้านนา ยังได้ทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยา ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ ตรงกับรัชสมัยของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ นานถึง 25 ปี โดยมีสาเหตุมาจากความต้องการในการแผ่อิทธิพลเข้าไปในสุโขทัยของทั้งสองอาณาจักร แต่ไม่มีฝ่ายไหนได้ชัยชนะอย่างเด็ดขาด ทั้งสองอาณาจักรจึงผูกสัมพันธไมตรีต่อกัน

[แก้] ล้านนาในฐานะประเทศราชของพม่า

อาณาจักรล้านนา เริ่มเสื่อมลงในปลายรัชสมัย "พญาแก้ว" เมื่อกองทัพเชียงใหม่ได้พ่ายแพ้แก่เชียงตุงในการทำสงคราม เสียชีวิตไพร่พลลงเป็นจำนวนมาก ประกอบกับเกิดอุทกภัยขึ้นในเมืองเชียงใหม่ ทำให้เสียชีวิตผู้คนลงอีกเป็นจำนวนมาก ทำให้บ้านเมืองเริ่มเกิดความไม่มั่นคง หลังจาก "พญาแก้ว" สิ้นพระชนม์ก็ได้มีการจลาจลแย่งชิงราชสมบัติ ขุนนางมีอำนาจมากขึ้น ถึงกับแต่งตั้งหรือถอดถอนเจ้าได้ เมื่อศูนย์กลางอำนาจเกิดสั่นคลอน เมืองในปกครองจึงแยกตัวเป็นอิสระ แย่งชิงอำนาจ และไม่ส่งเครื่องราชบรรณาการ

เมื่อกรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 1 "พระเจ้าบุเรงนอง" กษัตริย์พม่าได้เข้ายึดครองเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราช รวมทั้งได้เข้าได้ยึดเมืองลูกหลวงและเมืองบริเวณของเชียงใหม่ไปเป็นประเทศราชด้วย ในช่วงแรกนั้นทางพม่ายังไม่ได้เข้ามาปกครองเชียงใหม่โดยตรง เนื่องจากยุ่งกับการศึกกับกรุงศรีอยุธยา แต่ยังคงให้ "พระเจ้าเมกุฎิ" ทำการปกครองบ้านเมืองต่อตามเดิม แต่ทางเชียงใหม่จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการไปให้หงสาวดี ต่อมา "พระเจ้าเมกุฎิ" ทรงคิดที่จะตั้งตนเป็นอิสระ ฝ่ายพม่าจึงปลดออกและแต่งตั้ง "พระนางราชเทวี หรือ พระนางวิสุทธิเทวี" เชื้อสายราชวงค์เม็งรายพระองค์สุดท้าย ขึ้นเป็นเจ้าเมืองเชียงใหม่แทน จนกระทั่งพระนางราชเทวีสิ้นพระชนม์ ทางฝ่ายพม่าจึงได้ส่งเจ้านายทางฝ่ายพม่ามาปกครองแทน เพื่อคอยดูแลความเรียบร้อยของเมืองเชียงใหม่ ในสมัยนั้นเมืองเชียงใหม่เกือบจะเป็นเมืองพระยามหานครของพม่าแล้ว อีกประการหนึ่งก็เพื่อที่จะเกณฑ์พลชาวเชียงใหม่ และ เตรียมเสบียงอาหารเพื่อไปทำศึกสงครามกับทางกรุงศรีอยุธยา

อาณาจักรล้านนาในฐานะเมืองขึ้นของพม่าไม่ได้มีความสงบสุข มีแต่การกบฎแก่งแย่งชิงอำนาจกันอยู่ตลอดเวลา ไม่ใช่แต่เชียงใหม่อย่างเดียว เมืองอื่นๆในล้านนาก็ด้วย

เมื่อพม่าจะเข้ามาปกครองเมืองเชียงใหม่อย่างจริงจังอีกครั้งในปี พ.ศ. 2306 พม่าได้ใช้ล้านนาเป็นฐานสำคัญในการยกกองทัพเข้าไปตีกรุงศรีอยุธยา และ เป็นช่วงที่กรุงศรีอยุธยาแตกครั้งที่ 2 ดังนั้นอาณาจักรล้านนาจึงตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ากว่า 216 ปี

พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงใหม่ และ ดินแดนล้านนา
พระธาตุดอยสุเทพ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของจังหวัดเชียงใหม่ และ ดินแดนล้านนา

[แก้] ล้านนาในฐานะประเทศราชของสยาม สมัยราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน)

ภายหลังการกอบกู้เอกราชของล้านนาโดยการนำของ เจ้ากาวิละ, เจ้าผู้ครองนครลำปาง และเจ้าอนุชารวม 7 องค์ ภายใต้การสนับสนุนทัพหลวงใน สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้ว ล้านนาจึงได้เข้ามาอยู่ในฐานะประเทศราชของกรุงธนบุรีตั้งแต่นั้น

หลังจาก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงปราบดาภิเษกขึ้นครองราชย์เป็นองค์พระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรีแล้ว ด้วยความสัมพันธ์ในฐานะพระญาติระหว่างราชวงศ์จักรีและราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) เนื่องด้วย พระอัครชายาเธอ เจ้าครอกฟ้าศรีอโนชา ในสมเด็จฯ กรมพระราชวังบวรมหาสุรสิงหนาท เป็นพระขนิษฐาในเจ้ากาวิละ กอปรกับเจ้ากาวิละและเจ้านายฝ่ายเหนือได้ถวายความจงรักภักดีต่อราชวงศ์จักรี ได้ทรงกระทำการสู้รบขยายขอบขัณฑสีมาออกไปอย่างกว้างใหญ่ไพศาล ทรงกวาดต้อนผู้คนและสิ่งของจากหัวเมืองน้อยใหญ่ที่แตกในช่วงพม่ายึดครอง ได้ทรงสร้างบ้านแปงเมืองอาณาจักรฝ่ายเหนือ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เฉลิมพระนามเจ้ากาวิละขึ้นเป็น พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ เป็นพระเจ้าประเทศราชปกครอง 57 หัวเมืองฝ่ายเหนือ

พระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละได้ทรงส่งพระญาติเจ้านายบุตรหลานไปปกครองหัวเมืองน้อยใหญ่ โดยมี นครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน เป็นพระนครใหญ่ประเทศราช กำกับดูแลเมืองอื่นๆ มีอิสระในการปกครองราชอาณาจักร แต่ในฐานะประเทศราช ต้องมีหน้าที่ดังนี้

  • จะต้องส่งเครื่องราชบรรณาการ 3 ปี ต่อครั้ง โดยมี ต้นไม้ทอง ต้นไม้เงิน 1 คู่ และสิ่งของอีกส่วนหนึ่งเท่าที่เหมาะสมกับอำนาจของประเทศนั้นๆ
  • จะต้องส่งส่วยทุกปี สิ่งที่ดีที่สุดของเชียงใหม่ก็คือไม้สัก นอกจากนั้น เมื่อมีงานพระราชพิธี ล้านนาจะต้องไปร่วมด้วย อย่างเช่นส่ง ไม้สัก ผ้าขาว น้ำรัก ฯลฯ
  • ในยามศึกสงคราม ก็จะต้องเกณฑ์ไพร่พลไปร่วมด้วย อย่างเช่นเมื่อครั้ง เจ้าอนุวงศ์ แห่งนครเวียงจันทร์ คิดกบฏต่อกรุงเทพฯ

[แก้] เหตุการณ์ในรัชสมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์

ในรัชสมัยของ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ในวันที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2411 มีมิชชันนารีศาสนาจารย์แมคกิลวารี และ ครอบครัวอพยพขึ้นมาศัยอยู่ที่นครเชียงใหม่ ตั้งจุดประกาศศาสนาโดยเริ่มจัดการศึกษาแบบตะวันตก โดยมี นางโซเฟีย รอยซ์ แมคกิลวารี ได้เริ่มให้มีการศึกษาสำหรับสตรีครั้งแรกในปี พ.ศ. 2418

ต่อมาในปี พ.ศ. 2422 นางสาวแมรี แคมป์เบลล์ และ เอ็ดนา โคล ได้มาจัดระเบียบโรงเรียนสตรี บริเวณเชิงสะพานนวรัฐ จนกลายมาเป็นโรงเรียนดาราวิทยาลัยในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาสำหรับเด็กชายนั้น ได้มีการจัดตั้ง "โรงเรียนเด็กชายวังสิงห์คำ" ขึ้นที่บริเวณที่เรียกว่า วังสิงห์คำ เมื่อ พ.ศ. 2431 โดยมีศาสนาจารย์ เดวิด จี.คอลลินส์ เป็นผู้ก่อตั้ง ต่อมาเป็นโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย โรงเรียนดังกล่าวระยะแรกนั้น ใช้ภาษาอังกฤษและ ภาษาล้านนา (ตัวเมือง) ในการเรียนการสอน มีการพิมพ์ตำราด้วยอักษรล้านนา ในขณะที่ตัวหนังสือแป้นนั้นมีมาตั้งแต่ พ.ศ. 2379 แล้ว

ในช่วงเดียวกันนี้ บริษัททำป่าไม้ ซึ่งทยอยเข้ามาที่เมืองเชียงใหม่ เช่น บริษัทบริติชบอร์เนียว (British Borneo, เข้ามาในราว พ.ศ. 2407) บริษัทบอมเบย์ เบอร์มา (Bombay Burma, เข้ามาในราว พ.ศ. 2432) และ บริษัทสยามฟอเรสต์ (Siam Forest) เป็นต้น ได้นำเอาลูกจ้างชาวพม่า กะเหรี่ยง และชาวพื้นเมืองอื่นๆ เข้ามาทำงาน ดังนั้นจึงมีชาวอังกฤษและผู้ติดตามเข้ามาในล้านนามากขึ้น ทำให้เกิดการฟ้องศาลที่กรุงเทพฯ หลายคดี จากหลักฐานพบว่า ตั้งแต่ พ.ศ. 2401 - 2416 มีคดีความจำนวน 42 เรื่อง ตัดสินยกฟ้อง 31 คดี ส่วนอีก 11 คดีนั้นพบว่าเจ้านายทำผิดจริง จึงตัดสินให้จ่ายค่าเสียหายรวม 466,015 รูปี หรือ 372,812 บาท เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ในขณะนั้นคือ พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ได้ทรงขอชำระเพียงครึ่งเดียวก่อน ส่วนที่เหลือจะทรงชำระภายใน 6 เดือน แต่กงสุลอังกฤษไม่ยินยอม เรียกร้องให้เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ชำระทั้งหมด หรือมิฉะนั้นต้องจ่ายค่าดอกเบี้ย ซึ่งราชสำนักกรุงเทพฯ ก็ไม่ยินยอมด้วยเช่นกัน ดังนั้น เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ จึงทรงจ่ายค่าเสียหาย 150,000 รูปี (120,000 บาท) โดยราชสำนักกรุงเทพฯ ให้ยืมเงิน 310,000 รูปี (248,000 บาท) โดยต้องชำระคืนภายใน 7 ปี พร้อมทั้งดอกเบี้ยในรูปไม้สัก 300 ท่อนต่อปี

[แก้] การรวมเข้ากับสยาม

ในปี พ.ศ. 2369 พม่าได้เสียดินแดนหัวเมืองมอญให้แก่อังกฤษ ซึ่งมีอาณาเขตติดต่อกับล้านนา จึงมีชาวอังกฤษข้ามเข้ามาค้าขายและสัมปทานป่าไม้ในล้านนาจำนวนหนึ่ง เมื่ออังกฤษได้เข้าครอบครองดินแดนพม่าทางตอนล่าง อิทธิพลของอังกฤษก็ได้ขยายเข้าใกล้ชิดกับล้านนามากขึ้น มีชาวพม่าซึ่งอยู่ในบังคับของอังกฤษเข้ามาทำป่าไม้ในล้านนาจำนวนมาก ทำให้มีปัญหาเกี่ยวกับเรื่องการจัดสรรที่ดิน อังกฤษจึงเรียกร้องให้รัฐบาลกลางเข้ามาแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

ในปี พ.ศ. 2416 ราชสำนักกรุงเทพฯ จึงได้ส่ง "พระนรินทรราชเสนี (พุ่ม ศรีไชยยันต์)" ไปเป็นข้าหลวงดูแลสามหัวเมืองใหญ่ประจำที่นครเชียงใหม่ เพื่อควบคุมดูแลปัญหาในนครเชียงใหม่ นครลำปาง และนครลำพูน แต่ก็ยังมิสามารถแก้ไขปัญหาได้ ขณะนั้นหัวเมืองขึ้นของพม่าเป็นจำนวนมากต่างประกาศเป็นอิสระ และได้ยกกำลังเข้าโจมตีหัวเมืองชายแดนล้านนา ความวุ่นวายที่เกิดขึ้นนี้เกินกำลังที่เชียงใหม่ และเมืองบริวารจะจัดการได้ ในขณะนั้นสถานการณ์ภายในเมืองเชียงใหม่ก็มีปัญหา เนื่องจาก พระเจ้าอินทวิชยานนท์ ทรงชราภาพขาดความเข้มแข็งในการปกครอง เจ้านายชั้นสูงเริ่มแก่งแย่งชิงอำนาจกัน

ในขณะเดียวกันอังกฤษก็ได้ขยายอิทธิพลเข้าสู่ล้านนา โดย สมเด็จพระบรมราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ได้ทรงส่งราชทูตมาทูลขอ เจ้าดารารัศมี ราชธิดาองค์เล็กในพระเจ้าอินทวิชยานนท์ ไปเป็นพระราชธิดาบุญธรรม เมื่อความทราบถึงพระกรรณใน พ.ศ. 2426 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิชิตปรีชากร (เวลานั้นดำรงตำแหน่งเทียบได้กับผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในภาคพายัพ) โปรดเกล้าฯ ให้จัดพระราชพิธีโสกันต์ และอัญเชิญพระกุณฑล (ตุ้มหู) และพระธำมรงค์เพชรไปพระราชทานเป็นของขวัญแด่เจ้าดารารัศมี โดยทรงรับสั่งว่า การพระราชทานของขวัญดังกล่าวเพื่อเป็นการหมั้นหมาย หลังจากนั้น 3 ปี เจ้าดารารัศมี จึงได้โดยเสด็จพระราชบิดาลงมาถวายตัวในวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2429 (ตรงกับวันพฤหัสบดี ขึ้น 11 ค่ำ เดือน 3 ปีจอ อัฐศก จุลศักราช 1248) ซึ่งต่อมาภายหลัง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทานสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นเป็น พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ทั้งนี้ ยังได้ทรงโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ถวายแด่พระเจ้าอินทวิชยานนท์ อันเป็นการแสดงนัยยะว่าทรงนับเนื่องเป็นพระบรมวงศานุวงศ์ชั้นผู้ใหญ่ในพระบรมราชวงศ์จักรี ด้วยพระกุศโลบายในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และสายสัมพันธ์ความรักระหว่าง 2 พระองค์ที่เกิดขึ้นภายหลัง ถือเป็นส่วนสำคัญให้เกิดความจงรักภักดีในหมู่เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนล้านนา ต่อราชสำนักกรุงเทพฯ ในขณะที่ทรงดำเนินพระราชกุศโลบายปฏิรูปการปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนืออย่างค่อยเป็นค่อยไป

ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2427 ทรงเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นแบบมณฑลเทศาภิบาล โดยมีมณฑลพายัพ หรือ มณฑลลาวเฉียง และมณฑลมหาราษฎร์ เป็นมณฑลในอาณาจักรล้านนา โดยราชสำนักกรุงเทพ ส่งข้าหลวงขึ้นมาช่วยให้คำแนะนำเจ้านายฝ่ายเหนือในการบริหารราชการ ได้มีการแต่งตั้ง ตำแหน่งเสนากรมขึ้นมาใหม่ 6 ตำแหน่ง โดยให้คงตำแหน่งเจ้าผู้ครองนครอยู่ แต่ลดอำนาจลง และในที่สุดในปี พ.ศ. 2442 ล้านนาได้ถูกปฏิรูปการปกครองเป็นแบบ มณฑลเทศาภิบาล เป็นการยกเลิกฐานะหัวเมืองประเทศราช และผนวกดินแดนล้านนาที่อยู่ใต้การปกครองของเชียงใหม่มาเป็นส่วนหนึ่งของสยาม โดยมีเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่องค์สุดท้ายคือ พลตรีเจ้าแก้วนวรัฐ พระเชษฐาใน พระราชชายา เจ้าดารารัศมี

[แก้] ศิลปะ

[แก้] อ้างอิง

Static Wikipedia (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2007 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu -

Static Wikipedia 2006 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu

Static Wikipedia February 2008 (no images)

aa - ab - af - ak - als - am - an - ang - ar - arc - as - ast - av - ay - az - ba - bar - bat_smg - bcl - be - be_x_old - bg - bh - bi - bm - bn - bo - bpy - br - bs - bug - bxr - ca - cbk_zam - cdo - ce - ceb - ch - cho - chr - chy - co - cr - crh - cs - csb - cu - cv - cy - da - de - diq - dsb - dv - dz - ee - el - eml - en - eo - es - et - eu - ext - fa - ff - fi - fiu_vro - fj - fo - fr - frp - fur - fy - ga - gan - gd - gl - glk - gn - got - gu - gv - ha - hak - haw - he - hi - hif - ho - hr - hsb - ht - hu - hy - hz - ia - id - ie - ig - ii - ik - ilo - io - is - it - iu - ja - jbo - jv - ka - kaa - kab - kg - ki - kj - kk - kl - km - kn - ko - kr - ks - ksh - ku - kv - kw - ky - la - lad - lb - lbe - lg - li - lij - lmo - ln - lo - lt - lv - map_bms - mdf - mg - mh - mi - mk - ml - mn - mo - mr - mt - mus - my - myv - mzn - na - nah - nap - nds - nds_nl - ne - new - ng - nl - nn - no - nov - nrm - nv - ny - oc - om - or - os - pa - pag - pam - pap - pdc - pi - pih - pl - pms - ps - pt - qu - quality - rm - rmy - rn - ro - roa_rup - roa_tara - ru - rw - sa - sah - sc - scn - sco - sd - se - sg - sh - si - simple - sk - sl - sm - sn - so - sr - srn - ss - st - stq - su - sv - sw - szl - ta - te - tet - tg - th - ti - tk - tl - tlh - tn - to - tpi - tr - ts - tt - tum - tw - ty - udm - ug - uk - ur - uz - ve - vec - vi - vls - vo - wa - war - wo - wuu - xal - xh - yi - yo - za - zea - zh - zh_classical - zh_min_nan - zh_yue - zu