อำพล ลำพูน
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อำพล ลำพูน | ||
---|---|---|
ข้อมูลพื้นฐาน | ||
ชื่อจริง | อำพล ลำกูล | |
ชื่อเล่น | หนุ่ย | |
วันเกิด | 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 | |
แนวเพลง | ร็อก | |
อาชีพ | นักร้อง,นักแสดง | |
ปี | พ.ศ. 2527 - ปัจจุบัน | |
ค่าย | แกรมมี่ | |
ส่วนเกี่ยวข้อง | วงไมโคร | |
เว็บไซต์ | www.microrockclub.com | |
อดีตสมาชิก | ||
วงไมโคร |
อำพล ลำพูน นักแสดงชื่อดัง มีผลงานสร้างชื่อมากมาย เช่น วัยระเริง น้ำพุ ข้างหลังภาพ ฯลฯ ทั้งยังประสบความสำเร็จในวงการเพลงเมืองไทย ในฐานะนักร้องวงไมโครอีกด้วย
[แก้] ประวัติ
หนุ่ย อำพล ลำพูน ชื่อจริงคือ อำพล ลำกูล เป็นคนอำเภอแกลง จังหวัดระยอง เกิดในวันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2506 ปีเถาะ แต่งงานกับมาช่า วัฒนพานิช และต่อมาหย่ากันเมื่อปลายปี 2540 มีลูกชาย 1 คน ชื่อ กาย นวพล ลำกูล บ้านเกิดอยู่ที่ อ.แกลง จ.ระยอง ชอบรับประทานขนมไทยที่คุณแม่เป็นคนทำ
[แก้] การศึกษา
“ หนุ่ย” จบชั้นมัธยมตอนต้น ก็ได้เข้ามาเรียนต่อที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์ ศึกษาในสาขาวิชาศิลปะ เขามีความสนใจ ด้านดนตรีตั้ง แต่เด็ก เคยตั้งวงดนตรีโฟล์กซองกับเพื่อน ตั้งแต่เรียนอยู่ชั้น มัธยมปีที่ 1 หลังจาก เรียนจบที่วิทยาลัยอาชีวศิลป์ศึกษาหนุ่ย และเพื่อนจึง ร่วม กันตั้ง วงดนตรีชื่อ “ วงไมโคร”
- อนุบาล : โรงเรียนรุ่งนภาพิทยา จ.ระยอง
- ประถมศึกษา : โรงเรียนวัดสารนารถธรรมาราม จ.ระยอง
- มัธยมศึกษา : โรงเรียนแกลงวิทยสถาวร จ.ระยอง
- ปวช. : โรงเรียนอาชีวศิลปศึกษา กรุงเทพมหานคร
[แก้] ภาพยนตร์ 2527-2540
อำพล ลำพูนเข้าวงการโดยเป็นนักแสดงในสังกัดของ ไฟว์สตาร์ โปรดักชั่น โดยการชักชวนของผู้กำกับชื่อดัง เปี๊ยก โปสเตอร์ ภาพยนตร์เรื่องชื่อเรื่องว่า วัยระเริง เมื่อปี พ.ศ. 2527 คู่กับวรรษมณ วรรฒโรดม ต่อมาในปีเดียวกันอำพล ลำพูน ก็ได้รับบทน้ำพุ ในภาพยนตร์เรื่อง น้ำพุ คู่กับนางเอกคนเดิม และได้แสดงร่วมกับเรวัต พุทธินันทน์และภัทราวดี มีชูธน กำกับโดย ยุทธนา มุกดาสนิทและภาพยนตร์เรื่องนี้อำพลได้รางวัลตุ๊กตาทอง สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม และรางวัลสุพรรณหงส์จากการประกวด ภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิคจาก ภาพยนตร์เรื่องน้ำพุ ในปี 2527
ภาพยนตร์เรื่องที่สาม ข้างหลังภาพ จากบทประพันธ์ของศรีบูรพา กำกับโดยเปี๊ยก โปสเตอร์ นางเอก คือ นาตถยา แดงบุหงา นอกจากนี้อำพล ลำพูนยังแสดงภาพยนตร์เรื่อง ต้องปล้น , พันธุ์หมาบ้า , ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม , คู่ชื่นวัยหวาน , สองพี่น้อง , หัวใจเดียวกัน , แรงเงา , ไฟริษยา , ดีแตก , รู้แล้วหน่าว่ารัก ฯลฯ โดยส่วนใหญ่จะเล่นคู่กับพระเอกรุ่นเดียวกัน คือ พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง นอกจากนี้ยังเล่นกับจินตรา สุขพัฒน์หลายเรื่องด้วย
จากการรวบรวมสามารถสรุปได้ ดังนี้
- วัยระเริง พ.ศ. 2527
- น้ำพุ พ.ศ. 2527
- ข้างหลังภาพ พ.ศ. 2528
- กัลปังหา พ.ศ. 2528
- สองพี่น้อง พ.ศ. 2528
- เพียงบอกว่ารักฉันสักนิด พ.ศ. 2528
- หัวใจเดียวกัน พ.ศ. 2529
- ไฟเสน่หา พ.ศ. 2529
- คู่วุ่นวัยหวาน พ.ศ. 2529
- แรงหึง พ.ศ. 2529
- เฮงได้ เฮงดี รักนี้ พ.ศ. 2530
- ดีแตก พ.ศ. 2530
- ปัญญาชนก้นครัว พ.ศ. 2530
- ปุลากง พ.ศ. 2532
- ร็อพันธุ์หมาบ้า พ.ศ. 2533
- ต้องปล้น พ.ศ. 2533
- ยังไม่สิ้นกลิ่นน้ำนม พ.ศ. 2533
[แก้] วงไมโคร
หลังจากที่อำพล ลำพูนแสดงภาพยนตร์กับบริษัทไฟว์สตาร์มา 2 ปีกว่า ออกได้ยกเลิกสัญญาและได้มาเป็นนักร้องนำวงไมโคร ในสังกัดแกรมมี่ เมื่อเดือนธันวาคม ปี พ.ศ. 2529 จึงออกอัลบั้มแรกชื่อชุด “ ร็อค เล็ก เล็ก” ออกมาในปี 2529 ซึ่งทำให้วงการเพลงไทยตื่นตัวกับดนตรี แนวร็อคมากขึ้น และสร้างชื่อเสียงให้ วงไมโครอย่างมาก มี เพลงฮิตจากงานชุดนี้ หลายเพลง เช่น รักปอนปอน , อยากจะ บอกใครสักคน และเพลง สมน้ำหน้า....ซ่านัก
และออกมาอีกหลายอัลบั้ม ดังนี้
[แก้] ร็อค เล็ก เล็ก (พ.ศ. 2529)
อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 7 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
- อย่าดีกว่า
- อู๊ดกับแอ๊ด
- อยากจะบอกใครสักคน
- สมน้ำหน้าซ่านัก
- ฝันที่อยู่ไกล
- อยากได้ดี
- จำฝังใจ
[แก้] หมื่นฟาเรนไฮต์ (พ.ศ. 2531)
อำพล ลำพูน ร้องเอาไว้ 8 เพลง จากจำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
- เอาไปเลย
- จริงใจซะอย่าง (ร้องคู่กับกบ ไมโคร)
- หมื่นฟาเรนไฮต์
- พายุ
- ใจโทรมๆ
- บอกมาคำเดียว
- ลองบ้างไหม
- โชคดีนะเพื่อน
[แก้] เต็มถัง (พ.ศ. 2529)
อำพล ลำพูนร้องเอาไว้ทั้งอัลบั้ม จำนวนทั้งสิ้น 10 เพลง
- ส้มหล่น
- เรามันก็คน
- คนไม่มีสิทธิ์
- ดับเครื่องชน
- รู้ไปทำไม
- มันก็ยังงงงง
- เติมน้ำมัน
- รุนแรงเหลือเกิน
- ถึงเพื่อนเรา
- เปิดฟ้า
หลังจากนั้นอำพล ลำพูนออกแยกตัวจากวงไมโคร ในปี 2535 หนุ่ยมีอัลบั้มเดี่ยว ของเขาออกมาในชื่อ “วัตถุไวไฟ” แต่วงไมโครยังออกอัลบั้มต่อ ส่วนอำพล ลำพูนได้ทำอัลบั้มเดี่ยวกับสังกัดเดิม ต่อมาในปี 2546 วงไมโครซึ่งมีอำพล ลำพูนเป็นนักร้องนำ และสมาชิกเดิมครบ ได้กลับมาแสดงคอนเสิร์ตร่วมกัน ใช้ชื่อคอนเสิร์ตว่า "Put the right hand in the right concert" คอนเสิร์ตมีทั้งหมด 3 รอบ ระหว่างวันที่ 12-14 ธันวาคม 2546 ณ อิมแพค อารีน่า เมืองทองธานี บัตรคอนเสิร์ตทั้ง 3 รอบนี้ จำหน่ายหมดก่อนกำหนด 4 เดือน มีผู้เข้าชมสามหมื่นกว่าคน
[แก้] นักร้องเดี่ยว
[แก้] วัตถุไวไฟ (พ.ศ. 2535)
Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ , Producer Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค
บันทึกเสียง : CenterstageStudio / ButterflyStudio
ผสมเสียง : โยธิน ชีรานนท์ / ButterflyStudio
นักดนตรี : วีระ โชติวิเชียร , เพชร มาร์ , นพพร อิ่มทรัพย์ , ศิริพงษ์ หรเวชกุล , กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , สมชัย ขำเลิศกุล
ร้องสนับสนุน : ศิริพงษ์ หรเวชกุล , อนุช เตมีย์ , พิศาล พานิชผล
อำนวยการผลิต : ประชา พงศ์สุพัฒน์
- วัตถุไวไฟ
- เสียมั้ย
- ลางร้าย
- อย่างทำอย่างนั้น
- หยุดมันเอาไว้
- บ่นทำลาย
- เข็ด
- แผลในใจ
- ยังไงก็โดน
- คือฝน (เพลงที่สั้นที่สุดของอำพลและวงไมโคร)
[แก้] ม้าเหล็ก (พ.ศ. 2537)
Producer : กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา , Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ , Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค
Co-Producer : ประชา พงษ์สุพัฒน์ , บันทึกเสียง : ButterflyStudio ก.ย. - พ.ย. 2536
ควบคุมเสียง : พงษ์ศักดิ์ เกาหอม / วราวุธ เปี่ยมมงคล
ผสมเสียง : โยธิน ชิรานนท์ / ต่อพงษ์ สายศิลป์
นักดนตรีและนักร้องรับเชิญ : กบ (ไมโคร) / เพชร มาร์ / อ้วน (ไมโคร) / บอย (ไมโคร) / วีระ โชติวิเชียร
อภิไชย เย็นพูนสุข / ลัดสปัญ สมสุวรรณ / พงษ์ศักดิ์ ภูววีรานนท์ / กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา
- ม้าเหล็ก (เพลงที่ยาวที่สุดของอำพลและวงไมโคร)
- เอากะเขาหน่อย
- ลองเชิงลองใจ
- ไม่อยากทำใคร
- จะไปเหลืออะไรล่ะ
- ขอเวลาหายใจ
- รู้ได้ยังไง
- ไว้ใจ
- ไม่ต้องเกรงใจกันบ้าง
- เครื่องจักรน้อยๆ
[แก้] อำพลเมืองดี (พ.ศ. 2539)
Producer : ชาตรี คงสุวรรณ Executive Producer : เรวัติ พุทธินันท์ Production Co-Ordinator : นิติพงษ์ ห่อนาค Co-Producer : สมควร มีศิลปสุข , บันทึกเสียง : ห้องอัดเสียงศรีสยาม นักดนตรี : Drums : ผู้ไม่ประสงค์จะออกนาม , Electric Guitar : ไกรภพ จันท์ดี , พิเชษฐ์ เครือวัลย์ , โอม Electric Bass : กอล์ฟ Y-Not-7 , พี่เหม , Organ : โอม , ปุ้ม Chorus : ปอนด์ , ปุ้ม , โอม , กอล์ฟ ผสมเสียง : โสฬส พงษ์พรหม , ปณต สมานไพสิฐ
- ตอก
- ฝากรอยเท้า
- ไว้ชีวิต
- ในสายตาเธอ
- ไปสู่แสงไฟ
- ถอยกันเป็นแถบ
- ขอไปกับสายลม
- ยังไม่ตาย
- ไม่แรงพอ
- อยู่ๆ กันไป
[แก้] คอนเสิร์ต
[แก้] คอนเสิร์ตปึ้กกก
วงไมโครได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก โดยเฉพาะอำพล ลำพูนได้เปิดตัวเป็นครั้งแรก ในฐานะนักร้อง โดยเล่นเป็นวงเปิดให้กับเต๋อ เรวัต พุทธินันท์ ซึ่งตอนนั้นอัลบั้มแรกของไมโครยังไม่ออกจำหน่ายเลยด้วยซ้ำ
[แก้] วันแสดง
วันที่ 19 ตุลาคม 2529
[แก้] สถานที่
อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
[แก้] ไมโคร ร็อค คอนเสิร์ต ตอน เอาไมโครไปเลย
เป็นคอนเสิร์ตที่มาปีเดียวกับอัลบั้มที่ 2 คือ หมื่นฟาเรนไฮต์ ซึ่งมีเพลงอมตะอย่างเพลง เอาไปเลย
[แก้] วันแสดง
วันที่ 16 เมษายน 2531
[แก้] สถานที่
ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น ดินแดง
[แก้] คอนเสิร์ตเติมสีเขียวหวาน
คอนเสิร์ตนี้มีแต่ผู้หญิงที่เข้าชม ซึ่ง[[[วงไมโคร]]เล่นได้เพลงกว่าๆ เท่านั้นฝนจึงตก ทำให่การแสดงคอนเสิร์ตมีต่อลำบาก เพราะเล่นกลางแจ้ง
[แก้] วันแสดง
วันที่ 18 ตุลาคม 2532
[แก้] สถานที่
ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว
[แก้] คอนเสิร์ตมือขวา ชุดรวมพลัง
[แก้] วันแสดง
วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2533
[แก้] สถานที่
ศูนย์เยาวชนไทย-ญี่ปุ่น
[แก้] เทศกาล International Rock Music Festival 1990
เป็นคอนเสิร์ตที่สถานีโทรทัศน์ NHK ประเทศญี่ปุ่น คัดเลือกสุดยอดวงดนตรีร็อคของแต่ละประเทศมาแสดงที่ที่เมืองโอกินาวา ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งวงไมโครก็เป็นตัวแทนของประเทศไทย
[แก้] งานต้อนรับนักกีฬาซีเกมส์ 1990
ตรงกับสมัยพล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
[แก้] คอนเสิร์ตอำพลคนไวไฟ
เป็นคอนเสิร์ตแรกตั้งแต่อำพล ลำพูนแยกตัวออกมาจากวงไมโคร
[แก้] ศิลปินรับเชิญ
- ไกรภพ จันทร์ดี
- มานะ ประเสริฐวงศ์
[แก้] วันแสดง
วันที่ 6 มิถุนายน 2535
[แก้] สถานที่
MBK HALL ชั้น 7 มาบุญครอง
[แก้] คอนเสิร์ตอัศวินม้าเหล็ก
[แก้] ศิลปินรับเชิญ
- ไกรภพ จันทร์ดี
- มานะ ประเสริฐวงศ์
- สันธาน เลาหวัฒนวิทย์
[แก้] วันแสดง
วันที่ 12 มีนาคม 2537
[แก้] สถานที่
ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว
[แก้] คอนเสิร์ตอำพลกับคนไว้ใจ ตอน เอากะเขา(อีก)หน่อย
[แก้] ศิลปินรับเชิญ
- มาช่า วัฒนพานิช
[แก้] วันแสดง
วันที่ 6 เมษายน 2537
[แก้] สถานที่
ลานลอยฟ้า เซ็นทรัลลาดพร้าว
[แก้] Amphol Big Story Concert 1986-1996
[แก้] วันแสดง
วันที่ 27 มกราคม 2539
[แก้] สถานที่
อินดอร์สเตเดี้ยม หัวหมาก
[แก้] คอนเสิร์ตตำนานมือขวาไมโคร (Put the right hand in the right concert)
เป็นคอนเสิร์ตที่วงไมโครรวมตัวกันอีกครั้งตามคำเรียกร้อง
[แก้] ศิลปินรับเชิญ
- ฐิติมา สุทสุนทร
- ปาล์มมี่
- โมเดิร์น ด็อก (ป๊อด)
[แก้] วันแสดง
วันที่ 12-14 ธันวาคม 2546
[แก้] สถานที่
อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
[แก้] คอนเสิร์ตไมโคร-นูโว ONE BIG SHOW
เป็นคอนเสิร์ตรวมตัวกันเฉพาะกิจของวงไมโครและวงนูโว
[แก้] วันแสดง
วันที่ 25 ธันวาคม 2547
[แก้] สถานที่
สนามเสือป่า
[แก้] คอนเสิร์ตอำพลเมืองดีกับบิลลี่เข้ม
เป็นคอนเสิร์คอนเสิร์ตร่วมของอำพล ลำพูนกับบิลลี่ โอแกน จัดโดยคลื่นวิทยุ กรีนเวฟ
[แก้] วันแสดง
วันที่ 19 พฤศจิกายน 2548
[แก้] สถานที่
อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี
[แก้] โครงการ H.M.BLUES ร้องบรรเลงเพลงของพ่อ
เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โดยอันเชิญเพลงพระราชนิพนธ์ของพระองค์มาเรียบเรียงใหม่ให้ทันสมัยขึ้น ขับร้องโดยเหล่าศิลปินคุณภาพทุกแนวเพลงมาร่วมขับร้องด้วย โดยอำพล ลำพูนได้ขับร้องเพลงชะตาชีวิต (H.M.BLUES) ซึ่งเป็นเพลงแรกของอัลบั้มนี้ด้วย
[แก้] ละคร
อำพล ลำพูน เล่นละครเรื่องแรกเมื่อปี 2541 และมีผลงานละครเรื่อยๆ มา
- หัวใจและไกปืน โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7ร่วมด้วย ณัฐริกา ธรรมปรีดานันท์
- คู่อันตราย โทรทัศน์สีกองทัพบก ช่อง 7 ร่วมด้วย พีท ทองเจือ
- เทวดาเดินดิน ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมด้วย พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง , เมทนี กิ่งโพยม , เสนาหอย เกียรติศักดิ์ อุดมนาค ฯลฯ
- มือปืน ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมด้วย ฉัตรชัย เปล่งพานิช , ฌัฐชา รุจินานนท์ , อาภาศิริ นิติพน ฯลฯ
- ละครเฉลิมพระเกียรติเรื่องตะลุมพุก โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ร่วมด้วย ธัญญาเรศ รามณรงค์
- ทองพูน โคกโพธิ์ ราษฎรเต็มขั้น ไทยทีวีสีช่อง 3 ร่วมด้วย ศิรประภา สุขดำรง, สามารถ พยัคฆ์อรุณ
- มนต์รักแม่น้ำมูล โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 5 ร่วมด้วย คทลีน่า กร็อส
- ส.ต.ท.บุญถึง โทรทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ร่วมด้วย พิมพ์พรรณ จันทะ สรพงษ์ ชาตรี
- ปมรัก..นวลฉวี สถานีโทรทัศน์ไอทีวี ร่วมด้วย ใหม่ เจริญปุระ
[แก้] ภาพยนตร์
[แก้] เสือ โจรพันธุ์เสือ
พ.ศ. 2541 เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ ร่วมด้วย ดอม เหตระกูล , ศุภกร กิจสุวรรณ กำกับโดย ธนิย์ จิตรนุกูล
เรื่องย่อ พุทธศักราช 2489 แผ่นดินลุกเป็นไฟ ผู้เดือดร้อนไปทั่วกลียุค ข้าวยากหมากแพง หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกิดโจรร้ายออกปล้นสดมภ์ไปทั่วทุกหัสระแหง แต่เสือใบ(อำพล) กลับปล้นคนรวยที่คดโกงเพื่อช่วยคนจน ทางกรมตำรวจจึงเรียกตัวผู้กองยิ่ง(ดอม) นายตำรวจมือปราบมาช่วยปราบเสือใบ เสือใบรับมือผู้กองยิ่งโดยมีเสือยอด สิงห์ปืนคู่(ศุภกร) คอยเป็นมือขวา
[แก้] โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน
พ.ศ. 2542 เรื่อง โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน ร่วมด้วย สิริยากร พุกกะเวส กำกับโดย ปิติ จตุรภัทร
[แก้] เรื่องย่อ
นิวัฒน์(อำพล) คนธรรมดาคนหนึ่งต้องผจญกับเหตุการณ์ไม่ธรรมดา เมื่อมีคนที่หน้าตาเหมือนเขาทุกประการทำร้ายและพยายามฆ่าเพื่อที่จะเข้ามาแทนที่และแย่งชิงทุกอย่าง ทั้งเพื่อน ครอบครัวและคนที่เขารักมากที่สุดคือเมย์(สิริยากร) เขาจึงต่อสู้เพื่อทวงชีวิตซึ่งเขาเคยเป็นคืนมา พร้อมกับสืบหาความลับของชายลึกลับ b-7(อำพล/มนุษย์โคลนนิ่ง) ว่าเกิดขึ้นมาได้อย่างไร? ภาพยนตร์เรื่องนี้ประสบความสำเร็จอย่างดียิ่ง ได้รับรางวัลตุ๊กตาทอง สาขานักแสดงฝ่ายชายยอกเยี่ยม , ตุ๊กตาเงิน สาขานักแสดงดาวรุ่งฝ่ายหญิงยอดเยี่ยม , รางวัลบันทึกเสียงยอดเยี่ยมจากสมาพันธ์ภาพยนตร์แห่งชาติ , รางวัลลำดับภาพยอดเยี่ยม จากชมรมวิจารณ์บันเทิง , 1 ใน 5 ภาพยนตร์ไทยที่เข้าร่วมประกวดในงานมหกรรมภาพยนตร์เอเชีย-แปซิฟิค ครั้งที่ 44
[แก้] อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร
ภาพยนตร์ทุ่มทุนสร้างระหว่างไทย - ไต้หวัน พ.ศ. 2543 เรื่อง อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร ร่วมด้วย หลินจื้ออิง , ฌัชชา รุจินานนท์ , เมธี อมรวุฒิกุล , อู๋เฉินจวิน , อภิชาติ ชูสกุล , ทองขาว ภัทรโชคชัย กำกับโดย นพพร วาทิน
[แก้] เรื่องย่อ
ในปี พ.ศ. 2480 ได้มีกลุ่มอิทธิพลชาวจีนที่เรียกตัวเองว่า อั้งยี่ รวมตัวกันก่อตั้งเป็นสมาคมลับเพื่อปกครองชาวจีนที่อาศัยอยู่ในเมืองไทย ซึ่งในเวลานั้น 2 สมาคมที่มีอิทธิพลมากและเป็นที่รู้จักกันดี คือ สมาคมตั้งกงสีกับสมาคมซานเตี้ยม ซึ่งต่างมีข้อขัดแย้งและทะเลาะกันเรื่อยมา แค่ต้องรับมือกับฝ่ายตรงข้ามก็อ่วมอรทัยแล้วว หากแต่ว่าภายในสมาคมยังมีทั้งการเมืองและการหักหลังกันอีก โดย เล้ง(อำพล) หลักแดงของสมาคมซานเตี้ยมถูกคนในสมาคมโดยเฉพาะซานจู๊(อภิชาติ) หักหลังจึงต้องย้ายสมาคมมาอยู่กับสมาคมตั้งกงสีเพื่อล้างแค้นซานจู๊ ซึ่งสุดท้าย แม้อั้งยี่จะเก่งกล้าแค่ไหนก็ตายเหมือนกับสามัญชนทั่วไป...
[แก้] สุริโยไท
สุริโยไท ภาพยนตร์สุดอลังการของประเทศ ซึ่งรวบรวมนักแสดงระดับพระกาฬจากทั่วประเทศ ฉายรอบสื่อมวลชนเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2544 นำแสดงโดย ม.ล.ปิยาภัสร์ ภิรมย์ภักดี , ศรัณยู วงศ์กระจ่าง , ฉัตรชัย เปล่งพานิช , พงษ์พัฒน์ วชิรบรรจง , ใหม่ เจริญปุระ , จอห์นนี่ แอนด์โฟเน่ , สรพงษ์ ชาตรี , ศุภกิจ ตังทัตสวัสดิ์ , อำพล ลำพูน , ศุภกร กิตสุวรรณ , สินจัย เปล่งพานิช , สหรัฐ สังคปรีชา , สมบัติ เมทะนี ฯลฯ โดยอำพล ลำพูน รับบทเป็น ขุนอิทรเทพ
ขุนอิทรเทพ(อำพล) เป็นเจ้าในราชวงศ์ศรีธรรมาโศกราช เป็นองครักษ์ในราชวงศ์แห่งกรุงศรีอยุธยา ในสมัยราชวงศ์สุพรรณภูมิ เป็นมือขวาของสมเด็จพระไชยราชาธิราช(พงษ์พัฒน์) แต่เป็นปฏิปักษ์ขุนวรวงศา แห่งราชวงศ์อู่ทอง(จอห์นนี่) และท้าวศรีสุดาจันทร์(ใหม่) จึงร่วมกับขุนพิเรนทรเทพ (ฉัตรชัย) โค่นบังลังค์ของขุนวรวงศาธิราช และทำการสำเร็จ โดยเป็นคนสังหารท้าวศรีสุดาจันทร์ สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ(ศรัณยู) กษัตริย์พระองค์ใหม่จึงแต่งตั้งเป็นเจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช ครองนครศรีธรรมราช และยังมีส่วนในสงครามพระยาจักรีครั้งที่ 2
[แก้] 102 ปิดกรุงเทพปล้น
ภาพยนตร์เรื่อง 102 ปิดกรุงเทพปล้น นำแสดงโดย อำพล ลำพูนและฉัตรชัย เปล่งพานิช ฉายเมื่อวันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2547 โดยสหมงคลฟิล์ม
[แก้] รางวัล
- รางวัลดารานำชายดีเด่น จากเทศกาลภาพยนตร์นานาชาติเอเชีย-แปซิฟิค
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2527 จากภาพยนตร์ เรื่อง น้ำพุ
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปี พุทธศักราช 2541 จากภาพยนตร์ เรื่อง เสือ โจรพันธุ์เสือ
- รางวัลพระราชทานพระสุรัสวดี สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากภาพยนตร์ เรื่อง โคลนนิ่ง คนก๊อปปี้คน
- รางวัลพระสุพรรณหงส์ สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากภาพยนตร์ เรื่อง อั้งยี่ ลูกผู้ชายพันธุ์มังกร
- รางวัลโทรทัศน์ทองคำ สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2542 จากละคร เรื่อง มือปืน
- รางวัลเมขลา สาขาดารานำชายยอดเยี่ยม ปีพุทธศักราช 2544 จากละคร เรื่อง ทองพูน โคกโพธิ์ ราษฎรเต็มขั้น