พ.ศ. 2531
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ปี : 2528 2529 2530 - พ.ศ. 2531 - 2532 2533 2534 |
|
พุทธศตวรรษ: พุทธศตวรรษที่ 25 - พุทธศตวรรษที่ 26 - พุทธศตวรรษที่ 27 |
|
คริสต์ศตวรรษ: คริสต์ศตวรรษที่ 19 - คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21 |
พุทธศักราช 2531 ตรงกับปีคริสต์ศักราช 1988 เป็นปีอธิกสุรทินที่วันแรกเป็นวันศุกร์ (ลิงก์ไปยังปฏิทิน) ตามปฏิทินเกรกอเรียน และเป็น
- ปีมะโรง สัมฤทธิศก จุลศักราช 1350 (วันที่ 15 เมษายน เป็นวันเถลิงศก)
- มหาศักราช 1910
- ปีจัดพระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก
- 100 ปี พระยาอนุมานราชธน
สารบัญ |
[แก้] ผู้นำ
- พระมหากษัตริย์ : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พ.ศ. 2489-ปัจจุบัน)
- นายกรัฐมนตรี :
- พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ (พ.ศ. 2523-2531)
- พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ (พ.ศ. 2531-2534)
สำหรับผู้นำประเทศอื่น ๆ ดู รายชื่อผู้นำประเทศ พ.ศ. 2531
[แก้] เหตุการณ์
[แก้] มกราคม-มีนาคม
- 1 กุมภาพันธ์ - พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ ผู้บัญชาการทหารบก ประกาศเปิดสมรภูมิบ้านร่มเกล้า ระหว่างไทย-ลาว ที่ อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก
- 19 กุมภาพันธ์ - มีการประกาศหยุดยิงในสมรภูมิบ้านร่มเกล้า
- 8 มีนาคม - วันสถาปนามหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
[แก้] เมษายน-มิถุนายน
- 26 เมษายน - คณะรัฐมนตรีอนุมัติแผนงานโครงการพัฒนาดอยตุง ตามพระราชดำริ สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
- 1 พฤษภาคม - ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งลอนดอน ทูลเกล้าฯ ถวายสมาชิกภาพกิตติมศักดิ์ ซึ่งสถาบันแห่งนี้เคยมอบให้แต่เฉพาะผู้ที่เป็นแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ดีเด่นระดับโลกเท่านั้น
- 21 พฤษภาคม - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดอุทยานประวัติศาสตร์พนมรุ้งอย่างเป็นทางการ
- 24 พฤษภาคม - ภรณ์ทิพย์ นาคหิรัญกนก ครองตำแหน่งนางงามจักรวาลคนที่ 37
- 14 มิถุนายน - มูลนิธิชัยพัฒนา ได้รับการจดทะเบียนให้เป็นนิติบุคคล และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาในวันที่ 12 กรกฎาคม
[แก้] กรกฎาคม-กันยายน
- 2 กรกฎาคม - พระราชพิธีรัชมังคลาภิเษก พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงครองสิริราชสมบัติยาวนานยิ่งกว่าพระมหากษัตริย์พระองค์ใดในประวัติศาสตร์ชาติไทย
- 11 กรกฎาคม - สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน ทรงเปิดอาคารที่ทำการ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 จากนั้นเป็นต้นมา จึงกำหนดให้ วันที่ 11 กรกฎาคม ของทุกปี เป็นวันคล้ายวันสถาปนา
- 24 กรกฎาคม - ประเทศไทยจัดการเลือกตั้งทั่วไป ผลปรากฏว่าพรรคชาติไทยได้ที่นั่งมากที่สุดและเป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาลผสม
- 1 สิงหาคม - พลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี หลังพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ปฏิเสธที่จะรับตำแหน่ง
- 4 สิงหาคม - พรรคชาติไทยจัดตั้งรัฐบาล โดยมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 17 ของประเทศ
- 29 สิงหาคม - พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่อง พลเอกเปรม ติณสูลานนท์ อดีตผู้บัญชาการทหารบก และนายกรัฐมนตรี ให้เป็นรัฐบุรุษ
- 9 กันยายน - เครื่องบินตูโปเลฟ 131 ของสายการบินแอร์เวียดนาม ตกที่อำเภอลำลูกกา จังหวัดปทุมธานี มีผู้เสียชีวิต 76 คน รวมทั้งรัฐมนตรีของเวียดนาม และนักการทูตชาวอินเดีย
- 17 กันยายน - 2 ตุลาคม - กีฬาโอลิมปิกฤดูร้อน ณ กรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้
- 24 กันยายน - กีฬาโอลิมปิก : เบน จอห์นสัน "เอาชนะ" คาร์ล ลูอิส และ ลินฟอร์ด คริสตี ในการแข่งขันวิ่ง 100 เมตร ด้วยเวลา 9.79 วินาที (ต่อมาถูกเพิกถอนเนื่องจากพบว่าใช้สารกระตุ้น)
- 27 กันยายน - วันสถาปนาพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย นำโดย ออง ซาน ซูจี ในพม่า
- 29 กันยายน - องค์การนาซาส่งกระสวยอวกาศขึ้นบินเป็นครั้งแรก หลังจากโศกนาฏกรรมกระสวยอวกาศแชลเลนเจอร์
[แก้] ตุลาคม-ธันวาคม
- 10 พฤศจิกายน - ทับหลังนารายณ์บรรทมสินธุ์ ซึ่งถูกลักลอบนำออกไปจากปราสาทหินเขาพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นเวลาเกือบ 30 ปี กลับคืนสู่ประเทศไทย หลังการเรียกร้องขอคืนจากสถาบันศิลปะแห่งชิคาโก สหรัฐอเมริกา
- 16 พฤศจิกายน - เบนาซีร์ บุตโต วัย 35 ปี ได้รับเลือกตั้งให้เป็นนายกรัฐมนตรีของปากีสถาน นับเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศมุสลิม
- 22 พฤศจิกายน - เกิดเหตุโคลนถล่มและซุงจากการลักลอบทำลายป่า ทะลักเข้าใส่หมู่บ้าน ที่ ต.กะทูน อ.พิปูน จ.นครศรีธรรมราช มีผู้เสียชีวิตถึง 700 คน เหตุการณ์นี้ส่งผลให้มีการยกเลิกสัมปทานป่าไม้ทั่วประเทศ
- 24 พฤศจิกายน - ศูนย์พัฒนาประมงน้ำจืด จ.สุราษฎร์ธานี เพาะพันธุ์ปลาตะพัดหรือปลามังกร หรือปลาอะโรวาน่า ซึ่งเป็นปลาน้ำจืดหายาก ใกล้สูญพันธุ์ได้สำเร็จเป็นครั้งแรกในประเทศไทย
- 21 ธันวาคม - ผู้ก่อการร้ายวางระเบิด เที่ยวบินแพนแอมที่ 103 เมืองล็อคเกอร์บี สกอตแลนด์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 270 คน
- 30 ธันวาคม - คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้รับการสถาปนาเป็นคณะวิชาในลำดับที่ 16 ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
[แก้] ไม่ทราบวัน
- ประเทศไทยเริ่มใช้เหรียญ 5 บาท และ 10 บาท
- คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ประสบความสำเร็จในการผ่าตัดเปลี่ยนตับเป็นครั้งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
[แก้] วันเกิด
- 7 กุมภาพันธ์ - ไอ คาโงะ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 11 กุมภาพันธ์ - หลี่ ฉุน นักร้องหญิงชาวจีน
- 22 กุมภาพันธ์ - มิณฑิตา วัฒนกุล (มิ้น เอเอฟ 3) นักร้อง นักแสดง
- 29 กุมภาพันธ์ - การะเกด นักร้องลูกทุ่งหญิง
- 16 กันยายน - เท็ดดี้ ไกเกอร์ นักร้องชาวอเมริกัน
- 20 ตุลาคม - ริสะ นีงากิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
- 7 ธันวาคม - เอมิลี บราวนิง นักแสดงหญิงชาวออสเตรเลีย
- 23 ธันวาคม - เอริ คาเมอิ นักร้องหญิงชาวญี่ปุ่น
[แก้] วันถึงแก่กรรม
- 11 มกราคม - ประมูล อุณหธูป (นามปากกา อุษณา เพลิงธรรม) นักประพันธ์หญิง (เกิด 17 มิถุนายน พ.ศ. 2463)
- 15 กุมภาพันธ์ - ริชาร์ด ไฟน์แมน นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เกิด 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2461)
- 5 พฤษภาคม - ไมเคิล ชารา นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 23 มิถุนายน พ.ศ. 2471)
- 8 พฤษภาคม - โรเบิร์ต เอ. ไฮน์ไลน์ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน (เกิด 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2450)
- 27 สิงหาคม - สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ (วาสนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม (ประสูติ พ.ศ. 2440)
- 1 กันยายน - หลุยส์ อัลวาเรซ นักฟิสิกส์ชาวอเมริกัน (เกิด 13 มิถุนายน พ.ศ. 2454)
- 3 ธันวาคม - หลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ นายกรัฐมนตรีคนที่ 8 ของไทย (เกิด 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2444)