อุทยานแห่งชาติภูกระดึง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง | |
---|---|
ที่ตั้ง: | จ.เลย ประเทศไทย |
พิกัด: | |
พื้นที่: | 217,576.25 ไร่ (348.12 ตร.กม.)[1] |
จัดตั้ง: | 23 พฤศจิกายน 2505 |
นักท่องเที่ยว: | 83,122[2] คน (ปีงบประมาณ 2549) |
ดูแลโดย: | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติภูกระดึง ตั้งอยู่ที่อำเภอภูกระดึงในจังหวัดเลย เป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงมากที่สุดของประเทศไทย ในแต่ละปีมีคนมาเที่ยวเฉลี่ยหลายหมื่นคน. ภูกระดึงได้รับการจัดตั้งเป็นป่าสงวนแห่งชาติในปี พ.ศ. 2486 และเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2502 โดยเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่สองถัดจากอุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ อุทยานตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลศรีฐาน อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย ครอบคลุมพื้นที่ 348.12 ตารางกิโลเมตร (217,575 ไร่) ลักษณะภูมิประเทศเป็นภูเขาหินทรายยอดตัด โดยมีที่ราบบนยอดภูกระดึง ประมาณ 60 ตารางกิโลเมตร (37,500 ไร่) มีความสูงอยู่ระหว่าง 400-1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล จุดสูงสุดอยู่ที่บริเวณคอกเมย มีความสูง 1,316 เมตร
ภูกระดึงมีธรรมชาติที่นักท่องเที่ยวประทับใจหลายประการ ไม่ว่าจะเป็น ความสวยงามของการชมทิวทัศน์มาจากที่ราบสูง เช่น การชมพระอาทิตย์อัสดงที่ผาหล่มสัก, การสำรวจพรรณไม้นานาชนิด เช่น ไฟเดือนห้าที่แดงสด และดงป่าสนอันกว้างใหญ่, หรือธรรมชาติชนิดอื่น ๆ เช่น การชมน้ำตกที่น้ำตกขุนพอง เป็นต้น. ในช่วงวันหยุดยาว มักมีนักท่องเที่ยวขึ้นไปพักผ่อนบนภูกระดึงราวหนึ่งหมื่นคน โดยส่วนใหญ่นักท่องเที่ยวแต่ละกลุ่มต้องใช้เวลาอย่างน้อย 4 วันที่ภูกระดึง คือเดินทางขึ้น 1 วัน, ท่องน้ำตก 1 วัน, เลียบผา 1 วัน, ลง 1 วัน.
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
คำว่า ภู มาจาก ภูเขา และชื่อ กระดึง มาจากคำว่า กระดิ่ง ในภาษาพื้นเมืองของจังหวัดเลย ด้วยเหตุนี้ ภูกระดึง จึงอาจแปลได้ว่า ระฆังใหญ่. ชื่อนี้มาจากเรื่องเล่าที่ว่าในวันพระ ชาวบ้านมักได้ยินเสียงกระดิ่งหรือระฆังจากภูเขาลูกนี้เสมอ จึงเล่าต่อกันไปว่าเป็นระฆังของพระอินทร์.
ส่วนการค้นพบความสวยงามของภูกระดึงก็มีตำนานหรือเรื่องเล่าเช่นกัน โดยตำนานกล่าวว่ามีพรานป่าผู้หนึ่งได้พยายามล่ากระทิงซึ่งหลบหนีไปยังยอดเขาลูกหนึ่งในตำบลศรีฐาน (ปัจจุบันอยู่ในอำเภอภูกระดึง) ซึ่งเป็นภูเขาที่ไม่เคยมีใครขึ้นมาก่อน เมื่อนายพรานได้ตามกระทิงขึ้นไปบนยอดเขาแห่งนั้น ก็ได้พบว่าพื้นที่บนภูเขาลูกนั้น เต็มไปด้วยพื้นที่ราบกว้างใหญ่สวยงาม เต็มไปด้วยป่าสน พรรณไม้และสัตว์ป่านานาชนิด หลังจากนั้นมนุษย์ก็เริ่มรู้จักและเข้าไปใช้ชีวิตร่วมกับภูกระดึง.
[แก้] การเดินทางไปยังภูกระดึง
[แก้] รถทัวร์
โดยทั่วไปหนทางที่ได้รับความนิยมมากในหมู่นักท่องเที่ยวคือให้นักท่องเที่ยวลงจากรถทัวร์ที่ผานกเค้า ณ ร้านเจ๊กิม. จากนั้นนักท่องเที่ยวก็ติดต่อรถสองแถวหน้าร้านเจ๊กิมเพื่อเดินทางไปที่ที่ทำการอุทยาน โดยจะใช้เวลาเดินทางประมาณครึ่งชั่วโมง.
[แก้] เส้นทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึง
[แก้] เส้นทางขึ้นที่อำเภอภูกระดึง
เป็นเส้นทางเก่าแก่และได้รับความนิยมมากที่สุด นักท่องเที่ยวสามารถขึ้นเขาในเส้นทางนี้ได้ที่อำเภอภูกระดึง ณ ที่ทำการอุทยาน. ในเส้นทางขึ้นจะมีบริเวณที่พักหลายช่วง โดยแต่ละช่วงจะเรียกว่า ซำ ซึ่งหมายถึงบริเวณที่มีน้ำขัง มักเป็นแหล่งที่มีสัตว์ป่ามาพักกินน้ำ. ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะต้องผ่านทั้งหมด 7 ซำ ไล่ตามความสูง จากน้อยไปมากได้ดังนี้
- ซำแฮก คำว่า แฮก นักท่องเที่ยวทั่วไปมักล้อเลียนว่ามีความหมายถึงอาการหอบ (ซึ่งคนเรามักจะออกเสียง แฮกๆ) แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า แฮก นี้หมายถึงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในภาษาท้องถิ่น. ระยะทางที่ต้องเดินจากที่ทำการไปยังซำแฮกยาวประมาณ 1 กิโลเมตร
- ซำบอน หมายถึงบริเวณที่ต้นบอนขึ้นเยอะ. ระยะทางที่ต้องเดินจากซำแฮกไปยังซำบอนยาวประมาณ 700 เมตร
- ซำกกกอก หมายถึงบริเวณที่ต้นมะกอกขึ้นเยอะ. ระยะทางที่ต้องเดินจากซำบอนไปยังซำกกกอกยาวประมาณ 360 เมตร
- ซำกกหว้า หมายถึงบริเวณที่ต้นหว้าขึ้นเยอะ. ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกกอกไปยังซำกกหว้ายาวประมาณ 880 เมตร
- ซำกกไผ่ หมายถึงบริเวณที่ต้นไผ่ขึ้นเยอะ. ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกหว้าไปยังซำกกไผ่ยาวประมาณ 580 เมตร
- ซำกกโดน หมายถึงบริเวณที่คนส่วนมากจะนั่งพักกันนาน ๆ (ภาษาอีสาน โดน แปลว่า นาน) ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกไผ่ไปยังซำกกโดนยาวประมาณ 300 เมตร
- ซำแคร่ ระยะทางที่ต้องเดินจากซำกกโดนไปยังซำแคร่ยาวประมาณ 588 เมตร
โดยนักท่องเที่ยวจะต้องเริ่มจากที่ทำการไปยังซำแฮก และเดินขึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงซำแคร่. ในแต่ละซำจะมีร้านค้าคอยให้บริการนักท่องเที่ยวเพื่อพักรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่ม และห้องน้ำ. โดยหลังจากซำแคร่ซึ่งเป็นซำสุดท้ายนักท่องเที่ยวก็ต้องขึ้นไปอีกประมาณ 1020 เมตร เพื่อเข้าสู่ยอดเขาในส่วนที่เรียกกันว่าหลังแป. ทางที่จะขึ้นไปยัง ซำแฮก และ หลังแปร จะเป็นเส้นทางที่มีความชันมากที่สุด. หลังจากขึ้นถึงหลังแป, นักท่องเที่ยวต้องเดินทางราบอีกประมาณ 3.6 กิโลเมตรเพื่อไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนยอดเขา เพื่อตั้งเต๊นท์ หรือ ที่พักอาศัยอื่นๆ. ณ จุดยอดเขานี้นักท่องเที่ยวจะสังเกตเห็นป่าสนมากมายเรียงรายกันตลอดทาง
[แก้] เส้นทางขึ้นที่อำเภอน้ำหนาว
หัวข้อย่อยนี้ เส้นทางขึ้นที่อำเภอน้ำหนาว ยังไม่สมบูรณ์: ท่านสามารถช่วยวิกิพีเดียเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อย่อยนี้ได้
นักท่องเที่ยวสามารถเดินทางขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึงได้ที่บ้านฟองใต้อำเภอน้ำหนาว ซึ่งเป็นเส้นทางขึ้นเขาเส้นทางใหม่ โดยจะขึ้นไปที่ผาหล่มสักโดยตรง. เส้นทางขึ้นใหม่ที่น้ำหนาวนี้ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ. 2548) ยังไม่มีร้านค้าให้หยุดพักผ่อนระหว่างทางเหมือนเส้นทางแรก
[แก้] เส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึง
เส้นทางท่องเที่ยวบนยอดเขาภูกระดึงแบ่งออกได้เป็นสองส่วนใหญ่ๆ คือบริเวณท่องเที่ยวปกติ และบริเวณป่าปิด. โดยบริเวณแหล่งท่องเที่ยวปกติก็จะแบ่งได้เป็นสองเส้นทางคือ เส้นทางน้ำตก และ เส้นทางเลียบผา ส่วนบริเวณป่าปิดก็จะแบ่งได้เป็น เส้นทางน้ำตกขุนพอง และ เส้นทางผาส่องโลก.
[แก้] เส้นทางน้ำตก
หัวข้อย่อยนี้ เส้นทางน้ำตก ยังไม่สมบูรณ์: ท่านสามารถช่วยวิกิพีเดียเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อย่อยนี้ได้
[แก้] เส้นทางเลียบผา
จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบนยอดเขา นักท่องเที่ยวสามารถเดินไปยังเส้นทางเลียบผา โดยมีผาต่างๆ ที่มีชื่อเสียงดังนี้
- ผานกแอ่น อยู่ทางทิศตะวันออก ห่างจากศูนย์ให้บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 1.1 กิโลเมตร เป็นสถานที่สำคัญที่นักท่องเที่ยวมักเตรียมตัวมาดูพระอาทิตย์ขึ้นในยามเช้า ในฤดูหนาวและฤดูฝนนักท่องเที่ยวอาจได้พบกับทะเลหมอกที่นี่
- ผาหมากดูก อยู่ทางทิศตะวันตก ห่างจากศูนย์ให้บริการนักท่องเที่ยวประมาณ 2 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวที่ไม่มีเวลามากนัก มักตัดสินใจดูพระอาทิตย์ตกดินที่นี่เนื่องจากระยะทางไม่ไกลจากที่พักมาก
- ผาจำศีล อยู่ถัดจากผาหมากดูกเป็นระยะทางประมาณ 600 เมตร
- ผานาน้อย อยู่ถัดจากผาจำศีลเป็นระยะทางประมาณ 600 เมตร
- ผาเหยียบเมฆ อยู่ถัดจากผานาน้อยเป็นระยะทางประมาณ 2 กิโลเมตร
- ผาแดง อยู่ถัดจากผาเหยียบเมฆเป็นระยะทางประมาณ 1.5 กิโลเมตร
- ผาหล่มสัก อยู่ถัดจากผาแดงเป็นระยะทางประมาณ 2.5 กิโลเมตร อยู่สุดริมภูกระดึงทางทิศตะวันตก นักท่องเที่ยวส่วนมากต่างรอคอยเฝ้าดูพระอาทิตย์ตกดินยามอัสดงที่ผาแห่งนี้. เมื่อมองออกไปจากผาหล่มสัก จะสามารถมองเห็นภูผาจิตของอุทยานแห่งชาติน้ำหนาวในภูเขาฝั่งตรงข้าม.
[แก้] เขตป่าปิด 1 (เส้นทางน้ำตกขุนพอง)
หัวข้อย่อยนี้ เขตป่าปิด 1 (เส้นทางน้ำตกขุนพอง) ยังไม่สมบูรณ์: ท่านสามารถช่วยวิกิพีเดียเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อย่อยนี้ได้
[แก้] เขตป่าปิด 2 (เส้นทางผาส่องโลก)
หัวข้อย่อยนี้ เขตป่าปิด 2 (เส้นทางผาส่องโลก) ยังไม่สมบูรณ์: ท่านสามารถช่วยวิกิพีเดียเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อย่อยนี้ได้
[แก้] สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บนภูกระดึง
หัวข้อย่อยนี้ สัตว์ป่าที่สามารถพบได้บนภูกระดึง ยังไม่สมบูรณ์: ท่านสามารถช่วยวิกิพีเดียเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อย่อยนี้ได้
- กวาง นักท่องเที่ยวที่ขึ้นไปยังยอดเขาภูกระดึงจะได้พบกับกวางแน่นอน เนื่องจากมีกลุ่มกวางจำนวนหนึ่งที่เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ ได้เลี้ยงเอาไว้ ทำให้กวางกลุ่มนี้ไม่หนีคน. กวางตัวแรกที่เจ้าหน้าที่ได้เลี้ยงเอาไว้ชื่อ คำหล้า เป็นกวางตัวเมีย, ตัวที่สองเป็นตัวผู้ชื่อ คัมภีร์
- ทาก สัตว์ตัวเล็กๆ ที่เรียกว่า ทาก นี้มีชื่อเสียงไม่แพ้สัตว์ใหญ่ตัวอื่นๆ เนื่องจากมักเป็นที่หวาดกลัวของนักท่องเที่ยวจำนวนมาก (โดยมากเป็นเพราะนักท่องเที่ยวรู้สึกขยะแขยงสัตว์ชนิดนี้). ทากบนภูกระดึงจะพบมากในฤดูฝน และมีมากในบริเวณที่พักอาศัย เส้นทางน้ำตก และบริเวณป่าปิด. เจ้าหน้าที่บางท่านเล่าว่าทากบนภูกระดึงเป็นคนละประเภทกับทากที่อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ หรือ อุทยานแห่งชาติเขาหลวง ที่มีขนาดใหญ่กว่า สามารถเกาะตามกิ่งไม้สูง และ พุ่งกระโดดไปเกาะยังสัตว์เลือดอุ่นได้อย่างรวดเร็ว.
- ช้าง
- ปูภูเขา
[แก้] พรรณไม้ที่มีชื่อเสียงของภูกระดึง
หัวข้อย่อยนี้ พรรณไม้ที่มีชื่อเสียงของภูกระดึง ยังไม่สมบูรณ์: ท่านสามารถช่วยวิกิพีเดียเพิ่มเติมเนื้อหาในหัวข้อย่อยนี้ได้
- ต้นเมเปิ้ล หรือ ไฟเดือนห้า เป็นพรรณไม้ที่มีชื่อเสียงที่สุดของภูกระดึง จะแดงสดในฤดูหนาว (ราวๆ เดือนธันวาคม) เจ้าหน้าที่ของอุทยานฯ แนะนำว่าถ้านักท่องเที่ยวต้องการเห็นเมเปิ้ลสีแดงสดจริงๆ ควรโทรมาสอบถามที่อุทยานฯ ก่อน
- ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง พบได้เป็นดงในบริเวณใกล้ผานาน้อยจนถึงผาแดง
- ดอกกระเจียว ทุ่งดอกกระเจียวพบได้ในบริเวณใกล้ผาเหยียบเมฆจนถึงผาแดง. โดยปกติดอกกระเจียวจะออกดอกสวยงามในช่วงเดือนเมษายน โดยในเดือนพฤษภาคมก็จะยังพบดอกกระเจียวบานอยู่ แต่ว่าอาจจะถูกแมลงและสัตว์ต่างๆ กัดกินดอกและใบของมันไปบ้าง
- ต้นสนสองใบ และ ต้นสนสามใบ
[แก้] อ้างอิง
- ↑ อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติสู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 48
- ↑ สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
![]() |
อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย |
---|
ภาคเหนือ | แก่งเจ็ดแคว · ขุนขาน · ขุนแจ · ขุนน่าน · ขุนพระวอ · ขุนสถาน · เขาค้อ · คลองตรอน · คลองลาน · คลองวังเจ้า · แจ้ซ้อน · เชียงดาว · ดอยขุนตาล · ดอยจง · ดอยผากอง · ดอยภูคา · ดอยภูนาง · ดอยเวียงผา · ดอยสุเทพ-ปุย · ดอยหลวง · ดอยอินทนนท์ · ตากสินมหาราช · ตาดหมอก · ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ · ถ้ำผาไท · ถ้ำสะเกิน · ทุ่งแสลงหลวง · นันทบุรี · น้ำตกชาติตระการ · น้ำตกพาเจริญ · น้ำตกแม่สุรินทร์ · น้ำหนาว · ภูซาง · ภูสอยดาว · ภูหินร่องกล้า · แม่เงา · แม่จริม · แม่ตะไคร้ · แม่โถ · แม่ปิง · แม่ปืม · แม่ฝาง · แม่เมย · แม่ยม · แม่วงก์ · แม่วะ · แม่วาง · รามคำแหง · ลานสาง · ลำน้ำกก · ลำน้ำน่าน · เวียงโกศัย · ศรีน่าน · ศรีล้านนา · ศรีสัชนาลัย · สาละวิน · ห้วยน้ำดัง · ออบขาน · ออบหลวง |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | แก่งตะนะ · เขาพระวิหาร · เขาใหญ่ · ตาดโตน · ตาพระยา · ไทรทอง · นาแห้ว · นายูง-น้ำโสม · น้ำพอง · ป่าหินงาม · ผาแต้ม · ภูกระดึง · ภูเก้า-ภูพานคำ · ภูจองนายอย · ภูเรือ · ภูแลนคา · ภูเวียง · ภูผาม่าน · ภูผายล · ภูผาเหล็ก · ภูพาน · ภูลังกา · ภูสระดอกบัว · มุกดาหาร |
ภาคกลาง | น้ำตกเจ็ดสาวน้อย · น้ำตกสามหลั่น · พุเตย |
ภาคตะวันออก | เขาคิชฌกูฏ · เขาชะเมา-เขาวง · เขาสิบห้าชั้น · เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด · ทับลาน · น้ำตกคลองแก้ว · น้ำตกพลิ้ว · ปางสีดา · หมู่เกาะช้าง |
ภาคตะวันตก | กุยบุรี · แก่งกระจาน · เขาสามร้อยยอด · เขาแหลม · เขื่อนศรีนครินทร์ · เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน · เฉลิมรัตนโกสินทร์ · ทองผาภูมิ · ไทรโยค · น้ำตกห้วยยาง · ลำคลองงู · หาดวนกร · เอราวัณ |
ภาคใต้ | แก่งกรุง · เขานัน · เขาน้ำค้าง · เขาปู่-เขาย่า · เขาพนมเบญจา · เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · เขาสก · เขาหลวง · เขาหลัก-ลำรู่ · คลองพนม · ตะรุเตา · ใต้ร่มเย็น · ทะเลบัน · ธารเสด็จ-เกาะพะงัน · ธารโบกขรณี · น้ำตกซีโป · น้ำตกทรายขาว · น้ำตกโยง · น้ำตกสี่ขีด · น้ำตกหงาว · บางลาง · บูโด-สุไหงปาดี · ลำน้ำกระบุรี · ศรีพังงา · สันกาลาคีรี · สิรินาถ · หมู่เกาะเภตรา · หมู่เกาะชุมพร · หมู่เกาะพยาม · หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง · หมู่เกาะลันตา · หมู่เกาะสิมิลัน · หมู่เกาะสุรินทร์ · หมู่เกาะอ่างทอง · หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ · หาดเจ้าไหม · หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี · แหลมสน · อ่าวพังงา · อ่าวมะนาว-เขาตันหยง |