อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง | |
---|---|
ที่ตั้ง: | จ.สุราษฎร์ธานี ประเทศไทย |
พิกัด: | |
พื้นที่: | 63,750 ไร่ (102 ตร.กม.)[1] |
จัดตั้ง: | 12 พฤศจิกายน 2523 |
นักท่องเที่ยว: | 99,491[2] คน (ปีงบประมาณ 2549) |
ดูแลโดย: | สำนักอุทยานแห่งชาติ |
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นอุทยานแห่งชาติทางทะเลที่มีลักษณะเป็นหมู่เกาะในอ่าวไทยประกอบด้วยเกาะต่าง ๆ 42 เกาะ ได้แก่ เกาะพะลวย เกาะวัวตาหลับ เกาะแม่เกาะ เกาะสามเส้า เกาะหินดับ เกาะนายพุด และเกาะไผ่ลวก เป็นต้น ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลอ่างทอง อำเภอเกาะสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี ครอบคลุมพื้นที่ 102 ตารางกิโลเมตร เป็นพื้นน้ำประมาณ 84 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 82 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทั้งหมด ได้รับการประกาศจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติเมื่อวันที่ 12 พฤศจิกายน พ.ศ. 2523
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ
หมู่เกาะอ่างทองเป็นอุทยานแห่งชาติซึ่งตั้งอยู่ในเขตน้ำตื้นใกล้ฝั่ง ความลึกเฉลี่ยของน้ำประมาณ 10 เมตร น้ำทะเลบริเวณอุทยานฯ มีความโปร่งใสน้อยเนื่องจากได้รับอิทธิพลของตะกอนจากแม่น้ำตาปี ลักษณะชายฝั่งโดยทั่วไปมีความสูงชัน ส่งผลให้ปะการังในบริเวณนี้ก่อตัวในแนวแคบๆเฉพาะชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้และบริเวณที่มีที่กำบังจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ ปะกังรังที่พบส่วนใหญ่ได้แก่ ปะการังหินลูกช้าง ปะการังสมอง ปะการังเขากวางกิ่งสั้น ปะการังพวกนี้จะอยู่ด้านบนของแนว ส่วนที่อยู่ในระดับลึกลงไปและได้รับแสงน้อยจะเป็นพวกปะการังแผ่น (ในสกุล pavona) และปะการังดอกไม้ (Goniopora sp.) สำหรับสัตว์น้ำที่อาศัยอยู่ในบริเวณนี้ได้แก่ ปลาผีเสื้อลายแปดเส้น ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาสินสมุทร ปลานกแก้ว ปลากระเบนทอง ปลาฉลามหูดำ ปลาเก๋า หอยเม่นลายเสือ. ส่วนบริเวณด้านในของแนวปะการังซึ่งการไหลเวียนของน้ำไม่ดีพอนั้นจะเป็นที่อาศัยของ ปลิงทะเล ปูม้า และสาหร่ายสีน้ำตาลกลุ่มสาหร่ายทุ่น (Sargassum sp.) และสาหร่ายจอก (Turbinaria sp.)
บริเวณด้านข้างของเกาะเป็นหินที่ชัน และมีความลึกมากจนแสงส่องลงไปได้น้อย ทำให้ปะการังไม่สามารถเจริญเติบโตได้ ในบริเวณนี้จึงเป็นที่อยู่ของสัตว์จำพวก กัลปังหา กัลปังหาหวี แส้ทะเล หอยนางรม หอยมือเสือ หอยมือหมี ที่สำคัญคือเป็นแหล่งอาศัยของแพลงตอนซึ่งเป็นธาตุอาหารของสัตว์ทะเล ในบริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยสัตว์น้ำหลายชนิด อาทิเช่น กลุ่มหอยสองฝาชนิดต่าง ๆ ปะการังอ่อน หอยจอบ ฟองน้ำครก ฟองน้ำท่อ สาหร่ายคัน เพรียงหัวหอม เป็นต้น และทั้งยังเป็นแหล่งเลี้ยงตัวอ่อนของ ปลาทู ปลากะตัก และหมึกทะเล
[แก้] ความหลากหลายทางชีวภาพ
พื้นที่ส่วนใหญ่ของเกาะขนาดใหญ่ในเขตอุทยาน จะเป็นป่าไม่ผลัดใบ มีพรรณไม้สำคัญคือ พลองใบมน รักป่า อบเชย เต่าร้าง หวาย และรองเท้านารีช่องอ่างทอง ตามชายฝั่งแคบๆจะมีป่าชายทะเลกระจายอยู่ พรรณไม้สำคัญคือ หูกวาง โพทะเล กระทิง ปอทะเล ลำเจียก และพลับพลึงทอง บริเวณภูเขาหินปูน จะมีป่าที่มีลักษณะเฉพาะขึ้นอยู่บนหน้าดินบางๆ พืชส่วนใหญ่ในป่าแถบนี้จะมีขนาดเล็ก เช่น จันทน์ผา สลัดได ยอป่า และอาจพบป่าชายเลนได้บ้างบริเวณชายหาดและสันดอน
บริเวณอุทยานพบนกอย่างน้อย 53 ชนิด โดยเป็นจำพวกนกเป็ดน้ำและนกชายฝั่งประมาณ 10 ชนิด มีนกประจำถิ่น 32 ชนิด เช่น นกยางเขียว เหยี่ยวแดง และนกอพยพ 9 ชนิด เช่น นกยางดำ นกปากซ่อมดง นกเด้าดิน มีนกที่ใกล้สูญพันธุ์อยู่ 1 ชนิด คือ นกเงือกดำ และนกที่ถูกคุกคาม ได้แก่ นกออก นกลุมพูขาว นกลุมพูเขียว นกแอ่นกินรัง และเหยี่ยวแดง
ปลาที่พบในทะเลบริเวณอุทยานมีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น ปลาทู ปลาลัง ปลาเก๋าแดง ปลาปากคม ปลาสีกุน กระเบนจุดขาว กระเบนจุดฟ้า ปลาทรายแดง ปลาหลังเขียว ปลาตะเพียนน้ำเค็ม ปลากะตักใหญ่ ปลาจวด ปลาตาหวานจุด ปลาอินทรี ปลาดาบเงินใหญ่ ปลาสาก ปลาลิ้นหมา ส่วนปลาที่พบตามแนวปะการัง เช่น ปลาสลิดหินดำ ปลาสลิดหินเขียว ปลาสลิดทะเล ปลาข้าวเม่าน้ำลึก ปลาผีเสื้อลายแปดเส้น ปลาผีเสื้อปากยาว ปลาสินสมุทรลายน้ำเงิน ปลากระทงเหว ปลานกแก้ว ปลาสร้อยนกเขา ปลาการ์ตูนอินเดียนแดง ปลาพยาบาล
ในอุทยานพบสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำเพียง 5 ชนิด ขณะที่พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอย่างน้อย 16 ชนิด เช่น ค่างแว่นถิ่นใต้ นากใหญ่จมูกขน วาฬชนิดต่างๆ
[แก้] อ้างอิง
- ↑ อุทยานแห่งชาติ จากธรรมชาติ สู่เขตอนุรักษ์, สำนักอุทยานแห่งชาติ, กรุงเทพฯ, 2545, 49
- ↑ สถิติข้อมูลนักท่องเที่ยวในอุทยานแห่งชาติ
- TourThai.com สื่อกลางการท่องเที่ยวทั่วไทย
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง - กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
![]() |
อุทยานแห่งชาติในประเทศไทย |
---|
ภาคเหนือ | แก่งเจ็ดแคว · ขุนขาน · ขุนแจ · ขุนน่าน · ขุนพระวอ · ขุนสถาน · เขาค้อ · คลองตรอน · คลองลาน · คลองวังเจ้า · แจ้ซ้อน · เชียงดาว · ดอยขุนตาล · ดอยจง · ดอยผากอง · ดอยภูคา · ดอยภูนาง · ดอยเวียงผา · ดอยสุเทพ-ปุย · ดอยหลวง · ดอยอินทนนท์ · ตากสินมหาราช · ตาดหมอก · ถ้ำปลา-น้ำตกผาเสื่อ · ถ้ำผาไท · ถ้ำสะเกิน · ทุ่งแสลงหลวง · นันทบุรี · น้ำตกชาติตระการ · น้ำตกพาเจริญ · น้ำตกแม่สุรินทร์ · น้ำหนาว · ภูซาง · ภูสอยดาว · ภูหินร่องกล้า · แม่เงา · แม่จริม · แม่ตะไคร้ · แม่โถ · แม่ปิง · แม่ปืม · แม่ฝาง · แม่เมย · แม่ยม · แม่วงก์ · แม่วะ · แม่วาง · รามคำแหง · ลานสาง · ลำน้ำกก · ลำน้ำน่าน · เวียงโกศัย · ศรีน่าน · ศรีล้านนา · ศรีสัชนาลัย · สาละวิน · ห้วยน้ำดัง · ออบขาน · ออบหลวง |
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ | แก่งตะนะ · เขาพระวิหาร · เขาใหญ่ · ตาดโตน · ตาพระยา · ไทรทอง · นาแห้ว · นายูง-น้ำโสม · น้ำพอง · ป่าหินงาม · ผาแต้ม · ภูกระดึง · ภูเก้า-ภูพานคำ · ภูจองนายอย · ภูเรือ · ภูแลนคา · ภูเวียง · ภูผาม่าน · ภูผายล · ภูผาเหล็ก · ภูพาน · ภูลังกา · ภูสระดอกบัว · มุกดาหาร |
ภาคกลาง | น้ำตกเจ็ดสาวน้อย · น้ำตกสามหลั่น · พุเตย |
ภาคตะวันออก | เขาคิชฌกูฏ · เขาชะเมา-เขาวง · เขาสิบห้าชั้น · เขาแหลมหญ้า-หมู่เกาะเสม็ด · ทับลาน · น้ำตกคลองแก้ว · น้ำตกพลิ้ว · ปางสีดา · หมู่เกาะช้าง |
ภาคตะวันตก | กุยบุรี · แก่งกระจาน · เขาสามร้อยยอด · เขาแหลม · เขื่อนศรีนครินทร์ · เฉลิมพระเกียรติไทยประจัน · เฉลิมรัตนโกสินทร์ · ทองผาภูมิ · ไทรโยค · น้ำตกห้วยยาง · ลำคลองงู · หาดวนกร · เอราวัณ |
ภาคใต้ | แก่งกรุง · เขานัน · เขาน้ำค้าง · เขาปู่-เขาย่า · เขาพนมเบญจา · เขาลำปี-หาดท้ายเหมือง · เขาสก · เขาหลวง · เขาหลัก-ลำรู่ · คลองพนม · ตะรุเตา · ใต้ร่มเย็น · ทะเลบัน · ธารเสด็จ-เกาะพะงัน · ธารโบกขรณี · น้ำตกซีโป · น้ำตกทรายขาว · น้ำตกโยง · น้ำตกสี่ขีด · น้ำตกหงาว · บางลาง · บูโด-สุไหงปาดี · ลำน้ำกระบุรี · ศรีพังงา · สันกาลาคีรี · สิรินาถ · หมู่เกาะเภตรา · หมู่เกาะชุมพร · หมู่เกาะพยาม · หมู่เกาะระ-เกาะพระทอง · หมู่เกาะลันตา · หมู่เกาะสิมิลัน · หมู่เกาะสุรินทร์ · หมู่เกาะอ่างทอง · หาดขนอม-หมู่เกาะทะเลใต้ · หาดเจ้าไหม · หาดนพรัตน์ธารา-หมู่เกาะพีพี · แหลมสน · อ่าวพังงา · อ่าวมะนาว-เขาตันหยง |
บทความนี้ นำข้อความบางส่วนมาจากเว็บไซต์หรือสื่ออื่น http://www.samuitiger.de ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์หรือสื่อดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์
![]() |
อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ อุทยานแห่งชาติหมู่เกาะอ่างทอง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |