ภาคกลาง
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ภาคกลาง หมายถึง ภูมิภาคตอนกลางของไทย ครอบคลุมพื้นที่แห่งที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา อยู่กึ่งกลาง ระหว่าง ภาคเหนือ ภาคอีสาน และภาคใต้
[แก้] การแบ่งพื้นที่
เนื่องจากพื้นที่ภาคกลางมีจังหวัดต่างๆ มากถึง 26 จังหวัด ในการแบ่งพื้นที่จึงอาจแบ่งภาคกลางเป็นส่วนย่อยๆ หลายลักษณะด้วยกัน เช่น
- 3 ภาคย่อย
- ภาคกลาง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, ฉะเชิงเทรา, ชัยนาท, นครปฐม, นครนายก, นนทบุรี, ปทุมธานี, ปราจีนบุรี, ลพบุรี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร, สระแก้ว, สระบุรี, สิงห์บุรี, อยุธยา, อ่างทอง
- ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี, ชลบุรี, ตราด, ระยอง
- ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สุพรรณบุรี
- 4 ภาคย่อย
- กรุงเทพและปริมณฑล ได้แก่ กรุงเทพมหานคร, นครปฐม, นนทบุรี, ปทุมธานี, สมุทรปราการ, สมุทรสาคร
- ภาคกลาง ได้แก่ ฉะเชิงเทรา, ชัยนาท, นครนายก, ปราจีนบุรี, ลพบุรี, สระแก้ว, สระบุรี, สิงห์บุรี, อยุธยา, อ่างทอง
- ภาคตะวันตก ได้แก่ กาญจนบุรี, ประจวบคีรีขันธ์, เพชรบุรี, ราชบุรี, สมุทรสงคราม, สุพรรณบุรี
- ภาคตะวันออก ได้แก่ จันทบุรี, ชลบุรี, ตราด, ระยอง
[แก้] อาชีพของคนภาคกลาง
ลักษณะของพื้นที่ภาคกลางจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำ ดังนั้นคนส่วนใหญ่ในพื้นที่ภาคกลาง จึงประกอบอาชีพเกษตร การเลี้ยงสัตว์ และการทำประมงทั้งน้ำจืดและประมงน้ำเค็ม อีกทั้งอาชีพค้าขายก็เป็นอีกอาชีพหนึ่งที่คนภาคกลางนิยมกันมาก เพราะว่าภาคกลาง จะมีทางคมนาคมที่สะดวกสบายทั้งทางบกและทางน้ำ ทำให้เหมาะแก่การทำการค้าเป็นอย่างยิ่ง
ภาคกลาง เป็นบทความเกี่ยวกับ จังหวัด อำเภอ หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ของประเทศไทย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ภาคกลาง ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สถานีย่อย:ประเทศไทย |