เล่าจื๊อ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
เล่าจื๊อ (老子, Lao Zi หรือ Lao Tzu) นักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงชาวจีนที่สุดท่านหนึ่งของชนชาติจีน ที่เชื่อกันว่าอาศัยอยู่ในช่วง 400 ปี ก่อนคริสตศักราช ในช่วงของสงครามปรัชญา และสงครามการเมือง เล่าจื๊อได้เขียนตำราอันเป็นแบบแผนในทางเต๋า นั่นคือ "เต๋าเต็กเก็ง" (Tao Te Ching) (道德經) ซึ่งเป็นผลงานทางลัทธิเต๋าที่ยังคงตกทอดมาถึงยุคปัจจุบันนี้
[แก้] ประวัติ
ตามหลักฐานทางประวัติศาสตร์ เรารู้จักเล่าจื๊อน้อยมาก แต่มีพงศาวดารจีนหลายชิ้นที่กล่าวถึงเล่าจื๊อ ในฐานะที่เป็นผู้แต่งคัมภีร์ เต๋าเต็กเก็ง ซึ่งเนื้อหาในคัมภีร์นี้ มีความสำคัญกับวัฒนธรรมจีนในรุ่นต่อๆมาอย่างมาก ถือได้ว่าเทียบเท่าได้กับ ขงจื๊อ ตามพงศาวดารระบุไว้ว่า เล่าจื๊อ เกิดในแคว้น Ku (苦縣 Kǔ Xiàn) ซึ่งในปัจจุบันคือบริเวณ Lùyì County (鹿邑) ของมณฑล Henan , บางตำนานกล่าวไว้ว่าเล่าจื๊อเมื่อเกิดมามีผมสีขาว และอยู่ในครรภ์มารดานานถึง 8 หรือ 80 ปี ,ชื่อของเล่าจื๊อแปลโดยนัยได้ 2 แบบว่า "อาจารย์ผู้อาวุโส" หรือ "เด็กผู้อาวุโส"
จากพงศาวดารของซือหม่าเซียน (Sima Qian) กล่าวว่า เล่าจื๊อมีอายุมากกว่าขงจื๊อ แต่อยู่ในยุคสมัยเดียวกัน และเคยได้พบปะเสวนากัน เล่าจื๊อได้ทำงานในราชวงศ์ Zhou ขงจื๊อและเล่าจื๊อได้มาพบเจอโดยบังเอิญกันในแคว้น Zhou (ปัจจุบันคือแถบเมืองลั่วหยาง) โดยขงจื๊อได้มาค้นหาตำราในห้องสมุด จากเรื่องเล่านี้ ทั้งสองได้แลกเปลี่ยนทรรศนะคติความเห็นในหลายๆด้าน เป็นเวลาหลายเดือน หลังจากการเสวนาในครั้งนี้ ขงจื๊อกล่าวว่า "การได้เสวนากับท่านเล่าจื๊อ ถือว่าเป็นการศึกษาที่ล้ำลึก และดีเยี่ยมกว่าหนังสือในห้องสมุดเสีย อีก"
[แก้] ผลงาน
ผลงานที่สำคัญที่สุดของเล่าจื๊อคือ "คัมภีร์เต๋าเต็กเก็ง" ซึ่งมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของประเทศจีนอย่างมาก โดยภายในคัมภีร์นั้น มีเนื้อหาในด้านปรัชญาบุคคล ความกลมกลืนต่อการใช้ชีวิตกับธรรมชาติ จนไปถึงปรัชญาการเมือง
จากการตีความ คำว่า "เต๋า" ในคัมภีร์ มักจะหมายถึง มรรค หรือ หนทาง (The way) หรือ ธรรม ซึ่งมีความหมายกว้างๆและมักตีความหมายในแนวเป็นไปตามธรรมชาติ การกระทำที่สอดคล้องกับวิถีแห่งเต๋าใดๆ จะสามารถบรรลุมรรคผลได้โดยง่าย เล่าจื๊อเชื่อว่า ควรหลีกเลี่ยงความรุนแรงต่างๆเท่าที่จะเป็นไปได้
ถึงแม้ว่าเล่าจื๊อจะไม่ได้ปลูกฝังวัฒนธรรมหยั่งลึกได้เทียบเท่ากับ ขงจื๊อ ในอารยธรรมจีน แต่ท่านก็ยังเป็นที่เคารพนับถือโดยทั่วไป ทั้งแนวความคิดและการปฏิบัติตามหนทางแห่งเต๋า
[แก้] อิทธิพลต่อปัญญาชนรุ่นหลัง
ผู้ติดตามเล่าจื้อที่มีชื่อเสียงที่สุดคือ จวงจื๊อ (Zhuang Zi) ได้เขียนตำราที่มีอิทธิพลต่อวงการวรรณกรรมของจีนมาก โดยให้ข้อคิดเกี่ยวกับ individualism, freedom และ carefreeness