เหี้ย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
เหี้ย เป็นสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง จำพวกเดียวกับตะกวด ตัวอ้วนใหญ่สีดำ มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยบริวเณใกล้น้ำ
คำว่า "เหี้ย" นั้นมักใช้เป็นคำด่าทอ บางคนจึงเรียก ตัวเงินตัวทอง แทน ในเชิงการใช้คำศัพท์แบบที่ใช้กับคน มักจะใช้กับเพื่อนสนิทมากๆ พูดเป็นคำสร้อยนำหน้าชื่อก็มี
สารบัญ |
[แก้] ลักษณะ
มีรูปร่างคล้ายกิ้งก่าขนาดใหญ่ ความยาว 2.5-3 เมตร มีลิ้นแยกเป็นสองแฉกคล้ายงู ใช้สำหรับรับกลิ่น มีลายดอกสีเหลืองพาดขวางทางยาว ชอบอาศัยอยู่บริเวณใกล้แหล่งน้ำ ว่ายน้ำเก่งและ ดำน้ำนาน ซึ่งเหี้ยมีลักษณะคล้ายคลึงกับ ตะกวด เห่าช้าง และ ตุ๊ดตู่
[แก้] การหากิน
ชอบหากินของเน่าเปื่อย เศษซากอาหาร บางครั้งก็จะกินสัตว์เป็นๆ เช่นไก่ เป็ด ปู หอยงู หนู ไก่ นก และไข่ของสัตว์ต่างๆ รวมทั้งปลา
[แก้] การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในฤดูฝน จะจับคู่กันโดยไม่เลือกว่าคู่จะต้องเป็นตัวเดิม บางครั้งอาจมีการต่อสู้รุนแรงระหว่างตัวผู้เพื่อแย่งชิงตัวเมีย โดยออกลูกเป็นไข่
ไข่จะมีลักษณะรียาว บางครั้งจะสีขาวขุ่น วางไข่ประมาณ 6-50 ฟอง ในแต่ละปีจะสามารถวางไข่ได้ 2-3 ครั้ง หรืออาจมากกว่านั้นในพื้นที่ซึ่งสภาพในฤดูแล้งและฤดูฝนไม่แตกต่างกัน ไข่จะถูกกลบเป็นเนินดินหรือรังปลวก เวลาในการฟักขึ้นกับชนิดและสภาพแวดล้อม
[แก้] ใช้เป็นอาหาร
เหี้ยมีการนำมารับประทานในทางภาคเหนือนำมาทำอาหารกินกัน ซึ่งราคาก็จัดอยู่ในระดับค่อนข้างจะดี เรียกว่า "แกงอ่อมแลน" รสชาติเผ็ด จัดจ้าน เนื้อเหี้ยจะมีรสชาติคล้ายเนื้อไก่บ้าน แต่จะแน่นมาก ตอนนี้จะมีสองแบบ คือแลน(เลี้ยง)กับแลนธรรมชาติ ตรงส่วนโคนหางจะอร่อยที่สุดเพราะเนื้อจะแน่นและมีกระดูกน้อย
[แก้] ที่มาของคำด่าทอ
คนไทยในอดีต เชื่อว่าถ้าเหี้ยขึ้นบ้านใคร บ้านนั้นจะมีแต่ความโชคร้าย จึงเปลี่ยนชื่อเรียกให้ฟังมีสิริมงคล โดยเรียกว่า " ตัวเงินตัวทอง " กล่าวกันว่า สำหรับการเมืองไทยในยุคเพิ่งเปลี่ยนแปลงการปกครองนั้น นักการเมืองเมื่อไม่ชอบหน้าใคร ก็มักจะนำเหี้ยนี้ไปปล่อยไว้บริเวณหน้ารัฐสภา
เหี้ย เป็นบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ เหี้ย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |