งู
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
งู | ||||||||||||||
---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|---|
งูเห่าอินเดีย (Indian Cobra) |
||||||||||||||
การจำแนกชั้นทางวิทยาศาสตร์ | ||||||||||||||
|
||||||||||||||
ชื่อทวินาม | ||||||||||||||
Naja naja L. , 1768 |
งู เป็นสัตว์เลื้อยคลานชนิดหนึ่ง มีเกล็ดปกคลุมผิวหนัง ลักษณะลำตัวยาวซึ่งโดยขนาดของความยาวนั้น ขึ้นอยู่กับชนิดของงู ปราดเปรียวและว่องไวในการเคลื่อนที่ มีลิ้นสองแฉกเพื่อใช้สำหรับรับความรู้สึกทางกลิ่น จัดอยู่ในชั้นเรพทิล (Class Reptilia) โดยทั่วไปงูจะกลัวและไม่กัด นอกเสียจากถูกรบกวนหรือบุกรุก จะเลื้อยหลบหนีเมื่อมีสิ่งใดเข้ามาใกล้บริเวณที่อยู่ ออกล่าเหยื่อเมื่อรู้สึกหิว โดยกินสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กเป็นอาหาร ยกเว้นงูบางชนิดที่กินงูด้วยกันเอง เช่นงูจงอาง สามารถมองเห็นได้ดีในที่มืดและในเวลากลางคืน[1]
งูโดยทั่วไปจะออกลูกเป็นไข่ ยกเว้นแต่งูที่มีพิษซึ่งมีผลโดยตรงทางด้านโลหิต (Vipers) ซึ่งจะออกลูกเป็นตัว เช่นงูแมวเซา ธรรมชาติโดยทั่วไปของงูจะทำการลอกคราบเป็นระยะเวลา และจะบ่อยครั้งเมื่องูยังมีอายุไม่มากนัก ซึ่งหลังจากการลอกคราบของงู จะทำให้เกล็ดที่ปกคลุมผิวหนัง มีสีสันสดใสรวมทั้งทำให้เคลื่อนไหวร่างกายได้อย่างรวดเร็ว
ภายในประเทศไทยมีงูจำนวนมากตามสภาพภูมิอากาศ ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อการดำรงชีวิต ทั่วทุกภูมิภาพของประเทศไทยสามารถพบเห็นงูได้มากกว่า 180 ชนิด โดยเป็นงูที่มีพิษจำนวน 46 ชนิด และสามารถจำแนกงูที่มีพิษออกได้อีก 2 ประเภทคือ
- งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่บนบก จำนวน 24 ชนิด
- งูที่มีพิษ โดยอาศัยอยู่ในทะเล จำนวน 22 ชนิด
ซึ่งโดยรวมแล้วงูที่มีพิษนั้น ได้ถูกแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ งูที่มีพิษต่อระบบประสาทและงูที่มีพิษต่อระบบโลหิต
[แก้] ลักษณะทั่วไป
ลักษณะโดยทั่วไปของงูคือ มีลำตัวที่กลมยาว สามารถบิดโค้งงอร่างกายได้ ไม่มีหูและไม่มีขา เคลื่อนไหวร่างกายด้วยการเลื้อยด้วยอก งูบางชนิดมีติ่งงอกออกมาคล้ายกับเล็บขนาดเล็ก (Small horn-sheathed claws) ติ่งเล็ก ๆ นี้จะอยู่บริเวณช่องสำหรับเปิดอวัยวะเพศ ลักษณะเฉพาะตั้งแต่ศีรษะ คอ อก ช่องท้องรวมทั้งหาง มีความเหมือนที่ไม่แตกต่างกัน [2] สามารถแบ่งแยกงูได้โดยการใช้ขนาดของเส้นผ่านศูนย์กลาง ในแต่ละส่วนของขนาดลำตัวเป็นตัวกำหนด ซึ่งในส่วนของขนาดลำตัวจะเป็นส่วนที่มีขนาดใหญ่โตที่สุด
ลักษณะลำตัวของงู จะมีลักษณะเป็นทรงกระบอกตัน โดยมีภาพตัดขวางของลำตัวในหลากหลายรูปแบบ เช่น ภาพตัดขวางในรูปแบบวงกลม ภาพตัดขวางในรูปแบบวงรี ในลักษณะแนวตั้งหรือแนวนอน รวมทั้งภาพตัดขวางในรูปบบรูปสามเหลี่ยม ซึ่งลักษณะของภาพตัดขวางที่มีความแตกต่างกันนี้เอง จะเป็นตัวกำหนดแหล่งที่อยู่อาศัยของงูในแต่ละชนิด[2]
ภายในประเทศไทยและอินโด-มลายูมีงูอยู่จำนวนมากกว่า 100 ชนิด เช่นงูหลาม งูเหลือมซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ สามารถเจริญเติบโตจนมีความยาวได้ถึง 10 เมตร ซึ่งงูชนิดนี้เป็นงูที่จัดอยู่ในประเภทเดียวกับอนาคอนดา ซึ่งเป็นงูที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก
งูมีจำนวนมากมายหลากหลายชนิด โดยปกติงูจะมีอยู่ชุกชุม สามารถพบเห็นได้ทั่วไปเกือบทั่วทั้งประเทศไทย นอกจากพื้นที่ทางตอนเหนือของประเทศไทย ซึ่งจำนวนประชากรของงูลดน้อยลงเป็นอย่างมาก ซึ่งชนิดของงูนั้นขึ้นอยู่กับสภาพอากาศและสภาพทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยด้วย เช่นพื้นที่ป่าไม้และพื้นที่รกชื้น
[แก้] อ้างอิง
- ↑ ลักษณะธรรมชาติของงู
- ↑ 2.0 2.1 ไพบูลย์ จินตกุล, งูพิษในประเทศไทย, สำนักพิมพ์มติชน, 2547, หน้า 32
งู เป็นบทความเกี่ยวกับ สัตว์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ งู ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |