ประเทศปาเลา
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
|
|||||
คำขวัญ: Rainbow's End | |||||
เพลงชาติ: Belau loba klisiich er a kelulul | |||||
เมืองหลวง | เมเลเคอ็อก (เมื่อ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2549) |
||||
เมืองใหญ่สุด | คอรอร์ | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ ภาษาปาเลา ภาษาญี่ปุ่น (ในเกาะอังเอาร์) | ||||
รัฐบาล | รัฐบาลระบบรัฐธรรมนูญ ในความสัมพันธ์เสรีกับสหรัฐอเมริกา |
||||
- ประธานาธิบดี | ทอมมี เรเมเงเซา | ||||
เอกราช วันที่ |
จากดินแดนในภาวะพึ่งพิง ของสหประชาชาติ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2537 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
458 กม.² (อันดับที่ 196) 177 ไมล์² น้อยมาก |
||||
ประชากร - ก.ค. 2548 ประมาณ - ความหนาแน่น |
19,949 (อันดับที่ 216) 44/กม² (อันดับที่ 155) 114/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2544 ค่าประมาณ 174 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 219) 9,000 (อันดับที่ 90) |
||||
HDI (2546) | n/a (อันดับที่ n/a) – ยังไม่ได้รับการจัดอันดับ | ||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์สหรัฐ (USD ) |
||||
เขตเวลา | (UTC+ 9) | ||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .pw | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +680 |
ปาเลา (Palau) หรือ เบเลา (Belau) มีชื่อทางการว่า สาธารณรัฐปาเลา (Republic of Palau) เป็นประเทศเกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก ตั้งอยู่ทางตะวันออกของประเทศฟิลิปปินส์ไปประมาณ 500 กม. ได้รับเอกราชในปี พ.ศ. 2537 เป็นหนึ่งในชาติที่ใหม่ที่สุด และมีประชากรน้อยที่สุดในโลก
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
สันนิษฐานว่าชนพื้นเมืองของปาเลาเป็นพวกที่อพยพมาจากหมู่เกาะในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อกว่า 3,000 ปีมาแล้ว ส่วนชาวยุโรปพวกแรกที่เดินทางมาถึงปาเลาเป็นชาวสเปน แต่ไม่มีการตั้งถิ่นฐานจริงจังจนกระทั่งเรือของอังกฤษอัปปางนอกฝั่งปาเลา จึงทำให้ชาวอังกฤษเริ่มรู้จักเกาะนี้ และกลายเป้นคู่ค้าหลักในขณะเดียวกันโรคติดต่อที่มาจากชาวยุโรปก็คร่าชีวิตชาวเกาะเป็นจำนวนมาก
ต่อมาชาวสเปนได้มีอำนาจเหนือปาเลา แต่ภายหลังได้ขายหมู่เกาะนี้ให้แก่เยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ปาเลาจึงกลายเป็นสนามรบระหว่างญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกาภายหลังสงครามสหรัฐอเมริกาเริ่มมามีอำนาจแทนญี่ปุ่น ปาเลาต้องพึ่งพาความช่วยเหลือจากอเมริกาเกือบทุกด้าน หลังจากได้รับเอกราช ก็ยังได้รับการช่วยเหลือทางการเงินและการป้องกันจากสหรัฐอเมริกา
[แก้] การเมือง
ปาเลามีประธานาธิบดีซึ่งได้รับเลือกตั้งโดยตรงจากประชาชนเป็นทั้งประมุขของประเทศและหัวหน้าคณะรัฐบาลทำหน้าที่ในการบริหารประเทศ ดำรงตำแหน่งครางละ 4 ปี
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
ปาเลาแบ่งเขตการปกครองเป็น 16 หน่วยย่อย เรียกว่ารัฐ (states):
- คายังเอล (Kayangel)
- คอรอร์ (Koror)
- งเชซาร์ (Ngchesar)
- งัตปัง (Ngatpang)
- งาร์เชลอง (Ngarchelong)
- งาร์ดเมา (Ngardmau)
- งาราร์ด (Ngaraard)
- งิวัล (Ngiwal)
- เงเรมเลงอุย (Ngeremlengui)
- ซอนโซรัล (Sonsoral)
- เปเลลิว (Peleliu)
- เมเลเคอ็อก (Melekeok)
- อังเอาร์ (Angaur)
- ไอเมลีก (Aimeliik)
- ไอไร (Airai)
- ฮาโตโบเฮ (Hatobohei)
[แก้] ภูมิศาสตร์
[แก้] ภูมิประเทศ
ประกอบด้วยหมู่เกาะ 26 เกาะ และมีเกาะเล็กๆ อีกประมาณ 300 เกาะ
[แก้] ภูมิอากาศ
ฝนตกชุก และอากาศร้อนตลอดปี
[แก้] เศรษฐกิจ
ปาเลาเป็นประเทศหมู่เกาะที่มีศักยภาพทางเศรษฐกิจและมาตรฐานชีวิตที่ดีเมื่อเทียบกับประเทศหมู่เกาะในแปซิฟิกด้วยกัน แต่อย่างไรก็ตามยังมีการกระจุกตัวของรายได้ ทั้งนี้ รายได้หลักมาจากการ ท่องเที่ยว เกษตรกรรม การประมง โดยรัฐบาลเป็นผู้สร้างและจ้างงานหลัก ปาเลายังคงพึ่งพาเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนาจากสหรัฐฯ และการประกอบธุรกิจจากนักลงทุนสหรัฐฯ ซึ่งทำให้รายได้เฉลี่ยต่อหัว อยู่ในอัตราที่สูงเมื่อเทียบกับสหพันธรัฐไมโครนีเซีย
[แก้] ประชากร
ปาเลา ร้อยละ 70 ชาวเอเชีย ร้อยละ 28 อื่นๆ ร้อยละ 2 ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก ประชากรรู้หนังสือร้อยละ 98 ประชากรอาศัยอยู่ในเขตเมืองร้อยละ 71
[แก้] วัฒนธรรม
เป็นแบบวัฒนธรรมแบบชาวไมโครนีเซีย และก็ได้รับวัฒนธรรมจากตะวันตกเป็นอย่างมากแม้กระทั่งภาษาพูด และศาสนา ในฐานะอดีตเคยเป็นเมืองขึ้น ส่วนญี่ปุ่นเองก็มีส่วนสร้างวัฒนธรรมของชาวปาเลา เช่น ภาษาญี่ปุ่น ส่วนมากพูดกันในเกาะอังเอาร์