ประเทศออสเตรเลีย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
-
บทความนี้เกี่ยวกับประเทศออสเตรเลีย สำหรับทวีป ดูที่ ทวีปออสเตรเลีย
|
|||||
คำขวัญ: ไม่มี (เดิม Advance Australia) | |||||
เพลงชาติ: แอดวานซ์ออสเตรเลียแฟร์ | |||||
เมืองหลวง | แคนเบอร์รา |
||||
เมืองใหญ่สุด | ซิดนีย์ | ||||
ภาษาราชการ | ภาษาอังกฤษ (โดยพฤตินัย)1 | ||||
รัฐบาล | สหพันธรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ | ||||
ประมุข ผู้สำเร็จราชการ นายกรัฐมนตรี |
สมเด็จพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 แห่งสหราชอาณาจักร ไมเคิล เจฟเฟอรี จอห์น ฮาวเวิร์ด |
||||
เอกราช รัฐธรรมนูญ บทกฎหมายเวสต์มินสเตอร์ พระราชบัญญัติออสเตรเลีย |
จาก สหราชอาณาจักร 1 มกราคม พ.ศ. 2444 11 ธันวาคม พ.ศ. 2474 3 มีนาคม พ.ศ. 2529 |
||||
เนื้อที่ - ทั้งหมด - พื้นน้ำ (%) |
7,686,850 กม.² (อันดับที่ 6) 2,967,909 ไมล์² 1 |
||||
ประชากร - 2549 ประมาณ - 2544 - ความหนาแน่น |
20,555,300 (อันดับที่ 53) 18,972,350 2.65/กม² (อันดับที่ 217) 5.2/ไมล์² |
||||
GDP (PPP) - รวม - ต่อประชากร |
2548 ค่าประมาณ 630.1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 17) 30,897 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 14) |
||||
HDI (2546) | 0.955 (อันดับที่ 3) – สูง | ||||
สกุลเงิน | ดอลลาร์ออสเตรเลีย (AUD ) |
||||
เขตเวลา - ฤดูร้อน (DST) |
มีหลายเขต (UTC+8–+10) มีหลายเขต (UTC+8–+11) |
||||
รหัสอินเทอร์เน็ต | .au | ||||
รหัสโทรศัพท์ | +61 |
||||
1ภาษาอังกฤษไม่มีสถานะเป็นภาษาทางการโดยนิตินัย |
ออสเตรเลีย (Australia) หรือชื่อทางการคือ เครือรัฐออสเตรเลีย (Commonwealth of Australia) เป็นประเทศที่มีพื้นที่มากเป็นอันดับ 6 ของโลก เป็นประเทศเดียวที่มีพื้นที่ครอบคลุมเต็มทวีป และเป็นประเทศที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคออสตราเลเชีย ประเทศออสเตรเลียรวมถึงเกาะแทสเมเนีย ซึ่งเป็นรัฐหนึ่งของออสเตรเลีย ประเทศเพื่อนบ้านของออสเตรเลียประกอบด้วย นิวซีแลนด์ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ อินโดนีเซีย ปาปัวนิวกินี และติมอร์ตะวันออกทางเหนือ ชื่อ Australia มาจากคำในภาษาละติน ว่า terra australis incognita หมายถึง ดินแดนทางใต้ที่ไม่รู้จัก
สารบัญ |
[แก้] ประวัติศาสตร์
ในออสเตรเลียพบว่ามีประชากรเข้ามาอาศัยเมื่อประมาณ 40,000-50,000 ปีที่แล้วโดยอพยพไปจากทวีปเอเชียและหมู่เกาะใกล้เคียง ภายหลัง จึงมีการอพยพคนจากทางยุโรปโดยเฉพาะจากประเทศอังกฤษเข้าไปอยู่อาศัย โดยชนเผ่าพื้นเมืองเดิม คือชนเผ่า อบอร์ริจิน
[แก้] การเมือง
ออสเตรเลียมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา มีรูปแบบรัฐบาลเป็นสหพันธรัฐ และระบอบราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประมุขแห่งรัฐของออสเตรเลียคือสมเด็จพระราชินีแห่งออสเตรเลีย ซึ่งพระองค์ปัจจุบันคือสมเด็จบรมพระราชินีนาถอลิซาเบธที่ 2 พระอิสริยยศในออสเตรเลียคือ Elizabeth the Second, by the Grace of God Queen of Australia and Her other Realms and Territories, Head of the Commonwealth[1]
ตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ (governor-general) เป็นผู้แทนพระองค์ในออสเตรเลียของพระประมุขซึ่งประทับอยู่ในสหราชอาณาจักร รัฐธรรมนูญของออสเตรเลียระบุว่า "อำนาจบริหารเป็นของสมเด็จพระราชินี และทรงใช้อำนาจนั้นผ่านผู้สำเร็จราชการในฐานะผู้แทนพระองค์ของสมเด็จพระราชินี"[2] อำนาจของผู้สำเร็จราชการนั้นรวมถึงการแต่งตั้งรัฐมนตรีและผู้พิพากษา การยุบสภา และการลงนามบังคับใช้กฎหมาย ผู้สำเร็จราชการคนปัจจุบันคือพลตรีไมเคิล เจฟเฟอรี ผู้สำเร็จราชการยังดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการทหารสูงสุดด้วย สภาบริหารสหพันธรัฐ (Federal Executive Council) เป็นองค์กรที่ทำหน้าที่ให้คำแนะนำแก่ผู้สำเร็จราชการ โดยมีผู้สำเร็จราชการเป็นประธาน และรัฐมนตรีทุกคนมีสมาชิกภาพ ในทางปฏิบัติ ผู้สำเร็จราชการจะใช้อำนาจตามคำแนะนำของนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี โดยทั่วไปแล้วสมาชิกของสภานั้นยาวตลอดชีวิต แต่มีเพียงสมาชิกคณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันที่เข้าร่วมประชุม
รัฐสภาของออสเตรเลีย ใช้ระบบสภาคู่ ประกอบด้วยสมเด็จพระราชินี (ผ่านผู้สำเร็จราชการ) สภาผู้แทนราษฎร (House of Representative) และวุฒิสภา (Senate) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิก 150 คน มาจากการเลือกตั้ง โดยแบ่งเป็นเขตเลือกตั้ง มีผู้แืืทนเขตละหนึ่งคน วุฒิสภามีสมาชิก 76 คน มาจากแต่ละรัฐ รัฐละ 12 คน และจากดินแดน (เขตเมืองหลวงและนอร์เทิร์นเทอริทอรี) ละสองคน ทั้งสองสภาจัดการเลือกตั้งทุกสามปี
[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง
รัฐบาลสหพันธรัฐรับผิดชอบกิจการระดับประเทศ เช่น การป้องกันประเทศ การต่างประเทศ ส่วนรัฐบาลในระดับรัฐ ดูแลด้าน การศึกษา การคมนาคมขนส่ง การบริหารสาธารณสุข การเกษตร การรักษากฎหมายภายในรัฐของตน และรัฐบาลระดับท้องถิ่น ดูแลสาธารณูปโภค การระบายน้ำ การขจัดของเสีย สวนสาธารณะ ห้องสมุดประชาชน
ออสเตรเลียประกอบด้วย 6 รัฐ และ 3 ดินแดน*
- Australian Capital Territory*
- ออสเตรเลียนแคพิทอลเทร์ริทอรี แคนเบอร์รา (Canberra) คือเมืองหลวงของประเทศ เป็นศูนย์กลางการปกครอง ลักษณะตัวเมืองทันสมัย เพราะมีการวางผังเมืองอย่างดีเยี่ยม เป็นที่ตั้งขององค์กรระดับชาติ และหน่วยงานสถานทูตของประเทศต่าง ๆ รวมทั้งสถานทูตไทย
- Jervis Bay Territory*
- เจอร์วิสเบย์เทร์ริทอรี
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
- New South Wales
- รัฐนิวเซาท์เวลส์ เมืองหลวงชื่อ ซิดนีย์ รัฐนี้มีประชากรหนาแน่นมากที่สุด มีชาวไทยและนักศึกษาไทยมากที่สุดด้วย เป็นรัฐที่พัฒนาทางอุตสาหกรรมมากที่สุดในออสเตรเลีย ซิดนีย์เป็นเมืองที่คึกคัก มีสีสัน มีชีวิตชีวา สัญลักษณ์ของเมืองคือ โรงอุปรากร (Opera House) และสะพานข้ามอ่าวซิดนีย์ (Sydney Harbour Bridge)
- Northern Territory*
- นอร์เทิร์นเทร์ริทอรี มีเมือง ดาร์วิน เป็นเมืองหลวง เนื้อที่ส่วนใหญ่แห้งแล้ง มีพื้นที่เกษตรกรรมเพียงร้อยละ 10 ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม
- Queensland
- รัฐควีนส์แลนด์ เป็นรัฐใหญ่อันดับสอง มีเมืองหลวงคือ บริสเบน ได้ชื่อว่าเป็น "รัฐแสงแดด" (Sunshine State) มีแนวปะการังที่ยาวที่สุดในโลกชื่อ เกรตแบเรียร์รีฟ ซึ่งได้รับการยกย่องเป็นมรดกโลก มีป่าดงดิบและป่าชื้นเขตร้อนที่อุดมสมบูรณ์
- South Australia
- รัฐเซาท์ออสเตรเลีย เมืองหลวงชื่อ แอดิเลด (Adelaide) ครั้งหนึ่งเมืองนี้ได้ชื่อว่าเป็น "เมืองแห่งเทศกาล" เนื้อที่ส่วนใหญ่แห้งแล้งมีพื้นที่เกษตรกรรมเพียงร้อยละ 10 ภูมิอากาศไม่เหมาะแก่การเพาะปลูก แต่เป็นแหล่งผลิตเหล้าไวน์ชั้นเยี่ยม
- Tasmania
- รัฐแทสเมเนีย เมืองหลวงคือ โฮบาร์ต (Hobart) แทสเมเนียเป็นรัฐที่เล็กที่สุด ลักษณะเป็นเกาะ ตั้งอยู่ห่างจากรัฐวิกตอเรียบนแผ่นดินใหญ่ประมาณ 240 กิโลเมตร มีอากาศหนาวที่สุด สภาพภูมิประเทศเป็นหุบเขาและที่ราบสูง ทิวทัศน์สวยงามยิ่ง จนได้รับการขนานนามว่า เป็นสวิตเซอร์แลนด์ของออสเตรเลีย เป็นเมืองสงบ ค่าครองชีพและค่าเล่าเรียนถูก เป็นที่ตั้งของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย (University of Tasmania)
- Western Australia
- รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย เมืองหลวงคือเพิร์ท (Perth) เป็นรัฐที่มีพื้นที่มากที่สุด อุดมสมบูรณ์ด้วยเหมืองแร่ และแร่ทองคำ มีชายฝั่งทะเลยาวถึง 12,500 กิโลเมตร อาชีพสำคัญของประชากรคือการทำประมงและทำเหมืองแร่ นอกจากนี้ยังเป็นแหล่งผลิตเพชรได้มากเป็นอันดับสามของโลก เพิร์ทเป็นเมืองที่สะอาด สวยงามและอยู่ใกล้ประเทศไทยมากที่สุด ใช้เวลาเดินทางแค่ 6 ชั่วโมงครึ่ง มีเวลาต่างกับประเทศไทยเพียง 1 ชั่วโมงเท่านั้น
- Victoria
- รัฐวิกตอเรีย ได้ชื่อว่า "รัฐสวน" (Garden State) เนื่องจากมีสวนสาธารณะมากกว่ารัฐอื่น เมืองหลวงคือ เมลเบิร์น เป็นเมืองเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับสอง และเป็นเมืองที่นักศึกษาไทยไปศึกษามากเป็นอันดับสอง
[แก้] ภูมิศาสตร์
ออสเตรเลียมีลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไปร้อยละ 65 เป็นที่ราบสูง และตั้งอยู่ทางทิศตะวันตก พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นทะเลทรายที่แห้งแล้งและทุรกันดาร และมีขนาดทะเลทรายรวมกันใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลกรองจากทะเลทรายสะฮาราในทวีปแอฟริกา ชาวออสเตรเลียเรียกดินแดนที่แห้งแล้งและทุรกันดารนี้ว่า "เอาต์แบ็ก" ประชากรออสเตรเลียส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในบริเวณชายฝั่งด้านตะวันออกหลังเทือกเขาเกรตดิไวดิง ซึ่งแบ่งแยกชายฝั่งตะวันออกกับเขตเอาต์แบ็ก มีแม่น้ำสายสำคัญ ๆ อยู่ทางภูมิภาคตะวันออก ได้แก่ แม่น้ำดาร์ลิง แม่น้ำเมอร์เรย์ ส่วนตอนกลางของประเทศที่เรียกว่า "เขตเซนทรัลโลว์แลนด์" เป็นเขตแห้งแล้งที่สุด แม่น้ำลำธารต่าง ๆ อาจแห้งสนิทเป็นเวลาหลายปี เนื่องจาก ทวีป ออสเตรเลียมีสภาพเป็นเกาะทำให้ มีสิ่งมีชวิตที่แตกต่างจากที่อื่นมาก เนื่องจากว่า ไม่ได้เกิดการอพยพย้ายถิ่น ของสิ่งมีชีวิตบนแผ่นดิน อื่นๆมา ยกตัวอย่างเช่น จิงโจ้ หมีโคล่าเป็นต้น
[แก้] ประชากร
ประชากรออสเตรเลียมีทั้งหมด ประมาณ 18 ล้านคน เป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดค่อนข้างต่ำ
[แก้] วัฒนธรรม
เนื่องจากประชากรแต่เดิมส่วนใหญ่อพยพมาจากทวีปยุโรป จึงทำให้วัฒนธรรมเป็นแบบตะวันตก โดยเฉพาะแบบอังกฤษประชากรส่วนใหญ่จะนับถือศาสนาคริสต์
[แก้] อ้างอิง
- ↑ http://www.royal.gov.uk/output/Page4908.asp ((อังกฤษ))
- ↑ http://australianpolitics.com/constitution/text/61-70.shtml ((อังกฤษ))
ออสเตรเลีย | ออสเตรเลีย · เกาะนอร์ฟอล์ก · หมู่เกาะโคโคส (คีลิง) · เกาะคริสต์มาส | |
เมลานีเซีย | ติมอร์ตะวันออก · ฟิจิ · หมู่เกาะโมลุกกะ และ นิวกินีตะวันตก (อินโดนีเซีย) · นิวแคลิโดเนีย · ปาปัวนิวกินี · หมู่เกาะโซโลมอน · วานูอาตู | |
ไมโครนีเซีย | กวม · คิริบาส · หมู่เกาะมาร์แชลล์ · หมู่เกาะนอร์เทิร์นมาเรียนา · สหพันธรัฐไมโครนีเซีย · นาอูรู · ปาเลา | |
โพลินีเซีย | อเมริกันซามัว · หมู่เกาะคุก · เฟรนช์โปลินีเซีย · ฮาวาย · นิวซีแลนด์ · นีอูเอ · หมู่เกาะพิตแคร์น · ซามัว · โตเกเลา · ตองกา · ตูวาลู · วาลลิสและฟุตูนา |
กานา · กายอานา · เกรเนดา · แกมเบีย · คิริบาส · เคนยา · แคเมอรูน · แคนาดา · จาเมกา · ซามัว · เซเชลส์ · เซนต์คิตส์และเนวิส · เซนต์ลูเซีย · เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ · เซียร์ราลีโอน · แซมเบีย · โดมินิกา · ตรินิแดดและโตเบโก · ตองกา · ตูวาลู · แทนซาเนีย · โมซัมบิก · ไซปรัส · ไนจีเรีย · นามิเบีย · นาอูรู · นิวซีแลนด์ · บรูไน · บอตสวานา · บังกลาเทศ · บาร์เบโดส · บาฮามาส · เบลีซ · ปากีสถาน · ปาปัวนิวกินี · ฟิจิ · มอริเชียส · มอลตา · มัลดีฟส์ · มาเลเซีย · มาลาวี · ยูกันดา · เลโซโท · วานูอาตู · ศรีลังกา · สวาซิแลนด์ · สหราชอาณาจักร · สิงคโปร์ · หมู่เกาะโซโลมอน · ออสเตรเลีย · อินเดีย · แอนติกาและบาร์บูดา · แอฟริกาใต้
เอเชีย | กัมพูชา (!) - กาตาร์ (*) - คูเวต (⁂) - จอร์แดน (⁂) - ซาอุดีอาระเบีย (*) - ญี่ปุ่น - ภูฏาน (*) - เนปาล - บรูไน(*) - บาห์เรน (⁂) - ไทย - มาเลเซีย(!) - สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์! โอมาน (*) |
แอฟริกา | เลโซโท - โมร็อกโก (⁂) - สวาซิแลนด์ (*) |
ยุโรป | อันดอร์รา(!) - เบลเยียม - เดนมาร์ก - ลิกเตนสไตน์ (⁂) - ลักเซมเบิร์ก - โมนาโก (⁂) - เนเธอร์แลนด์ - นอร์เวย์ - สเปน - สวีเดน - นครรัฐวาติกัน (*!) |
โอเชียเนีย | ตองกา - ซามัว |
เครือจักรภพ | แอนติกาและบาร์บูดา - ออสเตรเลีย - บาฮามาส - บาร์เบโดส - เบลีซ - แคนาดา - เกรเนดา - จาเมกา - นิวซีแลนด์ - ปาปัวนิวกินี - เซนต์คิตส์และเนวิส - เซนต์ลูเซีย - เซนต์วินเซนต์และเกรนาดีนส์ - หมู่เกาะโซโลมอน - ตูวาลู - สหราชอาณาจักร |
* สมบูรณาญาสิทธิราชย์, ⁂ ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ, ! ราชาธิปไตยที่มีจากการเลือกตั้ง |
เกาหลีใต้ · แคนาดา · จีน · ชิลี · ญี่ปุ่น · นิวซีแลนด์ · บรูไนดารุสซาลาม · ปาปัวนิวกินี · เปรู · ไทย · ฟิลิปปินส์ · มาเลเซีย · เม็กซิโก · รัสเซีย · เวียดนาม · สิงคโปร์ · ออสเตรเลีย · อินโดนีเซีย · สหรัฐอเมริกา · จีนไทเป · ฮ่องกง