พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช พระนามเดิม หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร (พ.ศ. 2420-2496) พระโอรสในพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากฤษดาภินิหาร กรมพระนเรศร์วรฤทธิ์ ที่ประสูติแต่ หม่อมสุภาพ กฤดากร ณ อยุธยา [1]
สารบัญ |
[แก้] พระประวัติ
หม่อมเจ้าบวรเดช กฤดากร สำเร็จการศึกษาวิชาทหารจากเยอรมนี และรับราชการทหาร ทรงเสกสมรสกับ เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ ธิดาของเจ้าเทพดำรงรักษาเขต กับเจ้าแม่พิมพา กนิษฐาของพระเจ้าอินทวิชยานนท์ เมื่อ พ.ศ. 2445 จากนั้นทรงรับตำแหน่งเอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส เป็นเวลา 3 ปี หม่อมเจ้าบวรเดช ได้รับแต่งตั้งให้เป็นอุปราชมณฑลพายัพ ที่เชียงใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2458-2462 และดำรงตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหม เมื่อ พ.ศ. 2471 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรด ฯ ให้สถาปนาเป็น พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช เมื่อ พ.ศ. 2472
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมในปลายปี 2474 เนื่องจากทรงขัดแย้งกับจอมพล สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าบริพัตรสุขุมพันธุ์ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต ในเรื่องการปรับปรุงโครงสร้างกองทัพบก [2]
[แก้] คณะกู้บ้านเมือง และกบฏบวรเดช
- ดูบทความหลัก กบฏบวรเดช
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 เกิดความแตกแยกในคณะราษฎร พระยาพหลพลพยุหเสนาก่อรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลและขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี เป็นยุคที่สถาบันพระมหากษัตริย์ตกต่ำ ถึงขนาดปล่อยให้ประชาชน นายถวัติ ฤทธิ์เดช เป็นโจทย์ฟ้องร้องพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว [3] สร้างความไม่พอใจให้กับพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช มีการรวมตัวกันของนายทหาร เรียกว่า คณะกู้บ้านเมือง เรียกร้องให้พระยาพหลพลพยุหเสนา แก้ไขการปฏิบัติให้ถูกต้อง เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2476 แต่เกิดความเข้าใจผิดกัน จนเกิดการสู้รบขึ้น
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2476 พลเอก พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงส่งกำลังทหารจากหัวเมืองภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นครราชสีมา อุบลราชธานี สระบุรี พระนครศรีอยุธยา และเพชรบุรี เคลื่อนกำลังทางรถไฟเข้ายึดกองทัพอากาศดอนเมืองได้เมื่อวันที่ 12 และเคลื่อนกำลังทหารเข้ายึดพื้นที่ไปตามแนวคลองบางเขนจนถึงสถานีรถไฟบางเขนเพื่อบีบบังคับให้รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา กระทำตามเงื่อนไข ในเวลาเดียวกัน ฝ่ายรัฐบาลได้มอบหมายให้ พันโทหลวงพิบูลสงคราม รองผู้บัญชาการทหารบก เป็นผู้บังคับกองผสมทำการรุกตอบโต้ จนทหารบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก จนถึงวันที่ 15 กำลังทหารหัวเมืองได้ถอนกำลังออกจากดอนเมือง เคลื่อนที่ไปยังปากช่องอันเป็นที่มั่นด่านสุดท้าย ขณะที่กองหน้าของกองบังคับการผสมได้ติดตามไปจนถึงสถานีปากช่อง และ พันเอกพระยาศรีสิทธิสงคราม (ดิ่น ท่าราบ) แม่ทัพซึ่งรับหน้าที่เป็นกองระวังหลัง ถูกยิงเสียชีวิตบนทางรถไฟใกล้สถานีหินลับ อำเภอปากช่อง เมื่อที่มั่นแห่งสุดท้ายคือสถานีปากช่องถูกยึด และแม่ทัพเสียชีวิต พระองค์เจ้าบวรเดชและพระชายา จึงเสด็จหนีโดยทางเครื่องบินจากฐานบินโคราช มีหลวงเวหนเหิรเป็นนักบิน ไปขอลี้ภัยทางการเมืองที่เมืองไซ่ง่อน ประเทศเวียตนาม จนหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จึงย้ายไปประทับที่ประเทศกัมพูชา และเสด็จกลับประเทศไทยพร้อม หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร พระชายา(น้องสาวร่วมบิดาเดียวกับพระองค์เจ้าบวรเดช)** เมื่อ พ.ศ. 2491
[แก้] พระโอรส-ธิดา
ส่วนนี้ของบทความยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยวิกิพีเดียได้โดยเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนนี้ |
พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช ทรงเสกสมรสกับ
- เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ (13 มิถุนายน พ.ศ. 2426 - 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2497) มีพระธิดา 1 คน อนิจกรรมตั้งแต่คลอด [5]
- เจ้าหญิงบัวนวล ณ เชียงใหม่ พระขนิษฐาใน เจ้าหญิงทิพวัน ณ เชียงใหม่ มีพระโอรส 1 คน ได้แก่
- หม่อมราชวงศ์ จิรเดช กฤดากร
- หม่อมเจ้าผจงรจิตร์ กฤดากร (พ.ศ. 2426-2524) พระขนิษฐาต่างมารดา
_** หมายเหตุ: การแต่งงานกับน้องสาวร่วมสายโลหิต หรือญาติใกล้เคียงกันเป็นวัฒนธรรมของบางราชวงศ์ในเอเซีย เพื่อรักษาให้สายเลือดบริสุทธิ์ บุตรที่เกิดจากการสมรสแบบนี้เรียก "อุภโตชาติ" มีสายเลือดที่บริสุทธิ์ ตามคติความเชื่อของตะวันออกที่ได้รับวัฒนธรรมมาจากอินเดีย ในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ ได้ยกพระราชธิดา คือ เจ้าฟ้าหญิงนุ่ม (ต่อมาสถาปนาขึ้นเป็น กรมขุนพิศาลเสนี )ให้เป็นพระชายา ของ เจ้าฟ้าธรรมาธิเบศร์ (คือเจ้าฟ้ากุ้ง) โดยที่เจ้าฟ้าทั้งสองพระองค์นี้เป็นพี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกัน ลักษณะเช่นนี้ เป็นเรื่องต้องห้ามในประเทศตะวันตกทั่วไป และในทางตะวันออกส่วนใหญ่เช่นจีน บางประเทศมีกฎหมายถึงขั้นมีโทษ โดยห้ามให้พี่น้องสายเลือดใกล้เคียงกัน ร่วมบิดา ร่วมมารดา หรือร่วมทั้งบิดาและมารดาเดียวกัน แต่งงานกัน วัฒนธรรมนี้สำหรับสังคมตะวันออก ต้องห้ามในบรรดาประชาชนทั่วไปเช่นกัน ยกเว้นแต่ราชวงศ์บางประเทศ ที่มีความเชื่อเรื่องความบริสุทธิ์ของสายเลือด
สัณนิษฐานว่า แนวคิดนี้รับมาจาก วัฒนธรรมอิยิปต์โบราณ ที่กษัตริย์จะสมรสกับพระขนิษฐาร่วมบิดา หรือร่วมทั้งบิดามารดาเดียวกันด้วย วัฒนธรรมอิยิปต์โบราณนั้น กษัตริย์หรือ ฟาโรห์ จะอภิเศกสมรสกับพระราชธิดาของตนเองด้วย เช่น ฟาโรห์รามาเซส ที่ 2( 1302 BC to 1213 BC)ที่อภิเศกกับพระราชธิดาของพระองค์ทั้ง 3 พระองค์ เป็นต้น ความเชื่อนี้ยังมีในวัฒนธรรมอินเดีย ที่ต้องการรักษาความบริสุทธิ์ของสายเลือดของกษัตริย์ บุตรที่เกิดจากการสมรสนี้ เป็น ผู้มีสายเลือดอันบริสุทธิ์เหมาะสมที่จะเป็นกษัตริย์สืบสันติวงศ์ ต่อไป
[แก้] อ้างอิง
- ↑ http://www.kridakorn.org/html/kridakorn_t.html
- ↑ http://www1.mod.go.th/heritage/nation/event2475/index.htm
- ↑ http://www.rakbankerd.com/01_jam/thaiinfor/country_info/index.html?topic_id=45&filename=revolutionary3.htm
- ↑ http://www.maneebooks.com/German_capt/germ_14.html
- ↑ http://www.sri.cmu.ac.th/~maeyinglanna/main2/main9.php
สมุหพระกลาโหม | เจ้าพระยามหาเสนา (ปลี) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุนนาค) · เจ้าพระยามหาเสนา (ปิ่น) · เจ้าพระยามหาเสนา (บุญมา) · เจ้าพระยาวรวงศาสุรศักดิ์ (แสง วงศาโรจน์) · เจ้าพระยามหาเสนา (สังข์) · เจ้าพระยามหาเสนา (น้อย) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาประยุรวงศ์ (ดิศ บุนนาค) · สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) · เจ้าพระยาสุรวงศ์ไวยวัฒน์ (วร บุนนาค) · เจ้าพระยารัตนาธิเบศร์ (พุ่ม ศรีไชยันต์) |
เสนาบดีกระทรวง | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์อรุณ ฉัตรกุล) · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร · พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม |
รัฐมนตรีว่าการ | พระยาราชวังสัน (ศรี กมลนาวิน) · พระยาประเสริฐสงคราม · แปลก พิบูลสงคราม · มังกร พรหมโยธี · หลวงเกรียงศักดิ์พิชิต (พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต) · สินธุ์ กมลนาวิน · ชิต มั่นศิลป สินาดโยธารักษ์ · จิร วิชิตสงคราม · หลวงชาตินักรบ (ศุข ชาตินักรบ) · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ทวี จุลละทรัพย์ · ครวญ สุทธานินทร์ · ทวิช เสนีย์วงศ์ ณ อยุธยา · ประมาณ อดิเรกสาร · กฤษณ์ สีวะรา · เสนีย์ ปราโมช · สงัด ชลออยู่ · เล็ก แนวมาลี · เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ · เปรม ติณสูลานนท์ · พะเนียง กานตรัตน์ · ชาติชาย ชุณหะวัณ · ชวลิต ยงใจยุทธ · ประพัฒน์ กฤษณะจันทร์ · สุจินดา คราประยูร · บรรจบ บุนนาค · วิจิตร สุขมาก · ชวน หลีกภัย · ธรรมรักษ์ อิศรางกูร ณ อยุธยา · เชษฐา ฐานะจาโร · สัมพันธ์ บุญญานันทน์ · บุญรอด สมทัศน์ |
เจ้ากรมทหารบก | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ · เจ้าพระยาสุรศักดิ์มนตรี (เจิม แสง-ชูโต) |
เจ้ากรมยุทธนาธิการ | สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช · เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (หม่อมราชวงศ์ อรุณ ฉัตรกุล) |
เสนาบดี กระทรวงกลาโหม | เจ้าพระยาบดินทรเดชานุชิต (แย้ม ณ นคร) · สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนครสวรรค์วรพินิต · พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าบวรเดช · พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสิงหวิกรมเกรียงไกร |
ผู้บัญชาการทหารบก | พระยาพหลพลพยุหเสนา · แปลก พิบูลสงคราม · พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต · อดุล อดุลเดชจรัส · ผิน ชุณหะวัณ · สฤษดิ์ ธนะรัชต์ · ถนอม กิตติขจร · ประภาส จารุเสถียร · กฤษณ์ สีวะรา · บุญชัย บำรุงพงศ์ · เสริม ณ นคร · เปรม ติณสูลานนท์ · ประยุทธ จารุมณี · อาทิตย์ กำลังเอก · ชวลิต ยงใจยุทธ · สุจินดา คราประยูร · อิสระพงศ์ หนุนภักดี · วิมล วงศ์วานิช · ประมณฑ์ ผลาสินธุ์ · เชษฐา ฐานะจาโร · สุรยุทธ์ จุลานนท์ · สมทัต อัตตะนันทน์ · ชัยสิทธิ์ ชินวัตร · ประวิตร วงษ์สุวรรณ · สนธิ บุญยรัตกลิน |