โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
ชื่อ | โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
(ฤ.ว.) |
ชื่อ (อังกฤษ) | Rittiyawannalai School
(RW) |
ก่อตั้ง | 18 กันยายน พ.ศ. 2490 |
ประเภทโรงเรียน | รัฐบาล สังกัดกรมสามัญศึกษา |
ผู้อำนวยการ | นายเกษม สดงาม |
คำขวัญ | ปญฺญา นรานํ รตนํ ปัญญาเป็นแก้วอันประเสริฐของคนดี |
สีประจำสถาบัน | ฟ้า-เหลือง |
ที่อยู่ | 171/3151 ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10220 |
เว็บไซต์ | www.rittiya.ac.th |
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เป็นโรงเรียนรัฐบาล ประเภทสหศึกษาเปิดสอนในระดับมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 171/3151 ถนนพหลโยธิน เขตสายไหม กรุงเทพมหานคร รหัสไปรษณีย์ 10220
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ก่อตั้งโดย พลอากาศโท หลวงเทวฤทธิ์พันลึก อดีตผู้บัญชาการทหารอากาศ และได้รับอนุญาตจากกระทรวงศึกษาธิการ ให้เปิดทำการสอนได้ ตั้งแต่วันที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2490 ภายในหน่วยที่ตั้งของกองทัพอากาศ สถานที่ตั้งเดิมอยู่บริเวณช่องทางกองบินน้อยที่ 6 (บน.6) มีอาคารเป็นเรือนไม้ชั้นเดียว 6 ห้องมีชั้น เรียนตั้งแต่ประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 ในปี พ.ศ. 2491 ขยายมัธยมศึกษาปีที่ 4 เพิ่มขึ้น และโรงเรียนได้รับเงินอุดหนุนประเภท "โรงเรียนดี" จากกระทรวงฯ เป็นต้นมา จึงได้ขยายชั้นเรียนเพิ่มขึ้นตามลำดับจนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2494 ย้ายโรงเรียนจากบริเวณที่ตั้งเดิม มาตั้งใหม่ที่บริเวณด้านหลังโรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช และในปีนี้ กระทรวงศึกษาธิการได้รับรองวิทยฐานะเทียบเท่าโรงเรียนรัฐบาล
- พ.ศ. 2495 เปิดสอนแผนกอนุบาล จึงมีชั้นเรียนตั้งแต่อนุบาลปีที่ 1 จนถึงมัธยมศึกษาปีที่ 6
- พ.ศ. 2502 - 2503 ได้ขยายชั้นเรียนระดับเตรียมอุดมศึกษาขึ้น ทั้ง 2 แผนกคือ วิทยาศาสตร์และศิลปะ มีอาคารเป็นเรือนไม้ 2 ชั้น 4 หลัง
- พ.ศ. 2508 ตั้งกองลูกเสืออากาศขึ้นซึ่งเป็นโรงเรียนแรกในประเทศไทยและในทวีปเอเชีย โดยการสนับสนุนของ อาจารย์เพทาย อมาตยกุล กับ จอมพลอากาศ เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ผู้บัญชาการทหารอากาศ
- พ.ศ. 2509 ผู้บังคับบัญชาลูกเสืออากาศได้มอบหมายให้นายอนันต์ พึ่งนุสนธิ์ เข้ารับการอบรมวิชา "ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ" และประชุมร่วมกับคณะลูกเสือนานาชาติภาคตะวันออกไกล ณ กรุงไทเป
- พ.ศ. 2511 สร้างอาคารเรียนเป็นตึก 3 ชั้นทันสมัย ณ ที่ตั้งใหม่ใกล้โรงเรียนนายเรืออากาศ ทำพิธีเปิด เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2512 แบ่งส่วนบริหารโรงเรียนเป็น แผนกอนุบาล แผนกประถมศึกษา และแผนกมัธยมศึกษา เปิดเรียนตั้งแต่อนุบาลชั้นปีที่ 1 จนถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แผนกวิทยาศาสตร์และศิลปะ
- พ.ศ. 2520 กองทัพอากาศได้เสนอโอนกิจการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยระดับมัธยมศึกษาให้กระทรวงศึกษาธิการ ได้มีการลงนามข้อตกลงและมอบโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2521 ซึ่งกระทรวงศึกษาธิการยินดีรับมอบทั้งกิจการ อาคาร สถานที่ วัสดุ และบุคลากร และได้มีการลงนามตามข้อตกลงอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522
- วันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายดุสิต พูนพอน ผู้อำนวยการโรงเรียนหอวัง รักษาการณ์ในตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย อีกตำแหน่งหนึ่ง
- วันที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2521 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายประทีป สุขวารี อาจารย์ใหญ่โรงเรียนกุนนทีรุทธารามวิทยาคม ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย อย่างเป็นทางการเป็นคนแรก
- วันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2524 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายสมชาย นพเจริญกุล อาจารย์ 3 ระดับ 7 โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาคม จังหวัดลำปาง รักษาการณ์ในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทนนายประทีป สุขวารี ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบางพลีราษฏร์บำรุง จังหวัดสมุทรปราการ
- วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2524 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายไพบูลย์ ภู่พงศ์พันธุ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์พัฒนา หลักสูตรกรมวิชาการ
- วันที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2527 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายเทพ เที่ยงตรง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดราชโอรส ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทนนายไพบูลย์ ภู่พงศ์พันธุ์ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนจันทร์ประดิษฐารามวิทยาคม กรุงเทพมหานคร
- วันที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2530 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายอนันต์ บุญส่ง ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดรางบัว ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทนนายเทพ เที่ยงตรง ซึ่งย้ายไปช่วยราชการในกรมสามัญศึกษา
- วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2534 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายสมพงศ์ รุจิรวรรธน์ ผู้อำนวยการโรงเรียนสระบุรีวิทยาคม จังหวัดสระบุรี มาดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทนนายอนันต์ บุญส่ง ซึ่งเกษียณอายุราชการ
- วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2535 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายสนิทพงศ์ นวลมณี ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดหัวลำโพง กรุงเทพมหานคร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทนนายสมพงศ์ รุจิรวรรธน์ ซึ่งย้ายไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนโยธินบูรณะ กรุงเทพมหานคร
- วันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2539 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายวิวัฒน์ พวงมะลิต ผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทนนายสนิทพงศ์ นวลมณี ซึ่งเกษียณอายุราชการ
- วันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2542 นายอุดร บุญถาวร ผู้อำนวยการโรงเรียนสตรีวิทยา 2 มัธยมศึกษาตอนต้น ได้รับมอบงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย แทยนายวิวัฒน์ พวงมะลิต ซึ่งย้ายไปไปดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนปทุมคงคา กรุงเทพมหานคร
- วันที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2542 กรมสามัญศึกษาได้แต่งตั้ง นายอุดร บุญถาวร ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย
- พ.ศ. 2544 นางลัดดา พร้อมมูล ผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ ได้รับมอบงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ต่อจากนายอุดร บุญถาวร
- พ.ศ. 2547 นายเกษม สดงาม ผู้อำนวยการระดับ 9 โรงเรียนเศรษฐบุตรบำเพ็ญ ได้รับมอบงานในตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ต่อจากนางลัดดา พร้อมมูล
[แก้] เพลงประจำโรงเรียน
[แก้] มาร์ชฤทธิยะวรรณาลัย
คำร้อง-ทำนอง โดย อร่าม ขาวสอาด (พ.ศ. 2506)
-
- ฤทธิยะวรรณาลัย มั่นอยู่ในความสามัคคี
- ฤทธิยะวรรณาลัย มั่นอยู่ในความดี
- ชาวฤทธิยะ น้ำใจเราจักบากบั่น การเล่าเรียนเพียรหมั่นสนใจ
- สร้างสรรค์ สถาบันเราให้ รุ่งเรืองยิ่งใหญ่ เพื่อไทยพัฒนา
- ร่วมใจ ปรองดองเหมือนน้องและพี่ มั่นคงสามัคคีเพื่อศักดิ์ศรีนานมา
- เมื่อธงฟ้าเหลืองสะบัดพริ้ว หัวใจเราปลิวระเริงร่า ฤทธิยะสง่างามครัน
-
- ตั้งใจ หมั่นเรียน อ่านเขียนเพียรด้วยใจมั่น
- ด้วยใจ ใฝ่ฝัน สร้างตนให้ทันโลกไป
- เร่งเรียน อย่าช้า การศึกษาสร้างไทยยิ่งใหญ่
- ร่วมแรง ร่วมใจ สร้างตนสร้างไทยเถิดเอย
- ฤทธิยะ ฤทธิยะวรรณาลัย
- ร่มธงฟ้าเหลือง สัญลักษณ์รุ่งเรืองพริ้วลมแลวิไล
- ด้วยความมั่นใจ สามัคคีพาให้เกิดความมั่นคง
- ไม่เคยหวั่นไหว มีระเบียบวินัยด้วยน้ำใจสูงส่ง
- ฤทธิยะเราสร้าง เป็นตัวอย่างอันเที่ยงตรง ฤทธิยะดำรงตลอดกาล
[แก้] สถานที่สำคัญที่อยู่ใกล้เคียง
- โรงเรียนนายเรืออากาศ
- โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ
- เว็บบอร์ดโรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย เว็บบอร์ดอย่างเป็นทางการ
- GTW เว็บบอร์ด และรวมงานเขียน โดย ครูวิทิต ไสยนิตย์
บทความนี้ นำข้อความบางส่วนมาจากเว็บไซต์หรือสื่ออื่น โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัย ซึ่งเจ้าของเว็บไซต์หรือสื่อดังกล่าว อนุญาตให้เผยแพร่ต่อได้ โดยไม่สงวนลิขสิทธิ์