การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย เมษายน พ.ศ. 2549 เป็นการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่จัดขึ้นในวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 โดยมีสาเหตุเนื่องมาจากนายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตรได้ประกาศยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2549 เพื่อหนีการอภิปรายไม่ไว้วางใจที่ฝ่ายค้านยื่นอภิปรายซึ่งตนเคยให้สัญญาไว้ก่อนเลือกตั้งว่าพร้อมแบ่งคะแนนเสียงให้ฝ่ายค้านทุกเมื่อหากต้องการนำไปใช้ในการอภิปรายไม่ไว้วางใจตนเอง แต่เมื่อถึงเวลาดังกล่าวกลับเจอมรสุมการเมืองรุมเร้ามากมาย รวมทั้งรัฐมนตรีของตนไม่สามารถตอบคำถามที่ชัดเจนต่อประชาชนได้จึงจำเป็นต้องประกาศยุบสภาเพื่อมิให้ข้อมมูลต่างๆที่ถูกตรวจสอบถูกเผยแพร่ออกไปสู่สาธารณะชนมากขึ้นอันจะเป็นผลเสียต่อตนเอง จึงต้องจัดให้มีการเลือกตั้งทั่วไปภายใน 60 วันตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 โดยท้ายที่สุด เมื่อการเลือกตั้งเสร็จสิ้นแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินให้การเลือกตั้งในครั้งนี้เป็นโมฆะ จึงทำให้ต้องมีการเลือกตั้งใหม่อีกครั้ง โดยกำหนดให้มีขึ้นในในวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2549
สารบัญ |
[แก้] การเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549
[แก้] เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง
- 3 พรรคฝ่ายค้าน ประชาธิปัตย์,ชาติไทย,มหาชน คว่ำบาตรการเลือกตั้ง โดยไม่ส่งผู้สมัครรับเลือกตั้งลงแข่งขัน
- รศ.ดร.ไชยันต์ ไชยพร หัวหน้าภาควิชาการเมืองการปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฉีกบัตรเลือกตั้งต่อหน้าสื่อมวลชน แสดงแนวทางอารยะขัดขืน
- ยศศักดิ์ โกศัยกานนท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต ใช้ไม้จิ้มฟันแทงที่นิ้วหลายครั้งและนำเลือดมาใช้ในการ กาบัตรเลือกตั้งและยืนยันว่าไม่เป็นการผิดกฎหมาย ในเขตลาดพร้าว เพื่อเป็นการแสดงแนวทางอารยะขัดขืน แบบหนึ่ง
[แก้] ปัญหาในการเลือกตั้ง
- ผู้สมัครจำนวนหลายสิบเขต ได้คะแนนน้อยกว่าคะแนนไม่เลือกใคร แต่ได้รับเลือกด้วยเกณฑ์ร้อยละยี่สิบ และเกณฑ์กรณีมีผู้สมัครมากกว่าหนึ่งคน
- คูหาเลือกตั้งหันหลังออก ทำให้เกรงว่าอาจจะทำให้สามารถมองเห็นการลงคะแนนได้โดยง่าย
- มีการร้องเรียนว่า ที่หน่วยเลือกตั้งไม่มีปากกาเพียงพอ และบางหน่วยเตรียมไว้ให้เพียงตรายางสำหรับประทับ
- เดิม กกต. ให้ใช้เฉพาะตรายาง ต่อมาได้มีการร้องเรียนไปยังศาลปกครองเป็นกรณีเร่งด่วน และศาลมีคำสั่งกำหนดมาตรการหรือวิธีการคุ้มครองเพื่อบรรเทาทุกข์ชั่วคราวให้สามารถใช้ได้ทั้งปากกา และตรายางประทับ คำสั่งศาลปกครอง
- มีการนำรายชื่อผู้สมัครไปติดไว้ในคูหาเลือกตั้ง
- มีบัตรเสียจำนวนเพิ่มขึ้นจากการเลือกตั้งครั้งที่แล้วอย่างผิดปกติ โดยเฉพาะบัตรเสียในบัตรเลือกตั้งแบบแบ่งเขต
[แก้] ผลการเลือกตั้ง
คณะกรรมการการเลือกตั้ง ประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2549 ดังนี้
- การใช้สิทธิเลือกตั้งระบบบัญชีรายชื่อ (ปาร์ตี้ลิสต์)
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,909,562 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 29,088,209 คน (64.77%) แยกเป็น
-
- บัตรเสีย 1,680,101 ใบ (คิดเป็น 5.78%)
- ไม่ประสงค์ลงคะแนน (โนโหวต) 9,051,706 คน (คิดเป็น 31.12%)
- แยกรายพรรค 18,356,402 คะแนน
- พรรคไทยรักไทย 16,420,755 คะแนน (คิดเป็น 56.45%)
- พรรคเกษตรกรไทย 675,662 คะแนน
- พรรคพลังประชาชน 305,015 คะแนน
- พรรคประชากรไทย 292,895 คะแนน
- พรรคธัมมาธิปไตย 255,853 คะแนน
- พรรคไทยช่วยไทย 146,680 คะแนน
- พรรคพัฒนาชาติไทย 134,534 คะแนน
- พรรคแผ่นดินไทย 125,008 คะแนน
- การใช้สิทธิเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง
จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง 44,778,628 คน
จำนวนผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 28,998,364 คน (64.76%) แยกเป็น
-
- บัตรเสีย 3,778,981 ใบ (คิดเป็น 13.03%)
- ไม่ประสงค์ลงคะแนน 9,610,874 คน (คิดเป็น 33.14 %)
- แยกรายพรรค 15,608,509 คะแนน
หมายเหตุ ข้อมูลส.ส.แบบระบบบัญชีรายชื่อ 399 เขต (ขาด สมุทรสาคร เขต 3) ขณะที่ข้อมูลส.ส.แบบแบ่งเขต 398 เขต (ขาด นนทบุรี เขต 3 และ สมุทรสาคร เขต 3) และการใช้สิทธิเลือกตั้งบัญชีรายชื่อมากกว่าแบบแบ่งเขต เพราะ จ.นนทบุรี เขต 3 มีการเลือกตั้งเฉพาะส.ส.บัญชีรายชื่อ
[แก้] ข้อวิจารณ์การทำงานของคณะกรรมการการเลือกตั้ง
- การประชุมกำหนดการเลือกตั้ง 2 เมษายน 2549 น่าจะไม่ชอบ เกี่ยวกับองค์ประชุม ที่กำหนดในพรบ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง 2540 มาตรา 8 ระบุเรื่องการประชุมให้มีไม่น้อยกว่า 4 ใน 5 ของเท่าที่มีอยู่ แต่ในวันที่ประกาศ พรฎ นั้น กรรมการ กกต. มีจำนวนเพียง 3 คน จากที่มีอยู่ 4 คน(กกต. จะต้องมี 5 คนตามรัฐธรรมนูญ แต่ มีกรรมการ 1 คนเสียชีวิตเมื่อ พย.2548 ยังไม่มีการสรรหาเพิ่ม, และขณะนั้น 1 คนเดินทางไปต่างประเทศ)
- กำหนดให้มีการเลือกตั้งใหม่ใน 40 เขตในวันที่ 23 เมษายน 2549 โดยเปิดรับผู้สมัครใหม่เมื่อวันที่ 8-9 เมษายน แต่ให้ผู้ที่เคยสมัครในการเลือกตั้งรอบแรก ใช้หมายเลขเดิม
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครเวียนเทียนสมัคร โดยผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในเขตการเลือกตั้งหนึ่ง และแพ้การเลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน และทาง กกต.ยังไม่ได้รับรองการเลือกตั้ง สามารถย้ายไปลงสมัครที่เขตอื่น จังหวัดอื่นได้ ทั้งนี้ผู้อำนวยการเขตเลือกตั้งได้ตัดสิทธิ์ของผู้สมัครเหล่านี้ แต่กลับมีหนังสือเวียนโดยนายวาสนา เพิ่มลาภ ประธาน กกต. แจ้งให้รับสมัครได้
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากไม่ได้ไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งครั้งก่อนหน้า ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายน ได้ โดยอ้างว่าได้รับสิทธิ์คืนมา เนื่องจากไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งในวันที่ 2 เมษายน แล้ว
- เปิดโอกาสให้ผู้สมัครที่ขาดคุณสมบัติในการเลือกตั้งวันที่ 2 เมษายน เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไม่ครบ 90 วัน นับถึงวันรับสมัครรอบแรก ลงสมัครรับเลือกตั้งในวันที่ 23 เมษายนได้ เนื่องจากเป็นสมาชิกพรรคการเมืองครบ 90 วัน ในวันรับสมัครรอบที่สอง วันที่ 8-9 เมษายน แล้ว
[แก้] การเลือกตั้งวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549
คณะกรรมการการเลือกตั้งจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ในวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2549 จำนวน 40 เขตเลือกตั้ง ใน 17 จังหวัด ประกอบด้วย จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดเพชรบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ จังหวัดชุมพร จังหวัดตรัง จังหวัดปัตตานี จังหวัดพังงา จังหวัดสตูล จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดภูเก็ต จังหวัดสุราษฎร์ธานี จังหวัดนราธิวาส จังหวัดยะลา จังหวัดพัทลุง จังหวัดสงขลา จังหวัดกระบี่
[แก้] เหตุการณ์ในช่วงการเลือกตั้ง
- ผู้อำนวยการ กกต.เขต จังหวัดสงขลา ประกาศลาออกจากตำแหน่งทั้ง 7 เขต เนื่องจากไม่พอใจการทำงานของ กกต. กลาง
- กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 7 หน่วยเลือกตั้ง ประท้วงการเลือกตั้ง โดยบางหน่วยไม่ไปรับบัตรเลือกตั้งที่ กกต.จังหวัด และบางหน่วยไปรับบัตรเลือกตั้ง แต่ไม่เปิดทำการ
- มีผู้ฉีกบัตรเลือกตั้ง เพื่อประท้วงการเลือกตั้ง ในจังหวัดสงขลา จังหวัดภูเก็ต จังหวัดยะลา จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดชุมพร จังหวัดสุราษฎร์ธานี
- มีผู้ประท้วงการเลือกตั้ง โดยลงชื่อและรับบัตรเลือกตั้ง แล้วส่งบัตรเลือกตั้งคืนให้กรรมการประจำหน่วยเลือกตั้ง โดยไม่มีการกาเครื่องหมายใดๆ ที่จังหวัดพัทลุง
[แก้] ผลการเลือกตั้ง
[แก้] การเพิกถอนการเลือกตั้ง และการจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่
การเลือกตั้งในครั้งนี้ ผู้ตรวจการแผ่นดินของรัฐสภา ขอให้ ศาลรัฐธรรมนูญ พิจารณาวินิจฉัย ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 198 กรณีการดำเนินการของ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ที่เกี่ยวกับ การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตั้งแต่ วันที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบัน มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ เพื่อขอให้ เพิกถอนการเลือกตั้ง เพื่อจะได้จัดให้มีการเลือกตั้งใหม่ โดย ศาลรัฐธรรมนูญ กำหนดการพิจารณาวินิจฉัย ในวันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2549
ผลการพิจารณา กรณีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างมาก จำนวน 8 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ส่วนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เสียงข้างน้อย จำนวน 6 ท่าน วินิจฉัยว่า การดำเนินการของ กกต. ดังกล่าว ไม่มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
ในส่วนของการพิจารณา เพิกถอนการเลือกตั้ง และจัดให้มีการเลือกตั้งใหม่นั้น ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ จำนวน 9 ท่าน วินิจฉัยว่า ให้มีการเพิกถอนการเลือกตั้ง และต้องจัดให้มีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เป็นการเลือกตั้งทั่วไปใหม่ [1]
[แก้] กกต.ดำเนินการเลือกตั้งที่ไม่ชอบ และคำพิพากษาจำคุก กกต.
จากกรณีที่นายถาวร เสนเนียม รองเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เป็นโจทก์ยื่นฟ้อง กกต.ในความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการ ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยคณะกรรมการการเลือกตั้ง ความผิดต่อพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา อันนำมาซึ่งคำพิพากษาให้ กกต.ต้องโทษจำคุก และออกจากตำแหน่งไปเมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม ข่าวคำพิพากษาจาก นสพ.มติชน จนมีการสรรหา กกต.ใหม่ และคาดว่าจะมีการเลือกตั้งใหม่ ตามพระราชกฤษฎีกาฯ ได้ในวันที่ 15 ตุลาคม 2549
[แก้] ดูเพิ่ม
- รายชื่อผู้ฉีกบัตรเลือกตั้งเพื่อประท้วงในการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2549
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย พ.ศ. 2548
- การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในไทย ตุลาคม พ.ศ. 2549
- คณะกรรมการการเลือกตั้ง
[แก้] อ้างอิง
วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 | |||||
เหตุการณ์หลัก | ลำดับเหตุการณ์ | บุคคลหลัก | |||
---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มต้น เหตุการณ์หลัก
การเลือกตั้ง
|
การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในประเทศไทย | ![]() |
---|---|
2476 • 2480 • 2481 • ม.ค. 2489 • ส.ค. 2489 • 2491 • 2492 • 2495 • ก.พ. 2500 • ธ.ค. 2500 • 2512 • 2518 • 2519 • 2522 • 2526 • 2529 • 2531 • มี.ค. 2535 • ก.ย. 2535 • 2538 • 2539 • 2544 • 2548 • เม.ย. 2549 (โมฆะ)• ต.ค. 2549 (ถูกยกเลิกหลังรัฐประหาร) |