ระบอบทักษิณ
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
บทความนี้ไม่ได้รับการยอมรับเกี่ยวกับความเป็นกลาง โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน และต้องการการแก้ไขโดยด่วนเพื่อสอดคล้องกับการเป็นสารานุกรม กรุณาดูบทสนทนาที่เกี่ยวข้องที่หน้าพูดคุย |
ระบอบทักษิณ (Thaksinocracy) เป็นคำนิยามที่คนบางกลุ่มตั้งขึ้นเพื่อให้ติดปาก มีเนื้อหาเกี่ยวกับการโจมตีนโยบายในการบริหารประเทศของ พ.ต.ท. ดร. ทักษิณ ชินวัตร และเพิ่มความชอบธรรมให้กับเหตุการณ์การขับไล่ ทักษิณ ชินวัตร ให้ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีที่เกิดขึ้นในช่วงพ.ศ. 2548-2549 อย่างไรก็ตาม คำนิยามนี้ได้รับการสนับสนุนจากคนกลุ่มหนึ่งที่ต้องการขับไล่พ.ต.ท. ดร.ทักษิณ ชินวัตรเท่านั้น แต่ในความจริงนั้นนี่คือการปกครองระบอบประชาธิปไตยที่ยังมีช่องให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งสามารถทำในสิ่งที่ผิดได้
- หมายเหตุ บทความนี้ไม่ได้ส่อเจตนากล่าวหาบุคคลใดๆ แต่เป็นการพูดถึงสถานการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเท่านั้น
สารบัญ |
[แก้] คำจำกัดความ
ระบอบทักษิณ ในความคิดของ อ. แก้วสรร อติโพธิ ได้ให้คำจำกัดความไว้ 4 ข้อ [1] ดังนี้
- ยักยอกรัฐธรรมนูญ ยึดครองประชาธิปไตย การแก้ไขหรือเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญให้มีความสอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวพันธ์หรือมีผลประโยชน์แอบแฝงเพื่อหมู่คณะของตนเอง
- หลงใหลทุนนิยมใหม่จนลืมประเทศชาติ สร้างกระแสระบบทุนนิยมโดยลืมความเป็นหลากเหง้าความเป็นไทย
- โกงกินชาติบ้านเมือง ปัญหาคอรัปชั่นจำนวนมากมายไม่ได้แก้ไข ทำผลธุรกิจแอบแฝง
- ทำให้บ้านเมืองสิ้นความสงบสุข เป็นตัวกลางในการสร้างความแตกแยกให้เกิดขึ้นในประเทศชาติอย่างไม่เคยมีปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์ไทย
[แก้] สาเหตุของการกล่าวหา
- การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะ ปตท. และ กฟผ.
- สำหรับ ปตท. เช่น เรื่องการกระจายหุ้นที่ไม่เป็นธรรม ราคาขายหุ้นที่ต่ำกว่าความเป็นจริงมาก สัดส่วนการถือหุ้นของรัฐที่ลดลงมาก การถือหุ้นผ่านกองทุนของต่างชาติ กำไรจากการขายก๊าซให้ กฟผ. ในราคาสูง
- การแปรรูป กฟผ. นั้นมีคำสั่งจากศาลปกครองว่าพระราชกฤษฎีกากำหนดเงื่อนเวลายกเลิกกฎหมายว่าด้วยการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2548 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย [2]
- การแก้สัมปทานสถานีโทรทัศน์ไอทีวี
- การคอรัปชั่นในโครงการสนามบินสุวรรณภูมิ โดยเฉพาะเรื่องเครื่องสแกนสัมภาระซีทีเอกซ์ ที่ไม่มีการดำเนินเรื่องหาคนกระทำผิด และเรื่องที่จอดรถ
- การทำพิธีเป็นประธานในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม[3]
- การแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
- การขายหุ้นในบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นเจ้าของสัมปทานโทรศัพท์มือถือ, ดาวเทียมไทยคม, สถานีโทรทัศน์ไอทีวี และสายการบินแอร์เอเซีย ให้กับ เทมาเส็ก โฮลดิ้งส์ (กองทุนเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์) โดยไม่ต้องเสียภาษี
- การใช้อำนาจรัฐแทรกแซงและคุมคามสื่อ
- การทุจริตข้อสอบเข้ามหาวิทยาลัย ที่เกี่ยวข้องกับบุตรสาวของนายกฯ และ นายวรเดช จันทรศร
- การยุบสภาอย่างไม่สมควร
[แก้] ประเด็นที่กลุ่มเครือข่ายประชาสังคมหยุดระบอบทักษิณใช้อ้างเป็นเหตุผลในการขับไล่[4]
- ผลประโยชน์ทับซ้อน
- ปกปิดข้อมูลข่าวสาร
- ทำผิดจริยธรรม
- นโยบายสร้างปัญหา
- รวยเพราะผูกขาดกีดกัน
- เอฟทีเอแลกผลประโยชน์
- ปัญหาภาคใต้เกิดจากทักษิณ
- วาทะปากพาแตกแยก
- แปรรูปผิด ไม่รับผิด
- ติดหวัดนกตายไปกี่คน
- แจกเงินสรรพากรละลายแม่น้ำ
- คนรอบข้างยังชิงลาออก
- ประชานิยมสร้างปัญหา
- เอฟทีเอ & ต่างประเทศ
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] อ้างอิง
- ↑ คำจำกัดความและรายละเอียดของระบอบทักษิณ โดย อ.แก้วสรร อติโพธิ
- ↑ คำสั่งศาลปกครองพิพากษาเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาฯ
- ↑ ประมวลข่าว ลิ่วล้อเคลื่อนพล-ระดมฟ้อง"สนธิ"หมิ่นฯ! และกรณี พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี นั่งเป็นประธานในพิธีทำบุญประเทศ ภายในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
- ↑ เว็บไซต์ของกลุ่มเครือข่ายฯ
วิกฤตการณ์การเมืองในประเทศไทย พ.ศ. 2548-2549 | |||||
เหตุการณ์หลัก | ลำดับเหตุการณ์ | บุคคลหลัก | |||
---|---|---|---|---|---|
จุดเริ่มต้น เหตุการณ์หลัก
การเลือกตั้ง |
ระบอบทักษิณ เป็นบทความเกี่ยวกับ การเมือง การปกครอง หรือ กฎหมาย ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหา หรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น ข้อมูลเกี่ยวกับ ระบอบทักษิณ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ |