วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยดนตรีแห่งแรกของประเทศไทย และนับได้ว่าเป็นวิทยาลัยดนตรีชั้นนำของประเทศ มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล เปิดสอนวิชาเกี่ยวกับดนตรีโดยเฉพาะ ตั้งแต่ระดับเตรียมอุดมดนตรี (ม. 4 - ม. 6) จนถึงระดับปริญญาเอก โดยเป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนวิชาดนตรีในระดับปริญญาเอก มีอาจารย์ที่ชำนาญในเครื่องดนตรีแต่ละชนิดโดยเฉพาะ เป็นสถาบันเดียวในประเทศที่เปิดสอนทั้งด้านแนวเพลงไทยและแนวเพลงสากล
สารบัญ |
[แก้] ประวัติ
- พ.ศ. 2530 มหาวิทยาลัยมหิดล โดย ศ. นพ. ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดี ได้จัดตั้งโครงการพัฒนาวิชาการดนตรีขึ้น เปิดสอนวิชาดนตรีให้เป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วยวิชาดนตรีวิจักษ์ การขับร้องประสานเสียง วิชารวมวง มโหรี วงปี่พาทย์ และสร้างหลักสูตรมหาบัณฑิต แขนงดนตรีขึ้นในแขนงวัฒนธรรมศึกษา โดยมีนายสุกรี เจริญสุข เป็นหัวหน้าโครงการ
- พ.ศ. 2532 เปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวัฒนธรรมดนตรี โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาดนตรีแรกของไทย
- พ.ศ. 2536 จัดตั้ง "สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิชาการดนตรี” ขึ้นภายใต้บัณฑิตวิทยาลัย เปิดสอนแขนงวิชาดนตรีศึกษาและแขนงวิชาดนตรีวิทยา
- พ.ศ. 2536 ศ. นพ. ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี อธิการบดี ได้มีโครงการจัดตั้ง วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ขึ้น มุ่งสร้างนักดนตรีที่มีความสามารถในการเล่นดนตรี และได้พัฒนาขึ้นเป็นวิทยาลัย มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง และขยายการศึกษาให้กว้างขวางขึ้น ทั้งการศึกษาและกิจกรรมดนตรี เริ่มเปิดการเรียนการสอนเมื่อ พ.ศ. 2539 มี รศ. ดร. สุกรี เจริญสุข เป็นผู้อำนวยการวิทยาลัย
- พ.ศ. 2538 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นที่ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมี "โครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา" รองรับ มีเยาวชนและผู้สนใจเข้าศึกษาในโครงการจำนวนมาก โทร.0-2746-0202-5
- พ.ศ. 2549 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้นที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมี "โครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษา" รองรับ โทร.0-2129-4542
[แก้] ประวัติความเป็นมา
การขยายการศึกษาสาขาวิชาดนตรี ก่อนที่จะมาเป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์นั้น ได้มีบุคลากรที่มีชื่อเสียงด้านดนตรีหลายท่าน อาทิ ศ.นพ. สุเอ็ด คชเสนีย์ ศ.นพ. สุพจน์ อ่างแก้ว ศ.นพ. วราวุธ สุมาวงศ์ ศ.นพ. อดุลย์ วิริยเวชกุล และ ศ.นพ. พูนพิศ อมาตยกุล ช่วยกันสนับสนุนผลักดัน ให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยมหิดลได้เห็นความสำคัญของวิชาการดนตรี และมีการจัดสัมมนาวิชาการดนตรีขึ้น
เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2530 ศ.นพ. ณัฐ ภมรประวัติ อธิการบดีในขณะนั้น ได้จัดตั้งโครงการพัฒนาวิชาการดนตรีขึ้น และได้โอนย้ายนายสุกรี เจริญสุข ซึ่งจบปริญญาเอกสาขาดนตรี ข้าราชการสังกัดวิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา กระทรวงศึกษาธิการ มาเป็นหัวหน้าโครงการ โดยเปิดสอนวิชาดนตรีให้เป็นวิชาเลือกในระดับปริญญาตรีขึ้น ประกอบด้วยวิชาดนตรีวิจักษ์ การขับร้องประสานเสียง วิชารวมวง มโหรี วงปี่พาทย์ มีวิชาดนตรีเป็นวิชาเลือกในมหาวิทยาลัยมหิดลเป็นครั้งแรก จัดสัมมนาวิชาการดนตรี ในขณะเดียวกันก็ได้สร้างหลักสูตรมหาบัณฑิต แขนงดนตรี ขึ้นในแขนงวัฒนธรรมศึกษาด้วย
ในปีการศึกษา 2532 มหาวิทยาลัยได้เปิดรับนักศึกษาระดับบัณฑิตศึกษา แขนงวัฒนธรรมดนตรี โดยสถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท ซึ่งเป็นหลักสูตรบัณฑิตศึกษาดนตรีแรกของไทย ในปีการศึกษา 2536 มหาวิทยาลัยได้จัดตั้ง "สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาวิชาการดนตรี” ขึ้นภายใต้บัณฑิตวิทยาลัย โดยความช่วยเหลือจากคณบดีบัณฑิตวิทยาลัยในขณะนั้น คือ รศ.นพ. มันตรี จุลสมัย เพื่อเปิดสอนแขนงวิชาดนตรีศึกษาและแขนงวิชาดนตรีวิทยา
ต่อมามหาวิทยาลัยมหิดลได้มีโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ขึ้น โดยอธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ.นพ. ประดิษฐ์ เจริญไทยทวี วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2536 ชื่อ "วิทยาลัยดุริยางคศิลป์” เป็นชื่อที่ ศ.นพ. อดุลย์ วิริยเวชกุล เป็นผู้เสนอและเป็นที่ยอมรับ หมายถึงวิทยาลัยดนตรีที่มุ่งสร้างนักดนตรีที่มีความสามารถในการเล่นดนตรี เป็นวิทยาลัยของผู้ที่มีศิลปะทางดนตรี
วันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2538 วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ได้เปิดโครงการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไปขึ้น ณ ศูนย์การค้าเสรีเซ็นเตอร์ เพื่อบริการวิชาการดนตรีสำหรับประชาชน โดยมีโครงการวิจัยพรสวรรค์ศึกษารองรับ ซึ่งมีผู้ปกครองและผู้สนใจเข้าศึกษาในโครงการจำนวนมาก สิ่งที่สำคัญที่สุดคือได้พัฒนาการศึกษาดนตรีของเด็กตั้งแต่เล็ก และสร้างบรรยากาศการเรียนดนตรีให้เกิดขึ้นในสังคมไทย
ในปี พ.ศ. 2539 อธิการบดีในขณะนั้นคือ ศ.นพ. อรรถสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้พัฒนาโครงการจัดตั้งวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ เป็นวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ ให้มีฐานะเทียบเท่าคณะหนึ่ง ในกำกับของมหาวิทยาลัยมหิดล วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ได้ขยายการศึกษากว้างขวางขึ้น ทั้งการศึกษาและกิจกรรมดนตรี
วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นวิทยาลัยที่เปิดสอนและวิจัยดนตรีทุกสาขา ได้จัดการสอนดนตรีสำหรับบุคคลทั่วไป หลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี ระดับปริญญาตรี และระดับบัณฑิตศึกษา
[แก้] หลักสูตรที่เปิดสอน
- หลักสูตรต่ำกว่าปริญญาตรี
- โครงการหลักสูตรเตรียมอุดมดนตรี (ม.4-ม.6)
- หลักสูตรปริญญาตรี
- ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ดนตรี มี 7 แขนงวิชา ได้แก่
- วิชาดนตรีไทยและดนตรีตะวันออก
- ดนตรีแจ๊ส
- ดนตรีคลาสสิก
- อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีดนตรี
- ดนตรีสมัยนิยม
- ธุรกิจดนตรี
- การประพันธ์เพลง
- ศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชา ดนตรี มี 7 แขนงวิชา ได้แก่
- หลักสูตรปริญญาโท
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ดนตรี มี 5 แขนงวิชา ได้แก่
- ดนตรีวิทยา
- ดนตรีศึกษา
- ดนตรีปฏิบัติ
- การสอนเปียโน
- การอำนวยเพลง
- ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา ดนตรี มี 5 แขนงวิชา ได้แก่
- หลักสูตรปริญญาเอก (โครงการ)
[แก้] เกร็ด
- ภาพยนตร์ เรื่อง Seasons Change เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย เป็นภาพยนตร์เกี่ยวกับนักเรียนวิทยาลัยดุริยางคศิลป์
[แก้] ดูเพิ่ม
[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น
- วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- ประวัติวิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- รศ. ดร. สุกรี เจริญสุข ผมเป็นครูสอนดนตรี
- เว็บไซต์อย่างเป็นทางการ ภาพยนตร์ seasonschange "เพราะอากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย"
|
หน่วยงานใน มหาวิทยาลัยมหิดล |
หน่วยงาน | |
---|---|
คณะ |
กายภาพบำบัด · ทันตแพทยศาสตร์ · เทคนิคการแพทย์ · พยาบาลศาสตร์ · แพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี · แพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล · เภสัชศาสตร์ · วิทยาศาสตร์ · ศิลปศาสตร์ · วิศวกรรมศาสตร์ · เวชศาสตร์เขตร้อน · สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ · สัตวแพทยศาสตร์ · สาธารณสุขศาสตร์ · สิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์ · บัณฑิตวิทยาลัย |
วิทยาลัย |
วิทยาลัยการจัดการ · วิทยาลัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการกีฬา · วิทยาลัยนานาชาติ · วิทยาลัยศาสนศึกษา · วิทยาลัยราชสุดา · วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ |
สถาบันสมทบ |
วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า · วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์ · วิทยาลัยแพทยศาสตร์กรุงเทพมหานครและวชิรพยาบาล · วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก · วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ · วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ · วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี (วิทยาเขตกรุงเทพ จักรีรัช ชัยนาท พระพุทธบาท ราชบุรี สระบุรี สุพรรณบุรี ศรีธัญญา จังหวัดชลบุรี จังหวัดเพชรบุรี) |
ดูเพิ่ม |
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทย แบ่งตามประเภท |
---|